กระดานข่าว
สรุปงานสัมมนา “Enable ESG Bond Issuance: Investor Demand, Corporate Experiences, and New Funding Support”
15 มิถุนายน 2566
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) และกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ได้ร่วมกันจัดสัมมนา “Enable ESG Bond Issuance: Investor Demand, Corporate Experiences, and New Funding Support” ณ ห้องฉัตราบอลรูม โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้กลุ่มความยั่งยืน หรือ ESG bond (Green, Social, Sustainability bond and Sustainability-linked Bond) โดยมีผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความสนใจเข้าร่วมงาน ณ สถานที่จัดงานและผ่านออนไลน์รวมกว่า 300 ท่าน
ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ได้กล่าวถึงการเติบโตของการระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ ESG bond ในประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนมีมูลค่าคงค้างกว่า 5.83 แสนล้านบาท ประกอบด้วยผู้ออกภาครัฐ 6 องค์กร และภาคเอกชน 23 บริษัท
คุณอโณทัย สังข์ทอง ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารและทะเบียนคาร์บอน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวว่าความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) หมายถึงการรักษาสมดุลระหว่างการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมต่างๆ และการดูดกลับคาร์บอน ในขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) เป็นการรักษาสมดุลของปริมาณการปล่อยและการดูดกลับที่ครอบคลุมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด โดยมุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาวขององค์กร โดยปัจจุบันมีองค์กรที่เป็นผู้นำในการตั้งเป้าหมาย Net Zero ในประเทศไทยจำนวน 91 องค์กร
คุณทยากร จิตรกุลเดชา ผู้อำนวยการฝ่ายตราสารหนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การออกตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ตราสารหนี้ปัจจุบันโดยมีหลักการเพิ่มเติม ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับมาตรฐานที่ใช้ การสนับสนุนให้มีผู้ประเมินภายนอกเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และ การรายงานหลังการขาย โดยปัจจุบัน ก.ล.ต. ได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตและ filing สำหรับ ESG bond ถึงวันที่ 31 พ.ค. 68
คุณฐานันดร โชลิตกุล, Associate Chief Investment Officer (fixed income) จาก บลจ.กสิกรไทย นำเสนอหลักการพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน โดยยึดหลักการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ Principles for Responsible Investment (PRI Signatory) ซึ่งเป็นหลักการลงทุนระดับสากลที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ (United Nations) และการนำปัจจัยด้าน ESG มาใช้ประกอบการพิจารณาลงทุน
คุณกอบรัตน์ โชติเรืองประเสริฐ Sustainability Analyst DNV GL (Thailand) Co., Ltd. นำเสนอรูปแบบบริการ External review ได้แก่ Second Party Opinion, Certification / Verification services และ Reporting Services ซึ่งรวมถึง Impact report ขั้นตอน ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายของบริการดังกล่าว
ในช่วงการเสวนา “แบ่งปันประสบการณ์การออกและเสนอขายตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน” ผู้บริหารจากองค์กรภาครัฐและเอกชนจำนวน 4 องค์กร ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงของการออกตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืนแต่ละประเภท ได้แก่ คุณสุกิตตี ไชยรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีพีเอสซี ศูนย์บริหารเงิน จำกัด ผู้ออกหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) คุณณัทธร โพธิแพทย์ ผู้ตรวจการธนาคารออมสิน กลุ่มลงทุนและบริหารการเงินธนาคารออมสิน ผู้ออกหุ้นกู้เพื่อสังคม (Social Bond) คุณแพรวรัตน์ รัตนมงคลเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานการเงินและบัญชี ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้ออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) และคุณกมลมาศ นิ่มวัฒนา Group Treasurer บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ออกหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-linked Bond)
จากนั้น คุณชนันต์ ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน และคุณอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ได้กล่าวถึง “โครงการให้ทุนสนับสนุนและส่งเสริมการออกตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน (ESG Bond Issuance Grant Scheme)” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง ThaiBMA และ CMDF โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการตรวจสอบหรือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน (ESG Bond) ให้แก่องค์กรที่ออกตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ เป็น ESG Bond (ไม่จำกัดสกุลเงิน) ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป และระดมทุนขั้นต่ำ100 ล้านบาทต่อรุ่น โดย CMDF จะให้ทุนสนับสนุนตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อประเภทของ ESG Bond โดยมีวงเงินโครงการรวมทั้งสิ้น 100 ล้านบาท
