Wealth Sharing
SBNEXT ผงาด! ผู้นำธุรกิจ Vending Machine รุกขยายตู้สินค้ากว่า 1.25 หมื่นตู้ ครอบคลุมทั่วประเทศ
16 สิงหาคม 2566
SBNEXT รุกจัดตั้งบริษัทย่อยใหม่ “เวนดิ้ง คอนเน็กซ์ เทค” เดินหน้าขยายธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) เต็มสูบ พร้อมผนึก 2 พันธมิตร “เอเชีย เวนดิ้ง แมชชีน โอเปอร์เรชั่น-เวนดิ้ง พลัส” เพิ่มตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติเป็นกว่า 1.25 หมื่นตู้ ครอบคลุมการให้บริการกว่า 47 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจ Vending Machine รับแผนปรับโครงสร้างธุรกิจ เชื่อม Ecosystem กลุ่มสบาย มั่นใจช่วยผลักดันรายได้โตกระฉูด
นายวรานนท์ คงปฏิมากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สบาย คอนเน็กซ์ เทค จำกัด (มหาชน) (SBNEXT) เปิดเผยว่าในช่วงไตรมาส 2/2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ เดินหน้าขยายธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) มาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของกลุ่มบริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SABUY
โดยการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ วันที่ 2 มิ.ย.2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทย่อย ภายใต้ชื่อ บริษัท เวนดิ้ง คอนเน็กซ์ เทค จำกัด (VDC) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 เพื่อดำเนินธุรกิจขายสินค้าทั่วไป และบริหารจัดการตู้จําหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) นอกจากนั้นยังได้มีมติอนุมัติดำเนินการเข้าซื้อทรัพย์สินเพื่อดำเนินธุรกิจขายสินค้าผ่านตู้ขายอัตโนมัติ จากบริษัท เอเชีย เวนดิ้ง แมชชีน โอเปอร์เรชั่น จํากัด (AOC) ผู้ดำเนินธุรกิจขายสินค้าทั่วไป และบริหารจัดการตู้จําหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ภายใต้กลุ่มบริษัท โอสถสภา จํากัด (มหาชน) หรือ OSP เป็นมูลค่า 320 ล้านบาท
ปัจจุบัน AOC มีตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,522 ตู้ โดยแบ่งเป็นตู้จำหน่ายเครื่องดื่ม (Beverage Type) จำนวน 1,113 เครื่อง และตู้จำหน่ายสินค้าประเภทอาหาร (Light Meal & Snack Type) จำนวน 971 เครื่อง ซึ่งติดตั้งดำเนินการแล้ว 2,084 ตู้ใน 9 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง เช่น สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง ปทุมธานี และอยุธยา เป็นต้น ส่วนที่เหลือตั้งอยู่ในคลังตู้ในสภาพพร้อมใช้งาน
ขณะที่ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในวันที่ 14 สิงหาคม 2566 มีมติอนุมัติการเข้าลงทุนในหุ้นสามัญของ บริษัท เวนดิ้ง พลัส จํากัด (VDP) จำนวนไม่เกิน 255,000 หุ้น หรือคิดเป็น 8.50% ของทุนจดทะเบียน โดยบริษัทฯจะชำระค่าตอบแทนจำนวนไม่เกิน 100,725,000 บาท หรือไม่เกินหุ้นละ 395 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ VDP ด้วยเงินสดทั้งจำนวน โดยคาดว่าจะเข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นกับผู้ถือหุ้นเดิมของ VDP ภายในเดือนกันยายน 2566 และคาดว่ารายการจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนตุลาคม 2566
ทั้งนี้ VDP ประกอบธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติภายใต้เครื่องหมายการค้า “เวนดิ้ง พลัส” โดยเป็นการให้บริการจําหน่ายสินค้าบริโภค (Food and Beverage) ต่างๆ เช่น นํ้าดื่ม นํ้าหวาน นํ้าผลไม้ กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกําลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเน้นการขายสินค้าในกลุ่มราคาประหยัด (Budget Brands) ซึ่งยังมีการขายสินค้าประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากสินค้า บริโภค เช่น หน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย และถุงยางอนามัย เป็นต้น
ปัจจุบัน VDP มีการจำหน่ายสินค้าครอบคลุมถึง 47 จังหวัด กว่า 10,000 ตู้ ทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้หลายระดับตามพื้นที่ที่ตั้งตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ซึ่งรวมถึงกลุ่มคนวัยทำงาน เช่น แรงงานในภาคอุตสาหกรรมตามโรงงานหรือนิคมอุตสาหกรรม พนักงานตามอาคารสำนักงาน ซึ่งต้องใช้เวลาเร่งรีบ และต้องการซื้อเครื่องดื่ม อาหารหรือขนมที่รวดเร็วกลุ่มวัยเรียน เช่น นักเรียน และนักศึกษา ตามสถานศึกษา และผู้พักอยู่ตามหอพัก เป็นต้น
“ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทฯ มีการขยายธุรกิจ Vending Machine อย่างต่อเนื่อง โดยการเข้าซื้อตู้จําหน่ายสินค้าอัตโนมัติจาก AOC และการเข้าซื้อหุ้น VDP จะทำให้บริษัทฯ มีจำนวนตู้ขายสินค้าอัตโนมัติเพิ่มขึ้น สามารถให้บริการครอบคลุมทั้งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง และสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกลุ่มสบาย ที่จะผลักดันให้ SBNEXT มุ่งสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจ Vending Machine เบอร์หนึ่งของเมืองไทย และเป็นการเชื่อมต่อ Ecosystem กลุ่มสบาย ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยผลักดันรายได้ของ SBNEXT เติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต” นายวรานนท์ กล่าว
นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ยังรับทราบแผนการปรับโครงสร้างกลุ่ม บมจ.สบาย เทคโนโลยี (SABUY) ซึ่งประกอบไปด้วย บมจ.สบาย เทคโนโลยี (SABUY) บมจ.พลัส เทคอินโนเวชั่น (PTECH) และ บมจ.สบาย คอนเน็กซ์ เทค (SBNEXT) ทั้ง 3 บริษัทเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทสบาย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจ Vending Machine ซึ่งดำเนินการโดย SBNEXT ทั้งนี้ SBNEXT จะเป็นบริษัทหลัก (Flagship Company) ของกลุ่มบริษัทสบาย เกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาช่องทางการจัด จําหน่าย การเข้าถึงลูกค้าเพื่อ เชื่อมต่อระหว่างกลุ่มบริษัท (Connext) เพื่อเสนอสินค้าและบริการที่มีความหลากหลาย เช่น ธุรกิจ Vending Machine ธุรกิจ ขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และ เครื่องกรองน้ำ เป็นต้น
สำหรับขั้นตอนดำเนินการนั้น กลุ่มบริษัทจะดำเนินการโอนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Connext เนื่องจากเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารและ พัฒนาช่องทางการจัดจําหน่าย ไปให้ SBNEXT เป็นผู้ดำเนินธุรกิจทั้งหมด เพื่อเป็นการเข้าถึงลูกค้าเพื่อเชื่อมต่อระหว่าง บริษัทฯ จะเริ่มจากธุรกิจที่มีความพร้อมในการปรับโครงสร้างก่อนคือกลุ่มธุรกิจ Vending Machine โดย SBNEXT จะดำเนินธุรกิจ Vending Machine ผ่านบริษัทย่อยสองบริษัทได้แก่ VDC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยร้อยละ 100 ดำเนินธุรกิจ Vending Machine ที่ได้ทำการซื้อธุรกิจต่อมาจาก AOC ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างกระบวนการรับโอนเพื่อเริ่มดำเนินธุรกิจต่อ และ VDP ทั้งนี้ SBNEXT จะมีการซื้อหุ้นส่วนที่เหลือของ VDP จาก PTECH และนายอานนท์ชัย วีรประวัติ ในอนาคตตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจ
นายวรานนท์ คงปฏิมากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สบาย คอนเน็กซ์ เทค จำกัด (มหาชน) (SBNEXT) เปิดเผยว่าในช่วงไตรมาส 2/2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ เดินหน้าขยายธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) มาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของกลุ่มบริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SABUY
โดยการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ วันที่ 2 มิ.ย.2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทย่อย ภายใต้ชื่อ บริษัท เวนดิ้ง คอนเน็กซ์ เทค จำกัด (VDC) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 เพื่อดำเนินธุรกิจขายสินค้าทั่วไป และบริหารจัดการตู้จําหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) นอกจากนั้นยังได้มีมติอนุมัติดำเนินการเข้าซื้อทรัพย์สินเพื่อดำเนินธุรกิจขายสินค้าผ่านตู้ขายอัตโนมัติ จากบริษัท เอเชีย เวนดิ้ง แมชชีน โอเปอร์เรชั่น จํากัด (AOC) ผู้ดำเนินธุรกิจขายสินค้าทั่วไป และบริหารจัดการตู้จําหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ภายใต้กลุ่มบริษัท โอสถสภา จํากัด (มหาชน) หรือ OSP เป็นมูลค่า 320 ล้านบาท
ปัจจุบัน AOC มีตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,522 ตู้ โดยแบ่งเป็นตู้จำหน่ายเครื่องดื่ม (Beverage Type) จำนวน 1,113 เครื่อง และตู้จำหน่ายสินค้าประเภทอาหาร (Light Meal & Snack Type) จำนวน 971 เครื่อง ซึ่งติดตั้งดำเนินการแล้ว 2,084 ตู้ใน 9 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง เช่น สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง ปทุมธานี และอยุธยา เป็นต้น ส่วนที่เหลือตั้งอยู่ในคลังตู้ในสภาพพร้อมใช้งาน
