ตามที่ บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ได้ดำเนินการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) หลังจากที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจพบพฤติการณ์อันควรสงสัยในประเด็นการดำเนินงานและได้ปฏิบัติหน้าที่ตามนัย มาตรา 89/25 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (“การตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) ระยะแรก”) และได้รับรายงานสรุปผลการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี จึงขอสรุปผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) ระยะแรก ดังนี้
คณะกรรมการตรวจสอบได้มอบหมายให้บริษัทดำเนินการว่าจ้างบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ เอบีเอเอส จำกัด เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) ในเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งได้ทำการตรวจสอบครอบคลุม รายการผิดปกติที่เกี่ยวข้องบัญชีลูกหนี้การค้าที่ผู้สอบบัญชีได้รับหนังสือยืนยันยอด (A/R confirmation) ที่แตกต่างกัน เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าที่จำนวนเงินสูงผิดปกติ เอกสารแจ้งหนี้ (invoices) ที่มีมูลค่าและจำนวนมากเป็นพิเศษในช่วงสิ้นงวด สินค้าคงคลังสูญหาย และรายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้ที่ไม่ถูกต้อง
การดำเนินงานของผู้ตรวจสอบพิเศษระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2566 และผู้ตรวจสอบพิเศษได้นำส่งร่าง รายงานผลการตรวจสอบ (draft final report) ให้แก่บริษัทในวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 และฝ่ายจัดการได้นำเสนอร่าง รายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อคณะกรรมการตรวจสอบชุดใหม่ในวันที่ 23 พฤษภาคม 25661 โดยสามารถสรุปผล การตรวจสอบดังต่อไปนี้
(ก) มียอดขายที่ผิดปกติ
ผู้ตรวจสอบพิเศษตรวจพบรายการขายผิดปกติ จำนวน 202 รายการ คิดเป็นมูลค่าขาย 8,063 ล้านบาทและ 3,593 ล้านบาท ในปี 2565 และ 2564 ตามลำดับ โดยรายการขายผิดปกติตรวจพบจากการสอบยืนยันยอดที่ถูกต้องกับ ลูกค้า การตรวจสอบการรับช าระเงิน ลักษณะการจ่ายเงินที่ไม่ปกติ การปลอมแปลงชื่อผู้จ่ายเงิน และการจ่ายเงินจากบัญชี ของอดีตเจ้าหน้าที่ของบริษัทแทนลูกค้า
(ข) มียอดสินค้าคงเหลือที่ผิดปกติ
ผู้ตรวจสอบพิเศษพบว่า ณ วันสิ้นงวด มีรายการสินค้า (stock items) ประกอบด้วย รายการสินค้าระหว่าง ทำ(WIP) วัตถุดิบ (RM) และสินค้าสำเร็จ (FG) มียอดติดลบในระบบสารสนเทศ (ERP) ของบริษัทจ านวน 3,140 รายการ
(ค) รายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้ถูกจัดทำอย่างไม่ถูกต้อง
ผู้ตรวจสอบพิเศษได้จัดทำรายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้จากข้อมูลในระบบ SAP เปรียบเทียบกับรายงาน วิเคราะห์อายุลูกหนี้ที่ทางฝ่ายจัดการ (เดิม) ส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชี พบว่า มีการคำนวณระยะเวลาคงค้าง (outstanding days) ที่แตกต่างกัน ส่งผลทำให้อายุของลูกหนี้ในทุกระยะเวลา (aging range) ในรายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้ฉบับที่ฝ่าย จัดการ (เดิม) ส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชี ต่ำกว่าหรือระยะคงค้างน้อยกว่าความเป็นจริง และเมื่อสอบทานย้อนกลับพบว่า ความผิดปกติดังกล่าวได้เกิดขึ้นในทุกไตรมาสของปี 2565 ที่ผ่านมา
(ง) เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า (advance payments) ผิดปกติ
ผู้ตรวจสอบบัญชีเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 พบว่า บริษัทได้ทำการจ่ายเงินค่าซื้อ สินค้าล่วงหน้าโดยการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย ผู้ขายวัตถุดิบในต่างประเทศ (key RM vendor/supplier) ใน สกุลเงินบาท เป็นเงินถึง 7,976 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดที่ผิดปกติเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ในอดีตย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทไม่เคยจ่ายเงินค่าสินค้าล่วงหน้าเป็นจำนวนมากเช่นนี้มาก่อน
ทั้งนี้ หลังจากที่ประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบร่างรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว ฝ่ายจัดการ (ใหม่) จึงได้แจ้งต่อผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อนำผลจากการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) ระยะแรกไปแก้ไข ปรับปรุงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องประกอบการจัดทำงบการเงินประจำปี 2565 โดยฝ่ายจัดการ (ใหม่) ได้ให้ความร่วมมือกับ ผู้ตรวจสอบบัญชีในการปรับปรุงรายการผิดปกติดังกล่าวทั้งหมด และแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อให้งบการเงินประจ าปีของบริษัท ทั้งปี 2564 และ 2565 แสดงข้อมูลที่ถูกต้องและสะท้อนฐานะการเงินและผลประกอบการที่แท้จริง
