RT เปิดแผนธุรกิจปี 66 ลุ้น Turn Around ตั้งเป้ารายได้โต 100% ชูกลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานก่อสร้าง บริหารจัดการต้นทุน-แรงงาน เร่งส่งมอบงานเก่า รับงานใหม่ด้วยราคาต้นทุนสะท้อนจริง เพิ่มสัดส่วนงานต่างประเทศ หนุน Backlog ทำสถิติใหม่ 11,400 ล้านบาท จับมือพันธมิตรเสริมศักยภาพการเข้ารับงาน เตรียมงบลงทุน 300 ล้านบาท ซื้อเครื่องจักรรับงานเฉพาะทาง พัฒนานวัตกรรมการก่อสร้างเพื่อลดมลพิษ
นายชวลิต ถนอมถิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ RT ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิศวกรรมโยธาและธรณีเทคนิค เปิดเผยทิศทางธุรกิจปี 2566 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 100% และคาดว่าจะสามารถพลิกกลับมามีกำไรในช่วงครึ่งปีหลัง
โดยบริษัทมุ่งเน้นแผนกลยุทธ์พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานก่อสร้างให้มีความรวดเร็ว เพื่อส่งมอบงานก่อสร้างในมือให้แล้วเสร็จตามแผน อีกทั้งเดินหน้าแผนการบริหารจัดการต้นทุนก่อสร้างต่อเนื่องจากปีก่อน โดยมีการติดตามแนวโน้มราคาและการวางแผนการสั่งซื้อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัสดุ นอกจากนี้บริษัทมีความร่วมมือกับพันธมิตรก่อสร้างเพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างและเพิ่มศักยภาพการเข้ารับงานในอนาคต
ขณะที่บริษัทสามารถรับรู้รายได้จากงานก่อสร้าง อาทิ งานก่อสร้างอุโมงค์ในโครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 3 จ.สระบุรี-จ.นครราชสีมา, โครงการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง-แม่งัด จ.เชียงใหม่, โครงการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำตามแนวคลองมหาสวัสดิ์จากโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ถึง ถ.ราชพฤกษ์, โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนา บริเวณคอขวด, โครงการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง, โครงการก่อสร้างทางหลวง อ.นาทวี จ.สงขลา และ งานก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนเข้าประมูลงานโครงการภาครัฐเพิ่มขึ้น ต่อยอดจากการเป็นผู้รับเหมาช่วง (Subcontract) โดยมุ่งเน้นงานโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศ และงานเอกชนที่มีระยะเวลาการดำเนินงานสั้นเพื่อยอดรับรู้รายได้ต่อเนื่อง อีกทั้งบริษัทเข้ารับงานด้วยราคาต้นทุนการก่อสร้างที่สะท้อนตามจริงเพื่อเพิ่มความสามารถการทำกำไรให้กลับมาในระดับที่เหมาะสม โดยบริษัทมีสัดส่วนงานดังกล่าวจำนวนอยู่ที่ 90% ของงานทั้งหมด
ด้านงานต่างประเทศ บริษัทมุ่งเน้นเพิ่มสัดส่วนการเข้ารับงานต่างประเทศมากขึ้น 5-6% ซึ่งปัจจุบันบริษัทเข้ารับงานก่อสร้างงานโยธาสำหรับโครงสร้างถาวร โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) มูลค่า 1,615 ล้านบาท โดยบริษัท หลวงพระบาง พาวเวอร์ จำกัดเป็นเจ้าของโครงการ และ บริษัท ช.การช่าง (ลาว) จำกัด เป็นผู้ว่าจ้าง อีกทั้งบริษัทมีการติดตามสถานการณ์เพื่อเข้ารับงานต่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศกลุ่ม CLMV
จากแผนการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทมีมูลค่างานในมือ (Backlog) ทั้งหมดอยู่ที่ 11,400 ล้านบาท ถือเป็นสถิติใหม่สูงสุดตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท โดยจะทยอยรับรู้รายได้ในปี 66-67
ทั้งนี้ บริษัทตั้งงบลงทุนจำนวน 300 ล้านบาท โดยจัดเตรียมซื้อเครื่องจักรเพื่อเป็นการเตรียมรองรับโครงการใหม่ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะด้าน รวมถึงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้, ยานพาหนะ และอื่น ๆ ในโครงการก่อสร้าง
อีกทั้ง บริษัทมีแผนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดมลพิษในเขตพื้นที่ก่อสร้าง โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาระบบยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างโดยเฉพาะงานก่อสร้างอุโมงค์ เพื่อลดต้นทุนการใช้เชื้อเพลิงขนส่ง และ ช่วยลดมลพิษในเขตพื้นที่ก่อสร้างอย่างยั่งยืน คาดว่าจะสามารถนำมาใช้ในพื้นที่ก่อสร้างช่วงไตรมาส 3/2566
“ภาพรวมอุตสาหกรรมก่อสร้างในปีนี้มีแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยการลงทุนโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก รวมไปถึงการลงทุนจากภาคเอกชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาภายหลังมาตรการล็อกดาวน์ที่มีความคลี่คลายในหลายพื้นที่ทั่วโลก อีกทั้งความต้องการย้ายฐานการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมจากต่างประเทศมายังประเทศไทย ส่งผลบวกกับทั้งอุตสาหกรรมและบริษัท โดยมั่นใจว่าในปีนี้จะสามารถสร้างผลการดำเนินงานที่ดีได้อย่างแน่นอน” นายชวลิต กล่าว
