จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : TIDLOR แนวโน้มเติบโตดี “เร่งปล่อยสินเชื่อ-ขยายสาขา”


15 สิงหาคม 2566
สถานการณ์การเมืองที่ชัดเจนและแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ส่งผลดีต่อรายได้และกำลังซื้อขายของประชาชน รวมทั้งบมจ. เงินติดล้อ (TIDLOR) ที่ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อและนายหน้าขายประกันภัย สอดคล้องกับมุมมองของโบรกเกอร์ที่ประสานเสียงแนะนำ “ซื้อ”

รายงานพิเศษ TIDLOR.jpg

บล.ดาโอ วิเคราะห์หุ้น บมจ. เงินติดล้อ (TIDLOR)  โดยคงคำแนะนำ “ซื้อ” และราคาเป้าหมาย 33.00 บาท อิง 2023E PBV ที่ 3.0x (-0.5 SD below average PBV) บริษัทรายงานกำไรสุทธิ 2Q23 ที่927 ล้านบาท (-6% YoY, -3% QoQ) เป็นไปตามที่ตลาดคาด โดยหดตัวจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทั้งค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย, ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ตามค่าโฆษณาที่สูงเป็นปกติฤดูกาล และค่าใช้จ่ายสำรองตาม NPL ที่ยังเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.54% 

เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2023E ที่ 3.8 พันล้านบาท ทรงตัว YoY ก่อนที่จะขยายตัวเด่นปี 2024E ที่ 4.7 พันล้านบาท (+22% YoY) ทั้งนี้เราประเมินกำไร 3Q23E จะกลับมาดีขึ้น YoY/QoQ จากที่หดตัวใน 2Q23 จากการกลับมาเร่งปล่อยสินเชื่อตามสถานการณ์การเมืองที่เริ่มชัดเจน และเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยเฉพาะหัวเมืองท่องเที่ยว รวมทั้งค่าใช้จ่ายสำรองที่เริ่มลดลง ตาม NPL ที่คาดว่าจะผ่านจุดสูงสุดในช่วงต้น 3Q23E

ราคาหุ้น underperform SET -6% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จากการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (SACA) และผลการดำเนินงาน 2Q23 ที่หดตัว  อย่างไรก็ตามเราแนะนำ “ซื้อ” จากผลการดำเนินงาน 2H23E ที่จะดีขึ้น ตามการเร่งปล่อยสินเชื่อ และขยายสาขา จากที่ชะลอตัว, เข้าสู่ช่วง high season ของธุรกิจประกัน รวมทั้งราคาหุ้นปัจจุบันยังเทรดต่ำที่เพียง 2023E PBV ที่ 2.0x (-1.5 SD)

ขณะที่บริษัท หลักทรัพย์ทรีนีตี้ จำกัด ระบุว่า  ในไตรมาส 2 TIDLOR มีกำไร 2Q66 อยู่ที่ 927 ล้านบาท -16.0% YoY, -2.9% QoQ   จาก

1) พอร์ตสินเชื่อ (Net Loan) อยู่ที่ 83,672 ล้านบาท +23.0% YoY, +5.0% QoQ กลับมาโตตามปกติ โดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยว อย่างกรุงเทพฯ กระบี่ และภูเก็ต โดยผลิตภัณฑ์ที่โตดียังมาจากบัตรติดล้อ

2) รายได้อื่นๆ อยู่ที่ 786 ล้านบาท +24.9% YoY, +1.0% QoQ โดยหลักมาจากค่าธรรมเนียมธุรกิจประกัน โดยเฉพาะจากช่องทางออนไลน์ และแพลตฟอร์มอารีเกเตอร์

3) cost of fund อยู่ที่ 2.81% (อยู่ที่ 2.40% ใน 2Q65 และ 2.71% ใน 1Q66) เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น และยังอยู่ใน guidance ของผู้บริหารที่คาดว่าจะอยู่ไม่เกิน 3.1% 

4) cost to income อยู่ที่ 55.3% (อยู่ที่ 54.7% ใน 2Q65 และ 53.7% ใน 1Q66) เพิ่มขึ้น YoY และ QoQ เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของธุรกิจและนายหน้าประกันภัย

5) NPL อยู่ที่ 1.54% (จาก 1.4% ใน 2Q65 และ 1.5% ใน 1Q66) เพิ่มขึ้น YoY และ QoQ ตามที่ผู้บริหารได้ guide เอาไว้อย่างไรก็ตาม ลูกหนี้ stage 2% อยู่ที่ 17.2% ลดลงจาก 19.4% ใน 2Q65 และ 17.8% ใน 1Q66 

6) ด้าน credit cost อยู่ที่ 3.15% (อยู่ที่ 1.7% ใน 2Q65 และ 3.1% ใน 2Q66) ยังอยู่ในเป้าหมายที่ผู้บริหารให้ไว้ที่ 3% - 3.5% เพิ่มขึ้นจากการ write-off และการตั้งสำรอง

7) Coverage ratio จะอยู่ที่ 266% ทรงตัว YoY และ QoQ (อยู่ที่ 270% ใน 2Q65 และ 270% ใน 1Q66) 

บล.ทรีนีตี้  จึงยังคงกำไรปี 2566 ที่ 3,939 ล้านบาท +8.21% YoY โดยกำไร 1H66 คิดเป็น 52% ของประมาณการกำไรทั้งปี เรายังมองว่าบริษัทจะสามารถเติบโตได้ตาม guideline ที่ผู้บริหารให้ไว้ในต้นปี และบริษัทยังมีอัพไซด์ จากนโยบายการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หรือการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากการจัดตั้งรัฐบาล  และยังคงแนะนํา “ซื้อ ” โดยให้ราคาเป้าหมายปี 66 ที่30 บาท (อิงวิธี Gordon Growth  Model ด้วย PBV ที่ 3 เท่า)  

ส่วนความเสี่ยงของธุรกิจที่ต้องติดตามได้แก่  : cost of fund ที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และการเพิ่มขึ้นขอ credit cost จากการตั้งสำรอง