จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : EA เดินหน้า “รถไฟพลังงานแบตเตอรี่” พัฒนา “สถานีชาร์จและสับเปลี่ยนแบตเตอรี่”
10 กรกฎาคม 2566
บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ยกระดับการคมนาคมทางราง พัฒนาโครงสร้างรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ โดยเฉพาะ “ระบบสถานีชาร์จและสับเปลี่ยนแบตเตอรี่” ลดการใช้น้ำมันดีเซล สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ต้องยอมรับว่าการขนส่งเป็นธุรกิจหนึ่งที่ปล่อยมลพิษทางอากาศมากเป็นอันดับต้นๆ จึงเป็นที่มาของการนำระบบแบตเตอรี่มาใช้กับหัวรถจักรของรถไฟ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมใช้ “รถไฟ EV” หัวรถจักรขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยประกอบและติดตั้งระบบแบตเตอรี่สำหรับรถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าเสร็จเมื่อปี 2565 ถือเป็นแห่งแรกของโลก ซึ่งจะประหยัดต้นทุนพลังงาน 40 – 60% เมื่อเทียบกับหัวรถจักรดีเซล โดยได้มีการทดสอบการเดินรถและการลากจูงขบวนรถโดยสารขึ้นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์แล้วเมื่อ ม.ค.66 และอยู่ระหว่างจัดหาอีก 50 คัน เพื่อทยอยให้บริการประชาชนภายในปี 2566 นี้
.
ซึ่งรถไฟ EV จะใช้นวัตกรรมระบบชาร์จ Ultra Fast Charge ในเวลา 1 ชั่วโมง และ Battery Swapping Station เพื่อสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่ในเวลาไม่เกิน 10 นาที โดยเบื้องต้นติดตั้งจุดชาร์จบริเวณย่านบางซื่อ และจะขยายไปยังสถานีอื่นเพิ่ม รองรับการใช้หัวรถจักรพลังงานไฟฟ้ากับขบวนรถโดยสาร ลดมลพิษทางอากาศ สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของรฟท. สอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถไฟพลังงานแบตเตอรี่ของ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์หรือ EA ซึ่ง “สมโภชน์ อาหุนัย” ประธานเจ้าหน้าที่ เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ร่วมลงนามความร่วมมือ(MoU)กับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง(องค์การมหาชน)หรือ สทร. เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถไฟพลังงานแบตเตอรี่ (EV on Train) เพื่อให้ประเทศไทยพึ่งพาตนเองได้ในด้านเทคโนโลยีระบบรางและพัฒนานวัตกรรมระบบรางไร้มลพิษ ตอบโจทย์ต่อบริบทของประเทศ จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาองค์ประกอบสำคัญในระบบนิเวศอุตสาหกรรมระบบรางไปสู่การใช้ไฟฟ้าแทนระบบรถไฟเดิมที่ใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีรถไฟพลังงานแบตเตอรี่หรือ EV on Train และเริ่มทดลองใช้แล้วในประเทศไทย
ทั้งนี้ EAได้นำนวัตกรรมหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (MINE Locomotive) มาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต (New S-curves)ได้เป็นผลสำเร็จจากการได้รับแรงสนับสนุนหลายภาคส่วน โดยเฉพาะ CRRC Dalian ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีน และได้รับโอกาสจากกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตลอดจนบริษัทผู้ผลิตพันธมิตรของ EAทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งผลของการพัฒนา MINE Locomotive จึงนำมาสู่การต่อยอดเส้นทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างครบวงจรได้แก่
1.ระบบสถานีชาร์จและสับเปลี่ยนแบตเตอรี่(Battery Swapping & Charging Station) สำหรับรถไฟแบตเตอรี่ EV on Train ที่มีแหล่งจ่ายไฟฟ้าเป็นระบบแบตเตอรี่ขนาดใหญ่มากกว่า 3 MW
2.องค์ประกอบด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆโดยเฉพาะสถานีชาร์จและสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ต้นแบบของ EA ที่มีขนาดมากกว่า3 MW เพื่อเป็นต้นแบบขยายสถานีชาร์จตามแนวเส้นทางรถไฟ ซึ่งจะถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้การสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สามารถเพิ่มระยะทางวิ่งใช้เวลาสั้น (เช่นเพียง10นาที) ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติการของระบบรางสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อพัฒนาต้นแบบและทดสอบแล้ว จะนำไปสู่การขยายผลใช้งานในระบบรางของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบมาตรฐานและการทดสอบด้านการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการตลอดจนด้านการร่วมมือถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานโดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ(Local Content) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเทคโนโลยีดังกล่าวจำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทดสอบและรับรองว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นได้นั้นมีมาตรฐานและผ่านการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจของ EA ในปี 2566 บริษัทฯมั่นใจรายได้ปีนี้เติบโตมากกว่า50%ตามเป้าหมายโดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดจาก EV Ecosystem ทั้งธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้า รถเพื่อการพาณิชย์ธุรกิจผู้ผลิตแบตเตอรี่และสถานีชาร์จรวมถึงธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยไตรมาส1/2566รายได้เติบโตกว่า80%ขณะที่แผนการดำเนินธุรกิจในส่วนของธุรกิจEVในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯเริ่มมองหาพันธมิตรเข้าลงทุนในชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ไฟฟ้าจากปัจจุบันที่มีพันธมิตรในส่วนของ Battery Management System แล้วซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด(มาร์เก็ตแชร์)ได้อีกมาก
ต้องยอมรับว่าการขนส่งเป็นธุรกิจหนึ่งที่ปล่อยมลพิษทางอากาศมากเป็นอันดับต้นๆ จึงเป็นที่มาของการนำระบบแบตเตอรี่มาใช้กับหัวรถจักรของรถไฟ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมใช้ “รถไฟ EV” หัวรถจักรขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยประกอบและติดตั้งระบบแบตเตอรี่สำหรับรถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าเสร็จเมื่อปี 2565 ถือเป็นแห่งแรกของโลก ซึ่งจะประหยัดต้นทุนพลังงาน 40 – 60% เมื่อเทียบกับหัวรถจักรดีเซล โดยได้มีการทดสอบการเดินรถและการลากจูงขบวนรถโดยสารขึ้นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์แล้วเมื่อ ม.ค.66 และอยู่ระหว่างจัดหาอีก 50 คัน เพื่อทยอยให้บริการประชาชนภายในปี 2566 นี้
.
ซึ่งรถไฟ EV จะใช้นวัตกรรมระบบชาร์จ Ultra Fast Charge ในเวลา 1 ชั่วโมง และ Battery Swapping Station เพื่อสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่ในเวลาไม่เกิน 10 นาที โดยเบื้องต้นติดตั้งจุดชาร์จบริเวณย่านบางซื่อ และจะขยายไปยังสถานีอื่นเพิ่ม รองรับการใช้หัวรถจักรพลังงานไฟฟ้ากับขบวนรถโดยสาร ลดมลพิษทางอากาศ สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของรฟท. สอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถไฟพลังงานแบตเตอรี่ของ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์หรือ EA ซึ่ง “สมโภชน์ อาหุนัย” ประธานเจ้าหน้าที่ เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ร่วมลงนามความร่วมมือ(MoU)กับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง(องค์การมหาชน)หรือ สทร. เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถไฟพลังงานแบตเตอรี่ (EV on Train) เพื่อให้ประเทศไทยพึ่งพาตนเองได้ในด้านเทคโนโลยีระบบรางและพัฒนานวัตกรรมระบบรางไร้มลพิษ ตอบโจทย์ต่อบริบทของประเทศ จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาองค์ประกอบสำคัญในระบบนิเวศอุตสาหกรรมระบบรางไปสู่การใช้ไฟฟ้าแทนระบบรถไฟเดิมที่ใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีรถไฟพลังงานแบตเตอรี่หรือ EV on Train และเริ่มทดลองใช้แล้วในประเทศไทย
ทั้งนี้ EAได้นำนวัตกรรมหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (MINE Locomotive) มาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต (New S-curves)ได้เป็นผลสำเร็จจากการได้รับแรงสนับสนุนหลายภาคส่วน โดยเฉพาะ CRRC Dalian ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีน และได้รับโอกาสจากกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตลอดจนบริษัทผู้ผลิตพันธมิตรของ EAทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งผลของการพัฒนา MINE Locomotive จึงนำมาสู่การต่อยอดเส้นทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างครบวงจรได้แก่
1.ระบบสถานีชาร์จและสับเปลี่ยนแบตเตอรี่(Battery Swapping & Charging Station) สำหรับรถไฟแบตเตอรี่ EV on Train ที่มีแหล่งจ่ายไฟฟ้าเป็นระบบแบตเตอรี่ขนาดใหญ่มากกว่า 3 MW
2.องค์ประกอบด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆโดยเฉพาะสถานีชาร์จและสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ต้นแบบของ EA ที่มีขนาดมากกว่า3 MW เพื่อเป็นต้นแบบขยายสถานีชาร์จตามแนวเส้นทางรถไฟ ซึ่งจะถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้การสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สามารถเพิ่มระยะทางวิ่งใช้เวลาสั้น (เช่นเพียง10นาที) ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติการของระบบรางสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อพัฒนาต้นแบบและทดสอบแล้ว จะนำไปสู่การขยายผลใช้งานในระบบรางของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบมาตรฐานและการทดสอบด้านการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการตลอดจนด้านการร่วมมือถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานโดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ(Local Content) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเทคโนโลยีดังกล่าวจำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทดสอบและรับรองว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นได้นั้นมีมาตรฐานและผ่านการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจของ EA ในปี 2566 บริษัทฯมั่นใจรายได้ปีนี้เติบโตมากกว่า50%ตามเป้าหมายโดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดจาก EV Ecosystem ทั้งธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้า รถเพื่อการพาณิชย์ธุรกิจผู้ผลิตแบตเตอรี่และสถานีชาร์จรวมถึงธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยไตรมาส1/2566รายได้เติบโตกว่า80%ขณะที่แผนการดำเนินธุรกิจในส่วนของธุรกิจEVในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯเริ่มมองหาพันธมิตรเข้าลงทุนในชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ไฟฟ้าจากปัจจุบันที่มีพันธมิตรในส่วนของ Battery Management System แล้วซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด(มาร์เก็ตแชร์)ได้อีกมาก