ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของปี 2565 ดัชนีหุ้นไทยยังคงแกว่งตัวและพยายามรักษาฐานในระดับ 1,600 จุด ซึ่งหลายๆคนคาดหวังว่ามาตรการ"ช้อปดีมีคืน"อาจจะกลับมาช่วยให้บรรยากาศการลงทุนจะดูดีขึ้น
ทั้งนี้ บล.ทรีนีตี้ระบุว่า ฝ่ายวิจัยได้ทำการศึกษาเชิงประจักษ์ไปยังการประกาศใช้มาตรการ‘ช้อปดีมีคืน’ เมื่อช่วงปลายปี 2021-ต้นปี 2022 ที่ผ่านมา พบความน่าสนใจดังนี้
ในช่วงเดือนธันวาคมปี 2021 พบว่ากลุ่ม IT-related (COM7, SYNEX, IT) เป็นกลุ่มที่ถูกเก็งกำไรขึ้นมาก่อนเป็นกลุ่มแรก ก่อนหน้าที่มาตรการจะเริ่มบังคับใช้จริง โดยค่าเฉลี่ยของหุ้นในกลุ่มนี้จะให้ Return ที่ดีกว่า SET ในช่วง 1 เดือนก่อนหน้าที่มาตรการจะมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ COM7 เป็นหุ้นที่คาดว่าจะถูกนำ เข้าสู่ดัชนี SET50ในรอบถัดไป ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้มักจะปรับตัว Outperform ถึงช่วงก่อนหน้า วันมีผลบังคับใช้เท่านั้นอยู่แล้ว โดยสรุป แนะนำ ถือครอง COM7 ไปจนกระทั่งถึง สิ้นเดือนนี้แล้วขายทำกำไรออกมา
กลุ่ม Consumer staple ซึ่งขายสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็น และกลุ่มห้างสรรพสินค้า หรือ Department store พบว่า 2 กลุ่มนี้มักมีการปรับตัวคล้ายกัน กล่าวคือ ราคาหุ้นมักจะ Underperform ดัชนี SET ก่อนในช่วงแรก แต่จะเริ่มกลับมา Outperform ดัชนี SET ได้ นับตั้งแต่วันแรกของมาตรการดังกล่าวเป็นต้นไป โดยเฉพาะตัวที่เห็นได้ชัดอย่าง CRC, CPALL และ BJC ในกลุ่มนี้ มองตัวที่น่าสนใจที่สุดได้แก่ CPALL ที่จากการศึกษาของย้อนหลัง 7 ปีพบว่าเป็นตัวหุ้นที่มีความมั่นใจทางสถิติเกือบ 80% ว่าจะให้ผลตอบแทนช่วง 4 เดือนแรกของปีเป็นบวก
มาถึงกลุ่มสุดท้ายซึ่งได้แก่กลุ่ม Home improvement ซึ่งในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีความน่าสนใจตรงที่ราคาหุ้นทั้งกลุ่มมักปรับตัว Sideways นิ่งมากในช่วงก่อนและช่วงระหว่างมาตรการ แต่หลังจากมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลง พบว่าหุ้นกลุ่มนี้เริ่มมีการปรับขึ้นของราคาฉีกออกจากดัชนี SET อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า Earning visibility ของหุ้นกลุ่มนี้ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการ อาจใช้เวลาพิสูจน์นานกว่าหุ้นกลุ่มย่อยอื่นๆ หรืออาจเป็นไปได้ว่าด้วยธรรมชาติของหุ้นกลุ่มนี้มักปรับตัว Rally ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปี ในกลุ่มนี้ชอบ HMPRO และ DOHOME มากที่สุด เนื่องจากเป็นหุ้นที่มีความมั่นใจทางสถิติเกือบ 80% ว่าจะให้ผลตอบแทนช่วง 4 เดือนแรกของปีเป็นบวก
ภายหลังการขายในครั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดและเป็นกรรมการของบริษัทฯ ต่อไป โดยจะมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ คิดเป็นจำนวน 25% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทฯ (จากเดิม40% ของทุนจดทะเบียนชาระแล้วของบริษัทฯ) ทั้งนี้ โครงสร้างการบริหารจัดการ และนโยบายในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด และการขายหุ้นในครั้งนี้จะทำให้ฐานผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และผู้ถือหุ้นรายย่อย มีการกระจายตัวมากยิ่งขึ้น โดยมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 21% เป็น 36%
สำหรับการเคลื่อนไหวราคาหุ้น ONEE หลังจากมีการทำรายการดังกล่าว พบว่า ราคาหุ้นปรับตัวลดลงทันที โดยในวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ราคาหุ้นได้รับลดลงต่ำสุดที่ระดับ 8.30 บาท ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดในรอบ 1 ปี หรือตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564
ทั้งนี้ ปัจจุบัน "พญ.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ"มีการลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยถือครองหุ้น 3 บริษัท และมีมูลค่าพอร์ตลงทุนหุ้นรวม 2.9 หมื่นล้านบาท ดังนี้
หุ้น | จำนวน(หุ้น) | %การถือครอง |
BA | 136,300,000 | 6.49 |
BDMS | 807,377,610 | 5.08 |
ONEE | 596,500,000 | 25.04 |