จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : ส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ ปี66โต 2.5-4.5% ผลักดันรายได้ TFG สร้างสถิติสูงสุด
20 มิถุนายน 2566
การส่งออกผลิตภัณฑ์จากไก่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยดาดส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ปีนี้โต 2.5-4.5% ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ ก็รวมมือกับหน่วยงานภาครัฐ สนับสนุนการขยายตลาดต่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางบมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) ที่ผู้บริหารมั่นใจปีนี้รายได้จะโตทำสถิติสูงสุด
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และกรมปศุสัตว์ จัดทำแดชบอร์ดสินค้าเกษตร ภายใต้นโยบาย "เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด" โดยล่าสุด ได้เผยแพร่แดชบอร์ดสินค้า "ไก่เนื้อ" ผ่านเว็บไซต์ www.คิดค้า.com เพื่อใช้ติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรสำคัญ ทั้งด้านการผลิต ราคา และการส่งออก
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อมากกว่า 3 หมื่นราย และในแต่ละปีมีผลผลิตไก่เนื้อประมาณ 3 ล้านตัน ซึ่งอุตสาหกรรมไก่เนื้อมีความสำคัญต่อประเทศ ทั้งด้านความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยไก่เป็นสินค้าเกษตรและอาหารส่งออกที่สำคัญลำดับต้น ๆ ของไทย รองจากสินค้าเพียงไม่กี่รายการ เช่น ข้าว และทุเรียน
ไตรมาสแรกของปี 2566 พบว่า ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยอยู่ที่ 44.9 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 11.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และราคาส่งออกก็เพิ่มขึ้น โดยไก่ทั้งตัว สด แช่เย็น แช่แข็ง มีราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ 70.78 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 55.6% ขณะที่เนื้อไก่ปรุงแต่ง มีราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ 151.28 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 7.6% เป็นต้น
สำหรับการส่งออกของไทย ในปี 2565 ไทยส่งออกไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 ล้านตัน เป็นมูลค่า 4,074.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 เทียบจากปีที่ผ่านมา สินค้าส่งออกสำคัญของไทย 3 อันดับแรก คือ (1) เนื้อไก่ปรุงแต่ง มูลค่า 2,930.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (2) ชิ้นเนื้อและส่วนอื่น ๆ สด แช่เย็น แช่แข็ง มูลค่า 1,135.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และ (3) ไก่สดทั้งตัว แช่เย็นแช่แข็ง มูลค่า 6.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกเนื้อไก่ปรุงแต่ง มีสัดส่วนมากกว่า 70% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของไทย และไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเนื้อไก่ปรุงแต่งอันดับ 1 ของโลก มีส่วนแบ่งในตลาดโลก 27.1% (รองจากไทย คือ จีน เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และโปแลนด์ ตามลำดับ) ตลาดส่งออกเนื้อไก่ปรุงแต่งที่สำคัญของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ สำหรับในไตรมาสแรกของปี 2566 ไทยส่งออกไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ เป็นมูลค่ารวม 1,009.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 8.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่า สถานการณ์ไข้หวัดนกในหลายประเทศรอบนี้เกิดขึ้นท่ามกลางสภาพอากาศที่แปรปรวน ฉุดผลผลิตไก่ในบางประเทศที่พบการระบาดอย่างหนัก อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่นให้มีความเสี่ยงจะลดลงมากกว่าปีก่อนๆ อย่างไรก็ตาม ด้วยการฟื้นกำลังผลิตไก่ที่น่าจะใช้เวลาไม่นาน ประกอบกับประเทศผู้ส่งออกหลักอย่างบราซิลไม่พบไข้หวัดนกเช่นเดียวกับไทย ดังนั้น อานิสงส์ต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ของไทยคงมี แต่น่าจะไม่มากท่ามกลางเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอตัว
โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ของไทยปี 2566 อาจอยู่ที่ 4.18-4.26 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 2.5%-4.5%
ด้านบมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) “วินัย เตียวสมบูรณ์กิจ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ระบุแนวโน้มผลการดำเนินงานในปีนี้ คาดว่ายังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯวางเป้าหมายรายได้โตสร้างสถิติสูงสุดใหม่ จากการขยายตลาดลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มยอดขาย นอกเหนือจากโมเดลธุรกิจในส่วนของธุรกิจค้าปลีกที่เติบโตอย่างโดดเด่น และมีมาร์จิ้นสูง
สำหรับแผนการลงทุนในปี 66 บริษัทจัดเตรียมงบไว้ราว 3,000-3,500 ล้านบาท เพื่อใช้ในการแผนขยายฟาร์มสุกรทั้งในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม และขยายร้านค้าปลีก