ทั้งนี้ ESG bond ที่สามารถขอรับการสนับสนุนดังกล่าวจะต้องออกเสนอขายระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 โดยผู้สนใจสามารถติดต่อ ThaiBMA เพื่อขอข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม
ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ได้กล่าวถึงการเติบโตของการระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ ESG bond ในประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนมีมูลค่าคงค้างกว่า 5.83 แสนล้านบาท ประกอบด้วยผู้ออกภาครัฐ 6 องค์กร และภาคเอกชน 23 บริษัท
คุณอโณทัย สังข์ทอง ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารและทะเบียนคาร์บอน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวว่าความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) หมายถึงการรักษาสมดุลระหว่างการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมต่างๆ และการดูดกลับคาร์บอน ในขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) เป็นการรักษาสมดุลของปริมาณการปล่อยและการดูดกลับที่ครอบคลุมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด โดยมุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาวขององค์กร โดยปัจจุบันมีองค์กรที่เป็นผู้นำในการตั้งเป้าหมาย Net Zero ในประเทศไทยจำนวน 91 องค์กร
คุณทยากร จิตรกุลเดชา ผู้อำนวยการฝ่ายตราสารหนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การออกตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ตราสารหนี้ปัจจุบันโดยมีหลักการเพิ่มเติม ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับมาตรฐานที่ใช้ การสนับสนุนให้มีผู้ประเมินภายนอกเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และ การรายงานหลังการขาย โดยปัจจุบัน ก.ล.ต. ได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตและ filing สำหรับ ESG bond ถึงวันที่ 31 พ.ค. 68
คุณฐานันดร โชลิตกุล, Associate Chief Investment Officer (fixed income) จาก บลจ.กสิกรไทย นำเสนอหลักการพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน โดยยึดหลักการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ Principles for Responsible Investment (PRI Signatory) ซึ่งเป็นหลักการลงทุนระดับสากลที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ (United Nations) และการนำปัจจัยด้าน ESG มาใช้ประกอบการพิจารณาลงทุน
คุณกอบรัตน์ โชติเรืองประเสริฐ Sustainability Analyst DNV GL (Thailand) Co., Ltd. นำเสนอรูปแบบบริการ External review ได้แก่ Second Party Opinion, Certification / Verification services และ Reporting Services ซึ่งรวมถึง Impact report ขั้นตอน ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายของบริการดังกล่าว
ในช่วงการเสวนา “แบ่งปันประสบการณ์การออกและเสนอขายตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน” ผู้บริหารจากองค์กรภาครัฐและเอกชนจำนวน 4 องค์กร ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงของการออกตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืนแต่ละประเภท ได้แก่ คุณสุกิตตี ไชยรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีพีเอสซี ศูนย์บริหารเงิน จำกัด ผู้ออกหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) คุณณัทธร โพธิแพทย์ ผู้ตรวจการธนาคารออมสิน กลุ่มลงทุนและบริหารการเงินธนาคารออมสิน ผู้ออกหุ้นกู้เพื่อสังคม (Social Bond) คุณแพรวรัตน์ รัตนมงคลเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานการเงินและบัญชี ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้ออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) และคุณกมลมาศ นิ่มวัฒนา Group Treasurer บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ออกหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-linked Bond)
จากนั้น คุณชนันต์ ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน และคุณอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ได้กล่าวถึง “โครงการให้ทุนสนับสนุนและส่งเสริมการออกตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน (ESG Bond Issuance Grant Scheme)” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง ThaiBMA และ CMDF โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการตรวจสอบหรือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน (ESG Bond) ให้แก่องค์กรที่ออกตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ เป็น ESG Bond (ไม่จำกัดสกุลเงิน) ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป และระดมทุนขั้นต่ำ100 ล้านบาทต่อรุ่น โดย CMDF จะให้ทุนสนับสนุนตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อประเภทของ ESG Bond โดยมีวงเงินโครงการรวมทั้งสิ้น 100 ล้านบาท
ทั้งนี้ ESG bond ที่สามารถขอรับการสนับสนุนดังกล่าวจะต้องออกเสนอขายระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 โดยผู้สนใจสามารถติดต่อ ThaiBMA เพื่อขอข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม