จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : IND ลุยประมูลงานรัฐวิสาหกิจ-เอกชน ดันรายได้ปี 66 โตกว่า 20%
03 กุมภาพันธ์ 2566
หลังการเปิดประเทศรัฐบาลเร่งเปิดประมูลงานก่อสร้าง หวังกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อธุรกิจ บมจ.อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (IND) ที่ปีนี้ผู้บริหารประกาศ เข้าร่วมประมูลโครงการต่างๆ ทั้งจากภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน หนุนรายได้โตไม่ต่ำกว่า 20%
ปี 2566 กระทรวงคมนาคม ได้รับจัดสรรงบประมาณวงเงิน 228,930.28 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น ราว 20,000 ล้านบาท โดยงบประมาณกว่า 2.28 แสนล้านบาทนั้น แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 27,419.32 ล้านบาท (11.98%) รายจ่ายลงทุน จำนวน 201,510.96 ล้านบาท (88.02%)
โดยมี 8 ส่วนราชการ และ 5 รัฐวิสาหกิจ จาก 12 รัฐวิสาหกิจ ที่มีการใช้งบแผ่นดิน ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และ สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.)
สำหรับ 5 รัฐวิสาหกิจ ได้รับงบลงทุนรวม 32,764.02 ล้านบาท โดย รฟม.ได้รับมากที่สุด จำนวน 17,042.87 ล้านบาท รองลงมาคือ รฟท. จำนวน 15,535.84 ล้านบาท ด้านรายจ่ายประจำ 5 รัฐวิสาหกิจ ได้รับจัดสรรจำนวน 15,853.35 ล้านบาท โดยรฟท.ได้รับมากสุด 7,191.54 ล้านบาท รองลงมาคือ รฟม. จำนวน 4,481.92 ล้านบาท และ ขสมก.จำนวน 4,074.13 ล้านบาท
ซึ่งแผนการดำเนินงานปี 2566 ของกระทรวงคมนาคม พบว่า มีทั้งสิ้น 170 โครงการ คิดเป็นวงเงินลงทุนรวม 2.7 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2565 จำนวน 115 โครงการ วงเงินลงทุน 2,618,270 ล้านบาท และงานใหม่ 51 โครงการ วงเงินลงทุน 124,724 ล้านบาท (เงินงบประมาณ 35,388 ล้านบาท เงินนอกงบประมาณ 89,337 ล้านบาท) โดยมีสัดส่วนเงินกู้ 49% , งบประมาณ 28% ,อื่นๆ 11% ,PPP 7% ,รายได้รัฐวิสาหกิจ 5%
โดยทางถนน มีวงเงินลงทุนรวม 30,960.32 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อเนื่อง วงเงิน 18,683.32 ล้านบาท โครงการใหม่ วงเงิน 446 ล้านบาท โครงการ PPP วงเงิน 5,973 ล้านบาท โครงการใช้เงิน TFFวงเงิน 5,858 ล้านบาท
ทางบก วงเงินลงทุนรวม 541.09 ล้านบาท โดยเป็น โครงการต่อเนื่องทั้งหมด
ทางราง วงเงินลงทุนรวม 83,147.74 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อเนื่อง วงเงิน 80,947.55 ล้านบาท โครงการใหม่ วงเงิน 11.12 ล้านบาท โครงการ PPP วงเงิน 2,189.07 ล้านบาท
ทางน้ำ วงเงินลงทุนรวม 2,936.15 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อเนื่องวงเงิน 1,556.15 ล้านบาท โครงการใหม่ วงเงิน 1,380 ล้านบาท
ทางอากาศ วงเงินลงทุนรวม 7,197.70 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อเนื่อง 2,799.19 ล้านบาท โครงการใหม่ วงเงิน 4,398.51 ล้านบาท
สนับสนุนทิศทางการดำเนินงานของ บมจ.อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (IND) ซึ่ง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “พรลภัส ณ ลำพูน” ระบุภาพรวมการดำเนินธุรกิจในปี 66 บริษัทมั่นใจในศักยภาพการดำเนินธุรกิจและคาดว่าจะรักษาการเติบโตทั้งรายได้และกำไรได้อย่างแข็งแกร่งมั่นคง โดยตั้งเป้ารายได้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% ผลจากการทยอยรับรู้รายได้จากงานในมือ (Backlog) ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2,363.16 ล้านบาท
ซึ่งกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ บริษัทยังคงมุ่งเน้นเข้าร่วมประมูลโครงการต่างๆ จากภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ รวมถึงขยายงานของภาคเอกชนให้มากขึ้น อีกทั้งการขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักเพื่อต่อยอดและผลักดันการเติบโตของรายได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนแนวโน้มของอุตสาหกรรมการก่อสร้างของภาครัฐปีนี้มองว่ามีโอกาสจะฟื้นตัวได้ดีขึ้น จากการเร่งรัดให้มีงานโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ออกมาจำนวนมาก โดยบริษัทฯ มีความพร้อมในทุกๆ ด้านเพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการต่างๆ
"ปีที่ผ่านมาบริษัทมีโอกาสเข้าร่วมประมูลงานใหม่ๆ และได้รับงานหลายโครงการ เพราะมีศักยภาพและความพร้อมในทุกๆ โครงการที่เกี่ยวข้อง และปีนี้บริษัทยังดำเนินธุรกิจตามแผนธุรกิจที่วางไว้นอกเหนือจากการมุ่งเน้นประมูลงานภาครัฐ-รัฐวิสาหกิจ รวมถึงภาคเอกชนมากขึ้นแล้ว ยังอยู่ระหว่างการศึกษาขยายธุรกิจใหม่ๆ หาช่องทางตลาดใหม่ เพื่อช่วยผลักดันการเติบโตให้กับธุรกิจต่อไปได้ในระยะยาว โดยเชื่อว่าอุตสาหกรรมการก่อสร้างปีนี้ยังขยายตัวได้ดี และจะส่งผลบวกต่อธุรกิจของบริษัท " ดร.พรลภัส กล่าว
ปี 2566 กระทรวงคมนาคม ได้รับจัดสรรงบประมาณวงเงิน 228,930.28 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น ราว 20,000 ล้านบาท โดยงบประมาณกว่า 2.28 แสนล้านบาทนั้น แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 27,419.32 ล้านบาท (11.98%) รายจ่ายลงทุน จำนวน 201,510.96 ล้านบาท (88.02%)
โดยมี 8 ส่วนราชการ และ 5 รัฐวิสาหกิจ จาก 12 รัฐวิสาหกิจ ที่มีการใช้งบแผ่นดิน ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และ สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.)
