‘บมจ. บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค หรือ BLC’ เดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ ขยายโรงงานใหม่เพิ่มกำลังผลิต 193% วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาสามัญใหม่อย่างน้อย 14 รายการ เน้นกลุ่มยาดีมานด์สูง และขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รับเมกะเทรนด์สุขภาพ มั่นใจธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต ตั้งเป้ารายได้เติบโตปีละ 200 ล้านบาท ปักธงปี 69 ทำรายได้ทะลุ 2,000 ล้านบาท ขณะโบรกให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ย 15.16 บาท/หุ้น ชี้พื้นฐานยังแข็งแกร่ง มีศักยภาพเติบโตสูงในอนาคตภก.สุวิทย์ งามภูพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ หรือ BLC) เปิดเผยว่า บริษัทฯ วางเป้าหมายรายได้เติบโตเฉลี่ย 200 ล้านบาทต่อปี หรือมีรายได้เติบโตถึง
2,000 ล้านบาท ภายในปี 2569 จากแผนดำเนินงานที่มุ่งสร้างรายได้จากการผลิตยาแผนปัจจุบันประเภทยาสามัญใหม่ (New Generic Drugs) ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเติบโตสูง โดยมีอัตราการทำกำไรขั้นต้นขั้นต่ำ 70% ใน 3-5 ปีแรกของการจำหน่าย จากวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ตั้งแต่ประมาณ 4-5 ปี ไปจนถึงมากกว่า 10 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทยา สภาพตลาดและการแข่งขัน การทดแทนของยาชนิดใหม่รวมถึงเทคโนโลยีการรักษาใหม่ๆ ดังนั้น บริษัทฯ จึงวางแผนการพัฒนาและจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายการวางจำหน่ายไม่น้อยกว่า 2 รายการต่อปี ที่ส่งผลดีต่ออัตราการเติบโตของรายได้และอัตราการทำกำไรของบริษัทฯ ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องตามแผนงานที่วางเอาไว้
สำหรับอุตสาหกรรมยาภายในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากปี 2022 ที่ขยายตัว 4.5-5% หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 238,350 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย การเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และการเปิดให้บริการของสถานพยาบาล ทำให้ดีมานด์ของผลิตภัณฑ์ยาเพิ่มขึ้นประกอบกับเทรนด์ดูแลสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 และการเข้าถึงข้อมูลของยาได้จากการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น
“เรามีเป้าหมายการเติบโตอย่างชัดเจนจากแผนงานเพิ่มกำลังการผลิต และการมุ่งวิจัยและผลิตยาแผนปัจจุบันประเภทยาสามัญใหม่อย่างน้อยปีละ 2 รายการ เพื่อรักษาความสามารถในการทำกำไรให้เติบโตตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ โดยเน้นผลิตยามุ่งเป้าที่มีความต้องการในประเทศจากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ในฐานะผู้บริหารของ BLC เรามุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพให้กับคนไทย รวมทั้งการบริหารงานเพื่อสร้างการเติบโตให้บริษัทฯ และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้น” ภก.สุวิทย์ กล่าว
ด้านนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำยังมองหุ้น BLC มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง จากการเป็นผู้ผลิตยาแผนปัจจุบันประเภทยาสามัญใหม่ (New generic drugs) ซึ่งมีความจำเป็นในการรักษาโรคครอบคลุมประชากรทั้งประเทศ และมีผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพครบวงจร สามารถรองรับการเติบโตของเทรนด์ด้านสุขภาพในอนาคตจากทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อีกทั้งมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุม และผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจจากทุกกลุ่มลูกค้า รวมทั้งมีศักยภาพการเติบโตในอนาคตตามเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพที่กำลังเติบโตทั่วโลก โดยบริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเป้าหมายที่ 18.00 บาท/หุ้น บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเป้าหมายที่ 16.30 บาท/หุ้น บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ให้ราคาเป้าหมายที่ 16.10 บาท/หุ้น บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ให้ราคาเป้าหมายที่ 16.00 บาท/หุ้น บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเป้าหมายที่ 13.90 บาท/หุ้น บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด ให้ราคาเป้าหมายที่ 13.79 บาท/หุ้น และบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเป้าหมายที่ 12.00 บาท/หุ้น โดยคิดเป็นอัตราเฉลี่ยที่ 15.16 บาท/หุ้น
นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) คาดการณ์แนวโน้มผลประกอบการณ์เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่ามีอัตรากำไรสุทธิ ปี 2023-2025 เติบโตเฉลี่ย 26% จากปัจจัยหนุนการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้บริษัทฯ สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างน้อยปีละ 2 รายการตามแผนงานที่วางเอาไว้ อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจากการปรับพอร์ตสินค้าโดยมุ่งเน้นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีอัตรากำไรสูง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขายลดลง จากการได้รับประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) จากยอดขายที่เร่งตัวขึ้น
2,000 ล้านบาท ภายในปี 2569 จากแผนดำเนินงานที่มุ่งสร้างรายได้จากการผลิตยาแผนปัจจุบันประเภทยาสามัญใหม่ (New Generic Drugs) ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเติบโตสูง โดยมีอัตราการทำกำไรขั้นต้นขั้นต่ำ 70% ใน 3-5 ปีแรกของการจำหน่าย จากวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ตั้งแต่ประมาณ 4-5 ปี ไปจนถึงมากกว่า 10 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทยา สภาพตลาดและการแข่งขัน การทดแทนของยาชนิดใหม่รวมถึงเทคโนโลยีการรักษาใหม่ๆ ดังนั้น บริษัทฯ จึงวางแผนการพัฒนาและจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายการวางจำหน่ายไม่น้อยกว่า 2 รายการต่อปี ที่ส่งผลดีต่ออัตราการเติบโตของรายได้และอัตราการทำกำไรของบริษัทฯ ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องตามแผนงานที่วางเอาไว้
สำหรับอุตสาหกรรมยาภายในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากปี 2022 ที่ขยายตัว 4.5-5% หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 238,350 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย การเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และการเปิดให้บริการของสถานพยาบาล ทำให้ดีมานด์ของผลิตภัณฑ์ยาเพิ่มขึ้นประกอบกับเทรนด์ดูแลสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 และการเข้าถึงข้อมูลของยาได้จากการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น
“เรามีเป้าหมายการเติบโตอย่างชัดเจนจากแผนงานเพิ่มกำลังการผลิต และการมุ่งวิจัยและผลิตยาแผนปัจจุบันประเภทยาสามัญใหม่อย่างน้อยปีละ 2 รายการ เพื่อรักษาความสามารถในการทำกำไรให้เติบโตตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ โดยเน้นผลิตยามุ่งเป้าที่มีความต้องการในประเทศจากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ในฐานะผู้บริหารของ BLC เรามุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพให้กับคนไทย รวมทั้งการบริหารงานเพื่อสร้างการเติบโตให้บริษัทฯ และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้น” ภก.สุวิทย์ กล่าว
ด้านนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำยังมองหุ้น BLC มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง จากการเป็นผู้ผลิตยาแผนปัจจุบันประเภทยาสามัญใหม่ (New generic drugs) ซึ่งมีความจำเป็นในการรักษาโรคครอบคลุมประชากรทั้งประเทศ และมีผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพครบวงจร สามารถรองรับการเติบโตของเทรนด์ด้านสุขภาพในอนาคตจากทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อีกทั้งมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุม และผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจจากทุกกลุ่มลูกค้า รวมทั้งมีศักยภาพการเติบโตในอนาคตตามเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพที่กำลังเติบโตทั่วโลก โดยบริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเป้าหมายที่ 18.00 บาท/หุ้น บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเป้าหมายที่ 16.30 บาท/หุ้น บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ให้ราคาเป้าหมายที่ 16.10 บาท/หุ้น บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ให้ราคาเป้าหมายที่ 16.00 บาท/หุ้น บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเป้าหมายที่ 13.90 บาท/หุ้น บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด ให้ราคาเป้าหมายที่ 13.79 บาท/หุ้น และบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเป้าหมายที่ 12.00 บาท/หุ้น โดยคิดเป็นอัตราเฉลี่ยที่ 15.16 บาท/หุ้น
นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) คาดการณ์แนวโน้มผลประกอบการณ์เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่ามีอัตรากำไรสุทธิ ปี 2023-2025 เติบโตเฉลี่ย 26% จากปัจจัยหนุนการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้บริษัทฯ สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างน้อยปีละ 2 รายการตามแผนงานที่วางเอาไว้ อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจากการปรับพอร์ตสินค้าโดยมุ่งเน้นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีอัตรากำไรสูง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขายลดลง จากการได้รับประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) จากยอดขายที่เร่งตัวขึ้น