Wealth Sharing
SCB EIC คาดศก.CLMV ปี 66 แข็งแกร่ง จากค่าแรงถูก-มีสนธิสัญญาการค้าเสรีต่าง ๆ
01 กุมภาพันธ์ 2566
SCB EIC คาดเศรษฐกิจ CLMV ปี 2566 ขยายตัวแข็งแกร่ง ผลจากค่าแรงค่อนข้างต่ำ ตลาดในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง และมีสนธิสัญญาการค้าเสรีต่าง ๆ กับประเทศคู่ค้าสำคัญทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี
SCB EIC คาดเศรษฐกิจ CLMV ในปี 2566 ขยายตัวแข็งแกร่งขึ้น แต่ยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตในช่วงก่อนการระบาด COVID-19 โดยมีอัตราการเติบโตที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยงรายประเทศ โดยประเมินว่าในปีนี้กัมพูชาจะขยายตัวได้ 5.5%, สปป.ลาวและเมียนมา 3.0% และเวียดนาม 6.2%
เศรษฐกิจ CLMV ในปี 2566 มีแนวโน้มฟื้นตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศและการท่องเที่ยว การบริโภคภายในประเทศมีปัจจัยบวกจากตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีนซึ่งมีความสำคัญต่อ CLMV คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30-35% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดในปี 2562 โดยจีนอนุมัติให้กรุ๊ปทัวร์สามารถเดินทางมากัมพูชา และสปป.ลาวได้ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ และคาดว่าจะเพิ่มรายชื่อประเทศที่สามารถเดินทางมาได้เร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้กัมพูชาและเวียดนามจะได้รับผลประโยชน์จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวมากที่สุด เนื่องจากพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวสูงอยู่ที่ 18.2% และ 9.8% ต่อ GDP ตามลำดับ
ในทางกลับกัน อุปสงค์จากต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวต่ำ ซึ่งจะกระทบเศรษฐกิจ CLMV ผ่านช่องทางการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเวียดนามจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับห่วงโซ่อุปทานโลกสูงมาก และเป็นปัจจัยที่ทำให้ SCB EIC ประเมินว่า เวียดนามเป็นประเทศในเดียวใน CLMV ที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวในปีนี้หลังขยายตัวสูงถึง 8% ในปีก่อน
การลงทุนจากไทยไป CLMV ซบเซาในช่วงปี 2565 แต่คาดว่าจะขยายตัวได้ในระดับต่ำในปีนี้ ปัจจัยกดดันในช่วงที่ผ่านมาได้แก่ เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างเปราะบางและมีความไม่แน่นอนสูง เงินเฟ้อที่สูงขึ้นซึ่งเพิ่มต้นทุนต่อธุรกิจ และความเสี่ยงรายประเทศ เช่น สถานการณ์การเมืองในเมียนมา ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน นอกจากนี้ การลงทุนในต่างประเทศจำเป็นต้องใช้เวลาการเตรียมความพร้อมค่อนข้างนาน และสถานการณ์ COVID-19 ได้ส่งผลให้โครงการต่าง ๆ ถูกเลื่อนออกไปในปี 2566 ปัจจัยกดดันดังกล่าวจะยังคงมีอยู่ แต่เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่ทยอยลดลง ตลอดจนข้อจำกัดการเดินทางภายในภูมิภาคที่หมดไปจะกระตุ้นให้การลงทุนสามารถฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป
ในระยะปานกลาง SCB EIC มองว่า CLMV ยังเป็นกลุ่มประเทศที่น่าสนใจต่อนักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากมีค่าแรงค่อนข้างต่ำ ตลาดในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง และมีสนธิสัญญาการค้าเสรีต่าง ๆ กับประเทศคู่ค้าสำคัญทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี นอกจากนี้ ยังสามารถเป็นฐานการผลิตไปตลาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดียได้อีกด้วย
ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์เป็นประเด็นที่ต้องจับตาในระยะต่อไป โดยจะมีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบต่อ CLMV ประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ที่จะมีผลกระทบโดยตรงต่อ CLMV มากที่สุด ได้แก่ความตึงเครียดระหว่าง จีน สหรัฐฯ และไต้หวัน ซึ่งอาจลุกลามมาถึงแถบทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นช่องทางการค้าสำคัญในภูมิภาคและอาจส่งผลให้เกิดปัญหาห่วงโซ่อุปทานขาดตอนในภาคการผลิตได้ นอกจากนี้ ชาติมหาอำนาจมีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการกีดกันทางการค้ามากขึ้นเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมของตน
ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงต่อผู้ส่งออกใน CLMV ที่จะเผชิญต้นทุนการทำธุรกิจที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ก็อาจส่งผลบวกต่อ CLMV เช่นกัน ผ่านแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนสู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ซึ่ง CLMV ได้เปรียบทั้งด้านที่ตั้งที่ใกล้กับจีน รวมถึงค่าแรงต่ำและข้อตกลงการค้าเสรีต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ชาติมหาอำนาจอาจเร่งการแข่งขันกันเพื่อขยายอิทธิพลในภูมิภาคนี้มากขึ้น เช่น โครงการ Belt and Road Initiative ของจีน หรือ Indo-Pacific Economic Framework ของสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ CLMV ในระยะต่อไปผ่านความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพของแต่ละประเทศ