สำหรับสัดส่วนรายได้ของบริษัทแบ่งตามประเภทงาน ประกอบด้วย งานสร้างอุโมงค์ 55%, งานสร้างเขื่อนและระบบชลประทาน 13 %, งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 4%, งานท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน 15 %, และ งานอื่นๆ 13 % อาทิงานก่อสร้างถนน, งาน Slope Protection เป็นต้น โดยมีสัดส่วนรายได้ภายในประเทศ 96 % และ ต่างประเทศ 4%
นายชวลิต ถนอมถิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ RT ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิศวกรรมโยธาและธรณีเทคนิค เปิดเผยทิศทางธุรกิจปี 2566 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 100% และคาดว่าจะสามารถพลิกกลับมามีกำไรในช่วงครึ่งปีหลัง
โดยบริษัทมุ่งเน้นแผนกลยุทธ์พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานก่อสร้างให้มีความรวดเร็ว เพื่อส่งมอบงานก่อสร้างในมือให้แล้วเสร็จตามแผน อีกทั้งเดินหน้าแผนการบริหารจัดการต้นทุนก่อสร้างต่อเนื่องจากปีก่อน โดยมีการติดตามแนวโน้มราคาและการวางแผนการสั่งซื้อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัสดุ นอกจากนี้บริษัทมีความร่วมมือกับพันธมิตรก่อสร้างเพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างและเพิ่มศักยภาพการเข้ารับงานในอนาคต
ขณะที่บริษัทสามารถรับรู้รายได้จากงานก่อสร้าง อาทิ งานก่อสร้างอุโมงค์ในโครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 3 จ.สระบุรี-จ.นครราชสีมา, โครงการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง-แม่งัด จ.เชียงใหม่, โครงการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำตามแนวคลองมหาสวัสดิ์จากโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ถึง ถ.ราชพฤกษ์, โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนา บริเวณคอขวด, โครงการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง, โครงการก่อสร้างทางหลวง อ.นาทวี จ.สงขลา และ งานก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนเข้าประมูลงานโครงการภาครัฐเพิ่มขึ้น ต่อยอดจากการเป็นผู้รับเหมาช่วง (Subcontract) โดยมุ่งเน้นงานโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศ และงานเอกชนที่มีระยะเวลาการดำเนินงานสั้นเพื่อยอดรับรู้รายได้ต่อเนื่อง อีกทั้งบริษัทเข้ารับงานด้วยราคาต้นทุนการก่อสร้างที่สะท้อนตามจริงเพื่อเพิ่มความสามารถการทำกำไรให้กลับมาในระดับที่เหมาะสม โดยบริษัทมีสัดส่วนงานดังกล่าวจำนวนอยู่ที่ 90% ของงานทั้งหมด
ด้านงานต่างประเทศ บริษัทมุ่งเน้นเพิ่มสัดส่วนการเข้ารับงานต่างประเทศมากขึ้น 5-6% ซึ่งปัจจุบันบริษัทเข้ารับงานก่อสร้างงานโยธาสำหรับโครงสร้างถาวร โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) มูลค่า 1,615 ล้านบาท โดยบริษัท หลวงพระบาง พาวเวอร์ จำกัดเป็นเจ้าของโครงการ และ บริษัท ช.การช่าง (ลาว) จำกัด เป็นผู้ว่าจ้าง อีกทั้งบริษัทมีการติดตามสถานการณ์เพื่อเข้ารับงานต่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศกลุ่ม CLMV
จากแผนการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทมีมูลค่างานในมือ (Backlog) ทั้งหมดอยู่ที่ 11,400 ล้านบาท ถือเป็นสถิติใหม่สูงสุดตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท โดยจะทยอยรับรู้รายได้ในปี 66-67
ทั้งนี้ บริษัทตั้งงบลงทุนจำนวน 300 ล้านบาท โดยจัดเตรียมซื้อเครื่องจักรเพื่อเป็นการเตรียมรองรับโครงการใหม่ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะด้าน รวมถึงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้, ยานพาหนะ และอื่น ๆ ในโครงการก่อสร้าง
อีกทั้ง บริษัทมีแผนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดมลพิษในเขตพื้นที่ก่อสร้าง โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาระบบยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างโดยเฉพาะงานก่อสร้างอุโมงค์ เพื่อลดต้นทุนการใช้เชื้อเพลิงขนส่ง และ ช่วยลดมลพิษในเขตพื้นที่ก่อสร้างอย่างยั่งยืน คาดว่าจะสามารถนำมาใช้ในพื้นที่ก่อสร้างช่วงไตรมาส 3/2566
“ภาพรวมอุตสาหกรรมก่อสร้างในปีนี้มีแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยการลงทุนโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก รวมไปถึงการลงทุนจากภาคเอกชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาภายหลังมาตรการล็อกดาวน์ที่มีความคลี่คลายในหลายพื้นที่ทั่วโลก อีกทั้งความต้องการย้ายฐานการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมจากต่างประเทศมายังประเทศไทย ส่งผลบวกกับทั้งอุตสาหกรรมและบริษัท โดยมั่นใจว่าในปีนี้จะสามารถสร้างผลการดำเนินงานที่ดีได้อย่างแน่นอน” นายชวลิต กล่าว
สำหรับสัดส่วนรายได้ของบริษัทแบ่งตามประเภทงาน ประกอบด้วย งานสร้างอุโมงค์ 55%, งานสร้างเขื่อนและระบบชลประทาน 13 %, งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 4%, งานท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน 15 %, และ งานอื่นๆ 13 % อาทิงานก่อสร้างถนน, งาน Slope Protection เป็นต้น โดยมีสัดส่วนรายได้ภายในประเทศ 96 % และ ต่างประเทศ 4%