จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : EP มั่นใจรายได้ปีนี้โตกว่า 50% ธุรกิจ “ไฟฟ้าในประเทศ-ตปท.” หนุน
26 กรกฎาคม 2566
CEO บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) มั่นใจผลงานปีนี้โตตามเป้า หลังธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ ขยายตัวตามแผน
กลางเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา แผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติฉบับที่ 8 (PDP 8) ปี 2564-2573 ของเวียดนาม ได้ประกาศออกมา ซึ่งมีเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็น 150,489 เมกะวัตต์ในปี 2573 โดยแผน PDP 8 ฉบับใหม่นี้ให้ความสำคัญการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้สอดรับกับการเข้าสู่ Net Zero ในปี 2593 ของเวียดนาม
ทั้งนี้ แผน PDP 8 มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากประเภทเชื้อเพลิงถ่านหิน 30,127 เมกะวัตต์, LNG to Power 22,400 เมกะวัตต์, ก๊าซฯ ในประเทศ 14,930 เมกะวัตต์, พลังงานน้ำ (Hydro Power) 29,346 เมกะวัตต์, พลังงานลมบนบก 21,800 เมกะวัตต์, พลังงานลมนอกชายฝั่ง 6,000 เมกะวัตต์, พลังงานแสงอาทิตย์ 12,836 เมกะวัตต์, นำเข้าไฟฟ้า 5,000 เมกะวัตต์, Hydroelectricity 2,400 เมกะวัตต์, แบตเตอรี่สำรอง 300 เมกะวัตต์, ไบโอแมสและขยะ 2,270 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าโคเจน 2,700 เมกะวัตต์ และพลังงานอื่นๆ ที่เหลือ
ซึ่งเบื้องต้นเวียดนามวางเป้าหมายในปี 2593 เวียดนามจะไม่มีการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินอีกต่อไป และโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯในประเทศและ LNG จะเปลี่ยนเป็นไฮโดรเจน ดังนั้นทิศทางการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของเวียดนามในอนาคต เป็นสิ่งที่ภาคเอกชนไทยต้องพิจารณาเงื่อนไขอย่างละเอียด เพื่อประกอบการตัดสินใจ
อย่างไรก็ตาม เมื่อแผน PDP 8 ประกาศออกมาทำให้ผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าของไทย ต่างเร่งศึกษาและเตรียมความพร้อมยื่นประมูลแข่งทันทีหากเวียดนามประกาศรับซื้อไฟฟ้า
สำหรับเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม ที่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2566 พบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามขยายตัว 4.14% ในไตรมาส 2/2566 (เม.ย.-มิ.ย.) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการขยายตัว 3.3% ในไตรมาส 1/2566 (ม.ค.-มี.ค.)
ทั้งนี้ GDP ของเวียดนามขยายตัว 8% ในปี 2565 หลังฟื้นตัวจากภาวะตกต่ำจากผลพวงของโรคโควิด-19 ระบาด โดยเวียดนามถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวเร็วที่สุดในเอเชีย
ซึ่งสำนักข่าวนิกเกอิเอเชียรายงานว่า เวียดนามได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ โดยธนาคารกลางเวียดนามมีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันเวียดนามยังวางแผนลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 10% เป็น 8% ติดต่อกัน 6 เดือนตั้งแต่เดือนก.ค.ปีนี้ เพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางธุรกิจและการบริโภค
เศรษฐกิจของเวียดนามที่ยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการประกาศแผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติฉบับที่ 8 (PDP 8) สนับสนุนให้ภาคเอกชนไทยยังคงขยายการลงทุนไปยังเวียดนาม โดยประธานกรรมการ บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) “ยุทธ ชินสุภัคกุล” ระบุว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม (วินด์ฟาร์ม) ขนาดกำลังการผลิตรวม 160 เมกะวัตต์ ในประเทศเวียดนามของบริษัท
ซึ่งประกอบด้วย โครงการในจังหวัด Gia Lai ขนาดกำลังผลิตรวม 100 เมกะวัตต์ และโครงการในจังหวัด Huong Linh ขนาดกำลังผลิตรวม 60 เมกะวัตต์ ปัจจุบันได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ทุกโครงการแล้ว มีความพร้อมที่จะสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ทันทีที่ได้รับการอนุมัติการเชื่อมต่อจากทาง EVN และคาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 66 เป็นต้นไป
ส่วนภาพรวมการดำเนินธุรกิจในปีนี้ บริษัทฯตั้งเป้ารายได้รวมปีนี้จะเติบโตมากกว่า 50% โดยเฉพาะธุรกิจโรงไฟฟ้าคาดว่าจะมีการเติบโตรายได้เพิ่มขึ้น 2 เท่า เนื่องจากจะมีรายได้จากโครงการโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ในพอร์ตลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการติดตั้ง Solar Rooftop, Solar farm และการขายไฟฟ้าให้เอกชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากในปีนี้อัตราค่าไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ความต้องการติดตั้งเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันบริษัทสามารถขายไฟฟ้าให้กับภาคเอกชนได้มากขึ้น
กลางเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา แผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติฉบับที่ 8 (PDP 8) ปี 2564-2573 ของเวียดนาม ได้ประกาศออกมา ซึ่งมีเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็น 150,489 เมกะวัตต์ในปี 2573 โดยแผน PDP 8 ฉบับใหม่นี้ให้ความสำคัญการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้สอดรับกับการเข้าสู่ Net Zero ในปี 2593 ของเวียดนาม
ทั้งนี้ แผน PDP 8 มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากประเภทเชื้อเพลิงถ่านหิน 30,127 เมกะวัตต์, LNG to Power 22,400 เมกะวัตต์, ก๊าซฯ ในประเทศ 14,930 เมกะวัตต์, พลังงานน้ำ (Hydro Power) 29,346 เมกะวัตต์, พลังงานลมบนบก 21,800 เมกะวัตต์, พลังงานลมนอกชายฝั่ง 6,000 เมกะวัตต์, พลังงานแสงอาทิตย์ 12,836 เมกะวัตต์, นำเข้าไฟฟ้า 5,000 เมกะวัตต์, Hydroelectricity 2,400 เมกะวัตต์, แบตเตอรี่สำรอง 300 เมกะวัตต์, ไบโอแมสและขยะ 2,270 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าโคเจน 2,700 เมกะวัตต์ และพลังงานอื่นๆ ที่เหลือ
ซึ่งเบื้องต้นเวียดนามวางเป้าหมายในปี 2593 เวียดนามจะไม่มีการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินอีกต่อไป และโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯในประเทศและ LNG จะเปลี่ยนเป็นไฮโดรเจน ดังนั้นทิศทางการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของเวียดนามในอนาคต เป็นสิ่งที่ภาคเอกชนไทยต้องพิจารณาเงื่อนไขอย่างละเอียด เพื่อประกอบการตัดสินใจ
อย่างไรก็ตาม เมื่อแผน PDP 8 ประกาศออกมาทำให้ผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าของไทย ต่างเร่งศึกษาและเตรียมความพร้อมยื่นประมูลแข่งทันทีหากเวียดนามประกาศรับซื้อไฟฟ้า
สำหรับเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม ที่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2566 พบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามขยายตัว 4.14% ในไตรมาส 2/2566 (เม.ย.-มิ.ย.) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการขยายตัว 3.3% ในไตรมาส 1/2566 (ม.ค.-มี.ค.)
ทั้งนี้ GDP ของเวียดนามขยายตัว 8% ในปี 2565 หลังฟื้นตัวจากภาวะตกต่ำจากผลพวงของโรคโควิด-19 ระบาด โดยเวียดนามถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวเร็วที่สุดในเอเชีย
ซึ่งสำนักข่าวนิกเกอิเอเชียรายงานว่า เวียดนามได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ โดยธนาคารกลางเวียดนามมีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันเวียดนามยังวางแผนลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 10% เป็น 8% ติดต่อกัน 6 เดือนตั้งแต่เดือนก.ค.ปีนี้ เพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางธุรกิจและการบริโภค
เศรษฐกิจของเวียดนามที่ยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการประกาศแผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติฉบับที่ 8 (PDP 8) สนับสนุนให้ภาคเอกชนไทยยังคงขยายการลงทุนไปยังเวียดนาม โดยประธานกรรมการ บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) “ยุทธ ชินสุภัคกุล” ระบุว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม (วินด์ฟาร์ม) ขนาดกำลังการผลิตรวม 160 เมกะวัตต์ ในประเทศเวียดนามของบริษัท
ซึ่งประกอบด้วย โครงการในจังหวัด Gia Lai ขนาดกำลังผลิตรวม 100 เมกะวัตต์ และโครงการในจังหวัด Huong Linh ขนาดกำลังผลิตรวม 60 เมกะวัตต์ ปัจจุบันได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ทุกโครงการแล้ว มีความพร้อมที่จะสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ทันทีที่ได้รับการอนุมัติการเชื่อมต่อจากทาง EVN และคาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 66 เป็นต้นไป
ส่วนภาพรวมการดำเนินธุรกิจในปีนี้ บริษัทฯตั้งเป้ารายได้รวมปีนี้จะเติบโตมากกว่า 50% โดยเฉพาะธุรกิจโรงไฟฟ้าคาดว่าจะมีการเติบโตรายได้เพิ่มขึ้น 2 เท่า เนื่องจากจะมีรายได้จากโครงการโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ในพอร์ตลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการติดตั้ง Solar Rooftop, Solar farm และการขายไฟฟ้าให้เอกชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากในปีนี้อัตราค่าไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ความต้องการติดตั้งเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันบริษัทสามารถขายไฟฟ้าให้กับภาคเอกชนได้มากขึ้น