SCB EIC คาดเศรษฐกิจ CLMV ในปี 2566 ขยายตัวแข็งแกร่งขึ้น แต่ยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตในช่วงก่อนการระบาด COVID-19 โดยมีอัตราการเติบโตที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยงรายประเทศ โดยประเมินว่าในปีนี้กัมพูชาจะขยายตัวได้ 5.5%, สปป.ลาวและเมียนมา 3.0% และเวียดนาม 6.2%
เศรษฐกิจ CLMV ในปี 2566 มีแนวโน้มฟื้นตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศและการท่องเที่ยว การบริโภคภายในประเทศมีปัจจัยบวกจากตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีนซึ่งมีความสำคัญต่อ CLMV คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30-35% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดในปี 2562 โดยจีนอนุมัติให้กรุ๊ปทัวร์สามารถเดินทางมากัมพูชา และสปป.ลาวได้ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ และคาดว่าจะเพิ่มรายชื่อประเทศที่สามารถเดินทางมาได้เร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้กัมพูชาและเวียดนามจะได้รับผลประโยชน์จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวมากที่สุด เนื่องจากพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวสูงอยู่ที่ 18.2% และ 9.8% ต่อ GDP ตามลำดับ
ในทางกลับกัน อุปสงค์จากต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวต่ำ ซึ่งจะกระทบเศรษฐกิจ CLMV ผ่านช่องทางการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเวียดนามจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับห่วงโซ่อุปทานโลกสูงมาก และเป็นปัจจัยที่ทำให้ SCB EIC ประเมินว่า เวียดนามเป็นประเทศในเดียวใน CLMV ที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวในปีนี้หลังขยายตัวสูงถึง 8% ในปีก่อน
การลงทุนจากไทยไป CLMV ซบเซาในช่วงปี 2565 แต่คาดว่าจะขยายตัวได้ในระดับต่ำในปีนี้ ปัจจัยกดดันในช่วงที่ผ่านมาได้แก่ เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างเปราะบางและมีความไม่แน่นอนสูง เงินเฟ้อที่สูงขึ้นซึ่งเพิ่มต้นทุนต่อธุรกิจ และความเสี่ยงรายประเทศ เช่น สถานการณ์การเมืองในเมียนมา ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน นอกจากนี้ การลงทุนในต่างประเทศจำเป็นต้องใช้เวลาการเตรียมความพร้อมค่อนข้างนาน และสถานการณ์ COVID-19 ได้ส่งผลให้โครงการต่าง ๆ ถูกเลื่อนออกไปในปี 2566 ปัจจัยกดดันดังกล่าวจะยังคงมีอยู่ แต่เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่ทยอยลดลง ตลอดจนข้อจำกัดการเดินทางภายในภูมิภาคที่หมดไปจะกระตุ้นให้การลงทุนสามารถฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป
ในระยะปานกลาง SCB EIC มองว่า CLMV ยังเป็นกลุ่มประเทศที่น่าสนใจต่อนักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากมีค่าแรงค่อนข้างต่ำ ตลาดในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง และมีสนธิสัญญาการค้าเสรีต่าง ๆ กับประเทศคู่ค้าสำคัญทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี นอกจากนี้ ยังสามารถเป็นฐานการผลิตไปตลาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดียได้อีกด้วย
ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์เป็นประเด็นที่ต้องจับตาในระยะต่อไป โดยจะมีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบต่อ CLMV ประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ที่จะมีผลกระทบโดยตรงต่อ CLMV มากที่สุด ได้แก่ความตึงเครียดระหว่าง จีน สหรัฐฯ และไต้หวัน ซึ่งอาจลุกลามมาถึงแถบทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นช่องทางการค้าสำคัญในภูมิภาคและอาจส่งผลให้เกิดปัญหาห่วงโซ่อุปทานขาดตอนในภาคการผลิตได้ นอกจากนี้ ชาติมหาอำนาจมีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการกีดกันทางการค้ามากขึ้นเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมของตน
ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงต่อผู้ส่งออกใน CLMV ที่จะเผชิญต้นทุนการทำธุรกิจที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ก็อาจส่งผลบวกต่อ CLMV เช่นกัน ผ่านแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนสู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ซึ่ง CLMV ได้เปรียบทั้งด้านที่ตั้งที่ใกล้กับจีน รวมถึงค่าแรงต่ำและข้อตกลงการค้าเสรีต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ชาติมหาอำนาจอาจเร่งการแข่งขันกันเพื่อขยายอิทธิพลในภูมิภาคนี้มากขึ้น เช่น โครงการ Belt and Road Initiative ของจีน หรือ Indo-Pacific Economic Framework ของสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ CLMV ในระยะต่อไปผ่านความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพของแต่ละประเทศ