ในส่วนของธุรกิจค้าปลีก "ร้านไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์เก็ต" สำหรับจำหน่ายไก่และหมูสด ในปีนี้มีแผนเปิดสาขาใหม่เพิ่มเป็น 400 สาขา จากสิ้นปี 2565 อยู่ที่ 220 สาขา เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค สนับสนุนผลการดำเนินงานของบริษัทฯเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค และทำให้รู้จักผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม TFG มากขึ้น ประกอบกับมาร์จิ้นของธุรกิจร้านค้าปลีกอยู่ในระดับสูง
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และกรมปศุสัตว์ จัดทำแดชบอร์ดสินค้าเกษตร ภายใต้นโยบาย "เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด" โดยล่าสุด ได้เผยแพร่แดชบอร์ดสินค้า "ไก่เนื้อ" ผ่านเว็บไซต์ www.คิดค้า.com เพื่อใช้ติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรสำคัญ ทั้งด้านการผลิต ราคา และการส่งออก
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อมากกว่า 3 หมื่นราย และในแต่ละปีมีผลผลิตไก่เนื้อประมาณ 3 ล้านตัน ซึ่งอุตสาหกรรมไก่เนื้อมีความสำคัญต่อประเทศ ทั้งด้านความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยไก่เป็นสินค้าเกษตรและอาหารส่งออกที่สำคัญลำดับต้น ๆ ของไทย รองจากสินค้าเพียงไม่กี่รายการ เช่น ข้าว และทุเรียน
ไตรมาสแรกของปี 2566 พบว่า ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยอยู่ที่ 44.9 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 11.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และราคาส่งออกก็เพิ่มขึ้น โดยไก่ทั้งตัว สด แช่เย็น แช่แข็ง มีราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ 70.78 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 55.6% ขณะที่เนื้อไก่ปรุงแต่ง มีราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ 151.28 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 7.6% เป็นต้น
สำหรับการส่งออกของไทย ในปี 2565 ไทยส่งออกไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 ล้านตัน เป็นมูลค่า 4,074.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 เทียบจากปีที่ผ่านมา สินค้าส่งออกสำคัญของไทย 3 อันดับแรก คือ (1) เนื้อไก่ปรุงแต่ง มูลค่า 2,930.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (2) ชิ้นเนื้อและส่วนอื่น ๆ สด แช่เย็น แช่แข็ง มูลค่า 1,135.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และ (3) ไก่สดทั้งตัว แช่เย็นแช่แข็ง มูลค่า 6.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกเนื้อไก่ปรุงแต่ง มีสัดส่วนมากกว่า 70% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของไทย และไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเนื้อไก่ปรุงแต่งอันดับ 1 ของโลก มีส่วนแบ่งในตลาดโลก 27.1% (รองจากไทย คือ จีน เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และโปแลนด์ ตามลำดับ) ตลาดส่งออกเนื้อไก่ปรุงแต่งที่สำคัญของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ สำหรับในไตรมาสแรกของปี 2566 ไทยส่งออกไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ เป็นมูลค่ารวม 1,009.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 8.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่า สถานการณ์ไข้หวัดนกในหลายประเทศรอบนี้เกิดขึ้นท่ามกลางสภาพอากาศที่แปรปรวน ฉุดผลผลิตไก่ในบางประเทศที่พบการระบาดอย่างหนัก อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่นให้มีความเสี่ยงจะลดลงมากกว่าปีก่อนๆ อย่างไรก็ตาม ด้วยการฟื้นกำลังผลิตไก่ที่น่าจะใช้เวลาไม่นาน ประกอบกับประเทศผู้ส่งออกหลักอย่างบราซิลไม่พบไข้หวัดนกเช่นเดียวกับไทย ดังนั้น อานิสงส์ต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ของไทยคงมี แต่น่าจะไม่มากท่ามกลางเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอตัว
โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ของไทยปี 2566 อาจอยู่ที่ 4.18-4.26 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 2.5%-4.5%
ด้านบมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) “วินัย เตียวสมบูรณ์กิจ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ระบุแนวโน้มผลการดำเนินงานในปีนี้ คาดว่ายังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯวางเป้าหมายรายได้โตสร้างสถิติสูงสุดใหม่ จากการขยายตลาดลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มยอดขาย นอกเหนือจากโมเดลธุรกิจในส่วนของธุรกิจค้าปลีกที่เติบโตอย่างโดดเด่น และมีมาร์จิ้นสูง
สำหรับแผนการลงทุนในปี 66 บริษัทจัดเตรียมงบไว้ราว 3,000-3,500 ล้านบาท เพื่อใช้ในการแผนขยายฟาร์มสุกรทั้งในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม และขยายร้านค้าปลีก
ในส่วนของธุรกิจค้าปลีก "ร้านไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์เก็ต" สำหรับจำหน่ายไก่และหมูสด ในปีนี้มีแผนเปิดสาขาใหม่เพิ่มเป็น 400 สาขา จากสิ้นปี 2565 อยู่ที่ 220 สาขา เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค สนับสนุนผลการดำเนินงานของบริษัทฯเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค และทำให้รู้จักผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม TFG มากขึ้น ประกอบกับมาร์จิ้นของธุรกิจร้านค้าปลีกอยู่ในระดับสูง