คณะกรรมการตรวจสอบได้มอบหมายให้บริษัทดำเนินการว่าจ้างบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ เอบีเอเอส จำกัด เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) ในเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งได้ทำการตรวจสอบครอบคลุม รายการผิดปกติที่เกี่ยวข้องบัญชีลูกหนี้การค้าที่ผู้สอบบัญชีได้รับหนังสือยืนยันยอด (A/R confirmation) ที่แตกต่างกัน เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าที่จำนวนเงินสูงผิดปกติ เอกสารแจ้งหนี้ (invoices) ที่มีมูลค่าและจำนวนมากเป็นพิเศษในช่วงสิ้นงวด สินค้าคงคลังสูญหาย และรายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้ที่ไม่ถูกต้อง
การดำเนินงานของผู้ตรวจสอบพิเศษระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2566 และผู้ตรวจสอบพิเศษได้นำส่งร่าง รายงานผลการตรวจสอบ (draft final report) ให้แก่บริษัทในวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 และฝ่ายจัดการได้นำเสนอร่าง รายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อคณะกรรมการตรวจสอบชุดใหม่ในวันที่ 23 พฤษภาคม 25661 โดยสามารถสรุปผล การตรวจสอบดังต่อไปนี้
(ก) มียอดขายที่ผิดปกติ
ผู้ตรวจสอบพิเศษตรวจพบรายการขายผิดปกติ จำนวน 202 รายการ คิดเป็นมูลค่าขาย 8,063 ล้านบาทและ 3,593 ล้านบาท ในปี 2565 และ 2564 ตามลำดับ โดยรายการขายผิดปกติตรวจพบจากการสอบยืนยันยอดที่ถูกต้องกับ ลูกค้า การตรวจสอบการรับช าระเงิน ลักษณะการจ่ายเงินที่ไม่ปกติ การปลอมแปลงชื่อผู้จ่ายเงิน และการจ่ายเงินจากบัญชี ของอดีตเจ้าหน้าที่ของบริษัทแทนลูกค้า
(ข) มียอดสินค้าคงเหลือที่ผิดปกติ
ผู้ตรวจสอบพิเศษพบว่า ณ วันสิ้นงวด มีรายการสินค้า (stock items) ประกอบด้วย รายการสินค้าระหว่าง ทำ(WIP) วัตถุดิบ (RM) และสินค้าสำเร็จ (FG) มียอดติดลบในระบบสารสนเทศ (ERP) ของบริษัทจ านวน 3,140 รายการ
(ค) รายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้ถูกจัดทำอย่างไม่ถูกต้อง
ผู้ตรวจสอบพิเศษได้จัดทำรายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้จากข้อมูลในระบบ SAP เปรียบเทียบกับรายงาน วิเคราะห์อายุลูกหนี้ที่ทางฝ่ายจัดการ (เดิม) ส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชี พบว่า มีการคำนวณระยะเวลาคงค้าง (outstanding days) ที่แตกต่างกัน ส่งผลทำให้อายุของลูกหนี้ในทุกระยะเวลา (aging range) ในรายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้ฉบับที่ฝ่าย จัดการ (เดิม) ส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชี ต่ำกว่าหรือระยะคงค้างน้อยกว่าความเป็นจริง และเมื่อสอบทานย้อนกลับพบว่า ความผิดปกติดังกล่าวได้เกิดขึ้นในทุกไตรมาสของปี 2565 ที่ผ่านมา
(ง) เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า (advance payments) ผิดปกติ
ผู้ตรวจสอบบัญชีเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 พบว่า บริษัทได้ทำการจ่ายเงินค่าซื้อ สินค้าล่วงหน้าโดยการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย ผู้ขายวัตถุดิบในต่างประเทศ (key RM vendor/supplier) ใน สกุลเงินบาท เป็นเงินถึง 7,976 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดที่ผิดปกติเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ในอดีตย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทไม่เคยจ่ายเงินค่าสินค้าล่วงหน้าเป็นจำนวนมากเช่นนี้มาก่อน
ทั้งนี้ หลังจากที่ประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบร่างรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว ฝ่ายจัดการ (ใหม่) จึงได้แจ้งต่อผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อนำผลจากการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) ระยะแรกไปแก้ไข ปรับปรุงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องประกอบการจัดทำงบการเงินประจำปี 2565 โดยฝ่ายจัดการ (ใหม่) ได้ให้ความร่วมมือกับ ผู้ตรวจสอบบัญชีในการปรับปรุงรายการผิดปกติดังกล่าวทั้งหมด และแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อให้งบการเงินประจ าปีของบริษัท ทั้งปี 2564 และ 2565 แสดงข้อมูลที่ถูกต้องและสะท้อนฐานะการเงินและผลประกอบการที่แท้จริง