สำหรับ 5 รัฐวิสาหกิจ ได้รับงบลงทุนรวม 32,764.02 ล้านบาท โดย รฟม.ได้รับมากที่สุด จำนวน 17,042.87 ล้านบาท รองลงมาคือ รฟท. จำนวน 15,535.84 ล้านบาท ด้านรายจ่ายประจำ 5 รัฐวิสาหกิจ ได้รับจัดสรรจำนวน 15,853.35 ล้านบาท โดยรฟท.ได้รับมากสุด 7,191.54 ล้านบาท รองลงมาคือ รฟม. จำนวน 4,481.92 ล้านบาท และ ขสมก.จำนวน 4,074.13 ล้านบาท
ซึ่งแผนการดำเนินงานปี 2566 ของกระทรวงคมนาคม พบว่า มีทั้งสิ้น 170 โครงการ คิดเป็นวงเงินลงทุนรวม 2.7 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2565 จำนวน 115 โครงการ วงเงินลงทุน 2,618,270 ล้านบาท และงานใหม่ 51 โครงการ วงเงินลงทุน 124,724 ล้านบาท (เงินงบประมาณ 35,388 ล้านบาท เงินนอกงบประมาณ 89,337 ล้านบาท) โดยมีสัดส่วนเงินกู้ 49% , งบประมาณ 28% ,อื่นๆ 11% ,PPP 7% ,รายได้รัฐวิสาหกิจ 5%
โดยทางถนน มีวงเงินลงทุนรวม 30,960.32 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อเนื่อง วงเงิน 18,683.32 ล้านบาท โครงการใหม่ วงเงิน 446 ล้านบาท โครงการ PPP วงเงิน 5,973 ล้านบาท โครงการใช้เงิน TFFวงเงิน 5,858 ล้านบาท
ทางบก วงเงินลงทุนรวม 541.09 ล้านบาท โดยเป็น โครงการต่อเนื่องทั้งหมด
ทางราง วงเงินลงทุนรวม 83,147.74 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อเนื่อง วงเงิน 80,947.55 ล้านบาท โครงการใหม่ วงเงิน 11.12 ล้านบาท โครงการ PPP วงเงิน 2,189.07 ล้านบาท
ทางน้ำ วงเงินลงทุนรวม 2,936.15 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อเนื่องวงเงิน 1,556.15 ล้านบาท โครงการใหม่ วงเงิน 1,380 ล้านบาท
ทางอากาศ วงเงินลงทุนรวม 7,197.70 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อเนื่อง 2,799.19 ล้านบาท โครงการใหม่ วงเงิน 4,398.51 ล้านบาท
สนับสนุนทิศทางการดำเนินงานของ บมจ.อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (IND) ซึ่ง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “พรลภัส ณ ลำพูน” ระบุภาพรวมการดำเนินธุรกิจในปี 66 บริษัทมั่นใจในศักยภาพการดำเนินธุรกิจและคาดว่าจะรักษาการเติบโตทั้งรายได้และกำไรได้อย่างแข็งแกร่งมั่นคง โดยตั้งเป้ารายได้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% ผลจากการทยอยรับรู้รายได้จากงานในมือ (Backlog) ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2,363.16 ล้านบาท
ซึ่งกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ บริษัทยังคงมุ่งเน้นเข้าร่วมประมูลโครงการต่างๆ จากภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ รวมถึงขยายงานของภาคเอกชนให้มากขึ้น อีกทั้งการขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักเพื่อต่อยอดและผลักดันการเติบโตของรายได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนแนวโน้มของอุตสาหกรรมการก่อสร้างของภาครัฐปีนี้มองว่ามีโอกาสจะฟื้นตัวได้ดีขึ้น จากการเร่งรัดให้มีงานโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ออกมาจำนวนมาก โดยบริษัทฯ มีความพร้อมในทุกๆ ด้านเพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการต่างๆ
"ปีที่ผ่านมาบริษัทมีโอกาสเข้าร่วมประมูลงานใหม่ๆ และได้รับงานหลายโครงการ เพราะมีศักยภาพและความพร้อมในทุกๆ โครงการที่เกี่ยวข้อง และปีนี้บริษัทยังดำเนินธุรกิจตามแผนธุรกิจที่วางไว้นอกเหนือจากการมุ่งเน้นประมูลงานภาครัฐ-รัฐวิสาหกิจ รวมถึงภาคเอกชนมากขึ้นแล้ว ยังอยู่ระหว่างการศึกษาขยายธุรกิจใหม่ๆ หาช่องทางตลาดใหม่ เพื่อช่วยผลักดันการเติบโตให้กับธุรกิจต่อไปได้ในระยะยาว โดยเชื่อว่าอุตสาหกรรมการก่อสร้างปีนี้ยังขยายตัวได้ดี และจะส่งผลบวกต่อธุรกิจของบริษัท " ดร.พรลภัส กล่าว