ขณะที่ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในวันที่ 14 สิงหาคม 2566 มีมติอนุมัติการเข้าลงทุนในหุ้นสามัญของ บริษัท เวนดิ้ง พลัส จํากัด (VDP) จำนวนไม่เกิน 255,000 หุ้น หรือคิดเป็น 8.50% ของทุนจดทะเบียน โดยบริษัทฯจะชำระค่าตอบแทนจำนวนไม่เกิน 100,725,000 บาท หรือไม่เกินหุ้นละ 395 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ VDP ด้วยเงินสดทั้งจำนวน โดยคาดว่าจะเข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นกับผู้ถือหุ้นเดิมของ VDP ภายในเดือนกันยายน 2566 และคาดว่ารายการจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนตุลาคม 2566
ทั้งนี้ VDP ประกอบธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติภายใต้เครื่องหมายการค้า “เวนดิ้ง พลัส” โดยเป็นการให้บริการจําหน่ายสินค้าบริโภค (Food and Beverage) ต่างๆ เช่น นํ้าดื่ม นํ้าหวาน นํ้าผลไม้ กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกําลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเน้นการขายสินค้าในกลุ่มราคาประหยัด (Budget Brands) ซึ่งยังมีการขายสินค้าประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากสินค้า บริโภค เช่น หน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย และถุงยางอนามัย เป็นต้น
ปัจจุบัน VDP มีการจำหน่ายสินค้าครอบคลุมถึง 47 จังหวัด กว่า 10,000 ตู้ ทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้หลายระดับตามพื้นที่ที่ตั้งตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ซึ่งรวมถึงกลุ่มคนวัยทำงาน เช่น แรงงานในภาคอุตสาหกรรมตามโรงงานหรือนิคมอุตสาหกรรม พนักงานตามอาคารสำนักงาน ซึ่งต้องใช้เวลาเร่งรีบ และต้องการซื้อเครื่องดื่ม อาหารหรือขนมที่รวดเร็วกลุ่มวัยเรียน เช่น นักเรียน และนักศึกษา ตามสถานศึกษา และผู้พักอยู่ตามหอพัก เป็นต้น
“ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทฯ มีการขยายธุรกิจ Vending Machine อย่างต่อเนื่อง โดยการเข้าซื้อตู้จําหน่ายสินค้าอัตโนมัติจาก AOC และการเข้าซื้อหุ้น VDP จะทำให้บริษัทฯ มีจำนวนตู้ขายสินค้าอัตโนมัติเพิ่มขึ้น สามารถให้บริการครอบคลุมทั้งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง และสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกลุ่มสบาย ที่จะผลักดันให้ SBNEXT มุ่งสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจ Vending Machine เบอร์หนึ่งของเมืองไทย และเป็นการเชื่อมต่อ Ecosystem กลุ่มสบาย ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยผลักดันรายได้ของ SBNEXT เติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต” นายวรานนท์ กล่าว
นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ยังรับทราบแผนการปรับโครงสร้างกลุ่ม บมจ.สบาย เทคโนโลยี (SABUY) ซึ่งประกอบไปด้วย บมจ.สบาย เทคโนโลยี (SABUY) บมจ.พลัส เทคอินโนเวชั่น (PTECH) และ บมจ.สบาย คอนเน็กซ์ เทค (SBNEXT) ทั้ง 3 บริษัทเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทสบาย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจ Vending Machine ซึ่งดำเนินการโดย SBNEXT ทั้งนี้ SBNEXT จะเป็นบริษัทหลัก (Flagship Company) ของกลุ่มบริษัทสบาย เกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาช่องทางการจัด จําหน่าย การเข้าถึงลูกค้าเพื่อ เชื่อมต่อระหว่างกลุ่มบริษัท (Connext) เพื่อเสนอสินค้าและบริการที่มีความหลากหลาย เช่น ธุรกิจ Vending Machine ธุรกิจ ขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และ เครื่องกรองน้ำ เป็นต้น
สำหรับขั้นตอนดำเนินการนั้น กลุ่มบริษัทจะดำเนินการโอนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Connext เนื่องจากเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารและ พัฒนาช่องทางการจัดจําหน่าย ไปให้ SBNEXT เป็นผู้ดำเนินธุรกิจทั้งหมด เพื่อเป็นการเข้าถึงลูกค้าเพื่อเชื่อมต่อระหว่าง บริษัทฯ จะเริ่มจากธุรกิจที่มีความพร้อมในการปรับโครงสร้างก่อนคือกลุ่มธุรกิจ Vending Machine โดย SBNEXT จะดำเนินธุรกิจ Vending Machine ผ่านบริษัทย่อยสองบริษัทได้แก่ VDC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยร้อยละ 100 ดำเนินธุรกิจ Vending Machine ที่ได้ทำการซื้อธุรกิจต่อมาจาก AOC ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างกระบวนการรับโอนเพื่อเริ่มดำเนินธุรกิจต่อ และ VDP ทั้งนี้ SBNEXT จะมีการซื้อหุ้นส่วนที่เหลือของ VDP จาก PTECH และนายอานนท์ชัย วีรประวัติ ในอนาคตตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจ