Wealth Sharing
CHASE เดินหน้าขายไอพีโอ 562 ล้านหุ้น ชูศักยภาพผู้นำธุรกิจบริหารหนี้
01 กุมภาพันธ์ 2566
คุณพงศ์ศักดิ์ พฤกษ์ไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “CHASE เป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งและมีประสบการณ์ในธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาอย่างยาวนาน ผลจากจัดเก็บหนี้เสียที่ซื้อมาบริหารในอดีตอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเมื่อเทียบกับคู่แข่ง นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ให้ความเชื่อถือในการติดตามทวงถามหนี้ ซึ่งสามารถบริหารจัดการได้อย่างมืออาชีพ ทั้งยังช่วยเหลือลูกหนี้อย่างเต็มที่ และมีความสามารถในการจัดเก็บหนี้ที่ต้องมีการบังคับใช้กฎหมาย ดูได้จากอัตราค่าคอมมิชชั่นที่สูงกว่า 20% เนื่องจาก CHASE มีความสามารถในการตามเก็บหนี้สินที่ตามเก็บยาก ทำให้ธนาคารส่งหนี้ในลักษณะดังกล่าวให้ CHASE มากกว่าบริษัทอื่น ๆ และส่งผลให้ CHASE มีโอกาสในการเติบโตสูง ดังนั้น เงินที่ได้จากการระดมทุน IPO บริษัทฯ จะใช้ในการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงิน และเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของบริษัทฯ โดยภาพรวมเศรษฐกิจประเทศไทยในปี 2566 น่าจะดีขึ้นจากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ซึ่งจะทำให้ลูกหนี้สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ดีขึ้น ส่งผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจยิ่งขึ้นไปอีก”
“ขณะนี้ ก.ล.ต. ได้แจ้งอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้น CHASE ให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) จำนวน 562 ล้านหุ้นแล้ว ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้จะช่วยผลักดันให้กลุ่มบริษัทฯ สามารถเดินหน้าขยายธุรกิจอย่างเต็มศักยภาพ พร้อมเสริมความแข็งแกร่ง และต่อยอดการเติบโตของบริษัทฯ อย่างไม่หยุดยั้ง ตอกย้ำความเป็นผู้นำในการให้บริการจัดการหนี้สิน ที่พร้อมเป็นผู้สนับสนุนพันธมิตรในการติดตามทวงถามหนี้ ในขณะเดียวกันก็เป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้คู่วินัยในการบริหารหนี้ให้กับลูกหนี้”
คุณประชา ชัยสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CHASE กล่าวว่า “จากข้อมูลสถิติ ปริมาณสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ในระบบมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามยอดสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ผ่านมา และการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยในปี 2564 มีอัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์มากถึง 531,000 ล้านบาท และคาดว่าธนาคารพาณิชย์จะต้องทยอยขายหนี้เสียออกมาหลังหมดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากผลกระทบของโรค COVID-19 ในช่วงสิ้นปี 2565 ทำให้เป็นโอกาสในการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว โดย GDP ในปี 2565-2566 ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นเป็น 3.3% และ 3.7% ตามลำดับ จากการเปิดประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การจ่ายชำระของลูกหนี้ดีขึ้น ในฐานะที่ CHASE เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพครบวงจร มองว่าปีนี้น่าจะเป็นปีที่ดีของธุรกิจ เนื่องจากน่าจะมีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพออกมาในตลาดมาก ขณะที่การจ่ายชำระของลูกหนี้ดีขึ้น”
“ปัจจุบัน CHASE มีธุรกิจหลัก ได้แก่ บริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงิน พร้อมให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน และมีบริการดำเนินคดีแบบครบวงจร โดยมีทีมบริหารที่แข็งแกร่ง มากประสบการณ์และทีมงานติดตามทวงถามพร้อมทั้งทีมกฎหมายที่ทำหน้าที่ติดตามและบริหารหนี้อย่างครบวงจรรวมกันมากกว่า 400 คน จึงทำให้คุมการบริหารจัดการและต้นทุนได้อย่างเบ็ดเสร็จ ภายใต้กลยุทธ์หลักทางธุรกิจที่ใช้สร้างการเติบโตให้แก่บริษัทฯ อย่างยั่งยืน ได้แก่
1. ขยายพอร์ตเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL)
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามหนี้ผ่านระบบอัตโนมัติ
3. พัฒนาและขยายทีมติดตามทวงหนี้และเร่งรัดหนี้สิน
4. สร้างความสัมพันธ์กับสถาบันการเงินต่าง ๆ
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการและเพิ่มช่องทางการสื่อสาร
นอกจากนี้ CHASE เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจการจัดเก็บและการบริหารหนี้เสีย มีผลการติดตามและบริหารหนี้ในอดีตที่ดี ส่งผลให้ได้รับความไว้วางใจและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันการเงินชั้นนำอีกด้วย” คุณประชา กล่าวเสริม
ด้าน คุณวรลักษณ์ ชัยสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน กล่าวว่า “สำหรับภาพรวมผลการดำเนินงานที่ผ่านมา CHASE เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างปี 2562 – 2564 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) กว่า 10.8% รายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจบริหารสินทรัพย์จากการรับซื้อหรือโอน NPL ประมาณ 60% และธุรกิจติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สินอีกประมาณ 34% ในขณะเดียวกัน กลุ่มบริษัทฯ มีอัตรากำไรสุทธิที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมีการเติบโตของรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการเติบโตของต้นทุนการให้บริการและค่าวิชาชีพ อย่างไรก็ดี ในช่วง ไตรมาส 3/2565 อัตรากำไรสุทธิปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า จากการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ที่เพิ่มขึ้น โดยฐานะทางการเงินของกลุ่มบริษัทฯ ณ ไตรมาส 3/2565 กลุ่มบริษัทฯ มีสินทรัพย์ 2,875.5 ล้านบาท และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) เท่ากับ 0.4 เท่า ซึ่งรองรับโอกาสในการเข้าซื้อ NPL ของกลุ่มบริษัทฯ ในอนาคต”
“ขณะนี้ ก.ล.ต. ได้แจ้งอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้น CHASE ให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) จำนวน 562 ล้านหุ้นแล้ว ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้จะช่วยผลักดันให้กลุ่มบริษัทฯ สามารถเดินหน้าขยายธุรกิจอย่างเต็มศักยภาพ พร้อมเสริมความแข็งแกร่ง และต่อยอดการเติบโตของบริษัทฯ อย่างไม่หยุดยั้ง ตอกย้ำความเป็นผู้นำในการให้บริการจัดการหนี้สิน ที่พร้อมเป็นผู้สนับสนุนพันธมิตรในการติดตามทวงถามหนี้ ในขณะเดียวกันก็เป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้คู่วินัยในการบริหารหนี้ให้กับลูกหนี้”
คุณประชา ชัยสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CHASE กล่าวว่า “จากข้อมูลสถิติ ปริมาณสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ในระบบมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามยอดสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ผ่านมา และการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยในปี 2564 มีอัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์มากถึง 531,000 ล้านบาท และคาดว่าธนาคารพาณิชย์จะต้องทยอยขายหนี้เสียออกมาหลังหมดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากผลกระทบของโรค COVID-19 ในช่วงสิ้นปี 2565 ทำให้เป็นโอกาสในการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว โดย GDP ในปี 2565-2566 ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นเป็น 3.3% และ 3.7% ตามลำดับ จากการเปิดประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การจ่ายชำระของลูกหนี้ดีขึ้น ในฐานะที่ CHASE เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพครบวงจร มองว่าปีนี้น่าจะเป็นปีที่ดีของธุรกิจ เนื่องจากน่าจะมีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพออกมาในตลาดมาก ขณะที่การจ่ายชำระของลูกหนี้ดีขึ้น”
“ปัจจุบัน CHASE มีธุรกิจหลัก ได้แก่ บริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงิน พร้อมให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน และมีบริการดำเนินคดีแบบครบวงจร โดยมีทีมบริหารที่แข็งแกร่ง มากประสบการณ์และทีมงานติดตามทวงถามพร้อมทั้งทีมกฎหมายที่ทำหน้าที่ติดตามและบริหารหนี้อย่างครบวงจรรวมกันมากกว่า 400 คน จึงทำให้คุมการบริหารจัดการและต้นทุนได้อย่างเบ็ดเสร็จ ภายใต้กลยุทธ์หลักทางธุรกิจที่ใช้สร้างการเติบโตให้แก่บริษัทฯ อย่างยั่งยืน ได้แก่
1. ขยายพอร์ตเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL)
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามหนี้ผ่านระบบอัตโนมัติ
3. พัฒนาและขยายทีมติดตามทวงหนี้และเร่งรัดหนี้สิน
4. สร้างความสัมพันธ์กับสถาบันการเงินต่าง ๆ
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการและเพิ่มช่องทางการสื่อสาร
นอกจากนี้ CHASE เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจการจัดเก็บและการบริหารหนี้เสีย มีผลการติดตามและบริหารหนี้ในอดีตที่ดี ส่งผลให้ได้รับความไว้วางใจและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันการเงินชั้นนำอีกด้วย” คุณประชา กล่าวเสริม
ด้าน คุณวรลักษณ์ ชัยสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน กล่าวว่า “สำหรับภาพรวมผลการดำเนินงานที่ผ่านมา CHASE เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างปี 2562 – 2564 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) กว่า 10.8% รายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจบริหารสินทรัพย์จากการรับซื้อหรือโอน NPL ประมาณ 60% และธุรกิจติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สินอีกประมาณ 34% ในขณะเดียวกัน กลุ่มบริษัทฯ มีอัตรากำไรสุทธิที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมีการเติบโตของรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการเติบโตของต้นทุนการให้บริการและค่าวิชาชีพ อย่างไรก็ดี ในช่วง ไตรมาส 3/2565 อัตรากำไรสุทธิปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า จากการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ที่เพิ่มขึ้น โดยฐานะทางการเงินของกลุ่มบริษัทฯ ณ ไตรมาส 3/2565 กลุ่มบริษัทฯ มีสินทรัพย์ 2,875.5 ล้านบาท และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) เท่ากับ 0.4 เท่า ซึ่งรองรับโอกาสในการเข้าซื้อ NPL ของกลุ่มบริษัทฯ ในอนาคต”