จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : ตลาดคาร์บอนเครดิตพุ่งแรง หนุนผลงาน SUPER ทะลุหมื่นลบ.


19 มิถุนายน 2566
แรงกดดันจากการลดภาวะโลกร้อน  ส่งผลภาคธุรกิจโดยเฉพาะที่ทำธุรกิจกับต่างประเทศ เช่น ยุโรป ต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับกฎหมายการเก็บภาษีคาร์บอนที่ใกล้จะเริ่มมีผลบังคับใช้  กระตุ้นตลาดคาร์บอนเครดิตให้เติบโตสูง หนุนธุรกิจบมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น(SUPER) ฐานะผู้ผลิตพลังงานทดแทน 

รายงานพิเศษ ตลาดคาร์บอนเครดิตพุ่งแรง หนุน.jpg
finbiz by ttb วิเคราะห์ว่า ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึง SME ต้องสนใจ จำเป็นต้องเข้าถึง และใช้แนวคิด ESGในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่
1) ความกังวลด้านวิกฤตการเปลี่ยนแปลง และClimate Crisis & Environmental Concernsการคาดหวังว่าธุรกิจจะมีส่วนช่วยลดอุณหภูมิโลกให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียสให้ได้ โดยเป็นการคาดหวังของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

2) กฎระเบียบต่างๆ (Regulatory Driven)เช่น พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาษีคาร์บอน คาร์บอนเครดิต ถ้าธุรกิจมีการปล่อยคาร์บอนสูง ในอนาคตสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การจ่ายชดเชยในสิ่งแวดล้อมที่เสียหายไปจากการทำธุรกิจ ในรูปของภาษีคาร์บอน เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น

3) ความห่วงใยด้านสังคม (Social Concerns)ปัจจุบันมีการพูดถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำ สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อทุกคนโดยเท่าเทียมมากขึ้น โดยเฉพาะคนGen Zแรงงานกลุ่มใหญ่ที่เริ่มเข้ามาสู่องค์กรให้ความสำคัญในด้านนี้ โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานระดับTalentยิ่งให้ความสนใจเป็นพิเศษ

4) ชื่อเสียงของบริษัท (Companys Reputation)องค์กรที่มีแนวทางการบริหารจัดการความยั่งยืนที่ชัดเจน ย่อมสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจให้เกิดกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หุ้นส่วน และพันธมิตรต่าง ๆ

ซึ่งจะเห็นผลกระทบในทางปฎิบัติมากขึ้น  โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ระบุ มาตรการปรับภาษีคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) เป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้นโยบายแผนปฏิรูปสีเขียวของสหภาพยุโรป  เพื่อป้องกันการรั่วไหลของคาร์บอน (Carbon Leakage) และลดความเหลื่อมล้ำในการแข่งขันจากผู้ผลิตต่างชาติ ที่มีมาตรการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นน้อยกว่าสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 ต.ค. 66 

สำหรับสินค้าไทยที่มีความเสี่ยงและได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้มี 3 อุตสาหกรรม ได้แก่ พลาสติก เหล็ก และอะลูมิเนียม  นอกจากสหภาพยุโรปแล้ว ยังมีประเทศสหรัฐอเมริกา ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายการเก็บภาษีคาร์บอน (Clean Competition Act: CCA) เพื่อกำหนดราคาคาร์บอนจากสินค้าที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเข้มข้นที่ผลิตในประเทศและจากการนำเข้า CBAM ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 69

ดังนั้นผู้ประกอบการไทย ที่จะส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังตลาดสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาหากจะให้ยังคงสามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมได้ จะต้องรายงานปริมาณคาร์บอนในกระบวนการผลิต ที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศตามมาตรการ CBAM
         
รวมถึงเตรียมความพร้อมด้านต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการวางแผนปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง การจ่ายค่าปรับภาษีคาร์บอนหรือการซื้อใบรับรอง CBAM (CBAM Certificate) ตลอดจนพัฒนาระบบการผลิตเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยที่สุด พัฒนาตลอดห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมสินค้าวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป สินค้าสำเร็จรูป และการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บไว้ ไม่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการและได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่ให้การรับรอง สำหรับคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยจะได้จากการดำเนินการผ่านโครงการ Thailand Voluntary Emissions Reduction (T-VER) และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยที่ คาร์บอนเครดิต มีหน่วยเป็น “ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq)”

ซึ่งหนึ่งในแนวทางเพื่อลดผลกระทบจากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ผู้ประกอบการจะต้องซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บไว้ ไม่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการและได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่ให้การรับรอง สำหรับคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยจะได้จากการดำเนินการผ่านโครงการ Thailand Voluntary Emissions Reduction (T-VER) โดยธุรกิจที่ได้รับการยอมรับในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้แก่ ธุรกิจพลังงานทดแทน  ซึ่งนอกจากบริษัทจะผลผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังสามารถนำคาร์บอนเครดิตไปขายในตลาดได้อีกด้วย 

ส่งผลดีต่อ บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น(SUPER)  ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน  ซึ่งนายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มั่นใจรายได้ปี 66 จะเติบโต 10% แตะ 10,000-11,000 ล้านบาท เนื่องจากครึ่งปีหลังจะมีโครงการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) ได้แก่ โครงการพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์กับมหาวิทยาลัยมหิดล กำลังการผลิต 14 เมกะวัตต์, โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ประเทศเวียดนาม "Soc Trang" กำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ 
          
บริษัทยังคงให้ความสำคัญในการขยายงานโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต พร้อมมองหาโอกาสการลงทุนควบคู่กัน ซึ่ง SUPER มีทั้งโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมทั้งในและต่างประเทศ โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคาร (โซลาร์รูฟท็อป) และโครงการการขยายงานสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภาคเอกชน( Private PPA) และโครงการ SPP HYBRID สนับสนุนธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต