ตลาดเนื้อไก่และเนื้อหมูกลับมาเติบโตต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย หนุนผลงาน บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) ผู้ผลิตอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตรครบวงจร โบรกเกอร์แนะ “ซื้อ” ระบุมูลค่าหุ้นราคาถูก มี Upside สูงถึง 39% และจ่ายปันผลถึง 5%
บล.ฟินันเซีย ไซรัส วิเคราะห์หุ้น บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) TFG โดยระบุว่า บริษัทเป็นหนึ่งในสามผู้ผลิตไก่และหมูชั้นนำของไทย
โดย TFG ประกอบธุรกิจผลิตอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตรครบวงจร บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านการผลิตไก่และหมูโดยมีการดำเนินงานในประเทศไทยและเวียดนาม ในปี 2020 TFG ขยายธุรกิจในตลาดในประเทศผ่านร้านค้าปลีกภายใต้ชื่อ Thai Foods Fresh Market ในช่วง 9M22 สัดส่วนของรายได้ที่ได้จากธุรกิจสัตว์ปีก หมู อาหารสัตว์ ร้านค้าปลีกและอื่น ๆ อยู่ที่ 45.8%/24.4%/16.4%/13.4% ตามลำดับ
คาดกำไรสุทธิ 4Q22 จะโตดี y-y แต่ลดลงq-q
บริษัทคาดกำไรสุทธิ 4Q22 ที่ 1.43พัน ลบ. (-18% q-q, +475% y-y) ลดลง q-q ตามปัจจัยด้านฤดูกาล คาดกำไรโตสูง y-y จากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว เราคาดว่ารายได้รวมจะโตดีถึง 33% y-y มาจากราคาไก่และหมูที่ปรับขึ้น 25% y-y และ 35% y-y ตามลำดับ
นอกจากนี้เราคาดว่ารายได้จากร้านค้าปลีกจะโต 312% y-y เป็น 2.38 พัน ลบ. คิดเป็น 18.4% ของรายได้รวม (เทียบกับ 5.9% ใน 4Q21) หากกำไร 4Q22 ออกมาตามคาด กำไรสุทธิปี 2022 จะทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 5พัน ลบ. (+8.9x y-y) อย่างไรก็ดีเราคิดว่ากำไรอาจผ่านจุดสูงสุดแล้วในปี 2022
คาดกำไรปี 2023 จะสูงกว่าระดับก่อนโควิด
ผู้ประกอบการเลี้ยงหมูส่วนใหญ่คาดว่าโรคระบาด ASF จะบรรเทาลงในช่วง 1H23 ซึ่งน่าจะทำให้ราคาหมูลดลงในช่วง 2H23 เราคาดราคาหมูในประเทศปี 2023 ที่ 90 บาทต่อ กก. (-9% y-y) เมื่อราคาหมูลดลงตามคาด เราคิดว่าราคาไก่ก็จะลดลงตามในทิศทางเดียวกัน ด้วยเหตุดังกล่าว จึงคาดว่าราคาขายไก่เฉลี่ยของ TFG ในปี 2023 ที่ 49.7 บาทต่อ กก. (-15% y-y) เรามองธุรกิจร้านค้าปลีกเป็นบวก เนื่องจาก TFG ตั้งเป้าเปิดร้านใหม่ 150-200 สาขาในปี 2023 อย่างไรก็ดีมุมมองดังกล่าวอาจถูกลดทอนลงจากราคาเนื้อสัตว์ที่กำลังปรับตัวลดลง ในภาพรวมเราจึงคาดกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 3.63พัน ลบ. (-28% y-y) อย่างไรก็ดีกำไรดังกล่าวยังสูงกว่าระดับก่อนโควิดอยู่มาก
มูลค่าหุ้นไม่แพง
บริษัทแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 8 บาท ราคาดังกล่าวคิดเป็น 13.6x ของค่า 2023E P/E ใกล้เคียงกับผู้ประกอบการในประเทศ ราคาหุ้นปัจจุบันเทรดเพียง 9.8x ของค่า 2023E P/E ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต พร้อม Upside สูงถึง 39% นอกจากนี้เรายังคาดว่าบริษัทฯ จะจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นที่ 0.29 บาทสำหรับช่วง 2H22 คิดเป็นผลตอบแทนในรูปเงินปันผลที่ 5%
สำหรับภาพรวมของธุรกิจไก่ SCB EIC ระบุว่า การบริโภคเนื้อไก่ในประเทศของปี 66 ทั้งในส่วนเนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็ง และเนื้อไก่ปรุงสุกมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดอัตราการเติบโตที่ 2.9%YOY ตามการทยอยฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ความต้องการบริโภคจากภาคครัวเรือนและภาคบริการปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย รวมถึงปัจจัยหนุนจากการที่เนื้อไก่ถือเป็นอาหารประเภทโปรตีนที่มีความจำเป็น เนื่องจากมีราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ โดยเปรียบเทียบ จึงทำให้ครัวเรือนในทุกระดับรายได้สามารถเข้าถึงได้
ในส่วนของการส่งออกไก่ของไทย ก็มีแนวโน้มเติบโตดีเช่นเดียวกัน และเป็นการขยายตัวดีในเกือบทุกตลาดส่งออกหลัก โดยได้รับแรงหนุนสำคัญจากความต้องการบริโภคในตลาดโลกที่ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมทั้งอานิสงส์จากนโยบายเปิดประเทศ การทยอยรับรองมาตรฐานโรงงานส่งออกไก่ของไทย และการส่งออกเพื่อทดแทนคู่แข่งอย่างมาเลเซีย ที่ระงับการส่งออกไก่ชั่วคราวจากปัญหาขาดแคลนไก่ในประเทศ
ทั้งนี้ EIC ประเมินแนวโน้มมูลค่าการส่งออกไก่ของปี 66 คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องที่ราว 10.5%YOY ขณะที่ภาพรวมการส่งออกในระยะ Medium-term มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น สอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก
ส่วนผลผลิตไก่เนื้อของไทยในปี 66 มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 2%YOY ตามความต้องการบริโภค ที่คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นทั้งจากตลาดในประเทศและตลาดส่งออก สอดคล้องกับการทยอยฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ โดยคาดว่าไทยจะผลิตไก่เนื้อได้ในปริมาณราว 1,610 ล้านตัว
บล.ฟินันเซีย ไซรัส วิเคราะห์หุ้น บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) TFG โดยระบุว่า บริษัทเป็นหนึ่งในสามผู้ผลิตไก่และหมูชั้นนำของไทย
โดย TFG ประกอบธุรกิจผลิตอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตรครบวงจร บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านการผลิตไก่และหมูโดยมีการดำเนินงานในประเทศไทยและเวียดนาม ในปี 2020 TFG ขยายธุรกิจในตลาดในประเทศผ่านร้านค้าปลีกภายใต้ชื่อ Thai Foods Fresh Market ในช่วง 9M22 สัดส่วนของรายได้ที่ได้จากธุรกิจสัตว์ปีก หมู อาหารสัตว์ ร้านค้าปลีกและอื่น ๆ อยู่ที่ 45.8%/24.4%/16.4%/13.4% ตามลำดับ
คาดกำไรสุทธิ 4Q22 จะโตดี y-y แต่ลดลงq-q
บริษัทคาดกำไรสุทธิ 4Q22 ที่ 1.43พัน ลบ. (-18% q-q, +475% y-y) ลดลง q-q ตามปัจจัยด้านฤดูกาล คาดกำไรโตสูง y-y จากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว เราคาดว่ารายได้รวมจะโตดีถึง 33% y-y มาจากราคาไก่และหมูที่ปรับขึ้น 25% y-y และ 35% y-y ตามลำดับ
นอกจากนี้เราคาดว่ารายได้จากร้านค้าปลีกจะโต 312% y-y เป็น 2.38 พัน ลบ. คิดเป็น 18.4% ของรายได้รวม (เทียบกับ 5.9% ใน 4Q21) หากกำไร 4Q22 ออกมาตามคาด กำไรสุทธิปี 2022 จะทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 5พัน ลบ. (+8.9x y-y) อย่างไรก็ดีเราคิดว่ากำไรอาจผ่านจุดสูงสุดแล้วในปี 2022
คาดกำไรปี 2023 จะสูงกว่าระดับก่อนโควิด
ผู้ประกอบการเลี้ยงหมูส่วนใหญ่คาดว่าโรคระบาด ASF จะบรรเทาลงในช่วง 1H23 ซึ่งน่าจะทำให้ราคาหมูลดลงในช่วง 2H23 เราคาดราคาหมูในประเทศปี 2023 ที่ 90 บาทต่อ กก. (-9% y-y) เมื่อราคาหมูลดลงตามคาด เราคิดว่าราคาไก่ก็จะลดลงตามในทิศทางเดียวกัน ด้วยเหตุดังกล่าว จึงคาดว่าราคาขายไก่เฉลี่ยของ TFG ในปี 2023 ที่ 49.7 บาทต่อ กก. (-15% y-y) เรามองธุรกิจร้านค้าปลีกเป็นบวก เนื่องจาก TFG ตั้งเป้าเปิดร้านใหม่ 150-200 สาขาในปี 2023 อย่างไรก็ดีมุมมองดังกล่าวอาจถูกลดทอนลงจากราคาเนื้อสัตว์ที่กำลังปรับตัวลดลง ในภาพรวมเราจึงคาดกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 3.63พัน ลบ. (-28% y-y) อย่างไรก็ดีกำไรดังกล่าวยังสูงกว่าระดับก่อนโควิดอยู่มาก
มูลค่าหุ้นไม่แพง
บริษัทแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 8 บาท ราคาดังกล่าวคิดเป็น 13.6x ของค่า 2023E P/E ใกล้เคียงกับผู้ประกอบการในประเทศ ราคาหุ้นปัจจุบันเทรดเพียง 9.8x ของค่า 2023E P/E ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต พร้อม Upside สูงถึง 39% นอกจากนี้เรายังคาดว่าบริษัทฯ จะจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นที่ 0.29 บาทสำหรับช่วง 2H22 คิดเป็นผลตอบแทนในรูปเงินปันผลที่ 5%
สำหรับภาพรวมของธุรกิจไก่ SCB EIC ระบุว่า การบริโภคเนื้อไก่ในประเทศของปี 66 ทั้งในส่วนเนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็ง และเนื้อไก่ปรุงสุกมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดอัตราการเติบโตที่ 2.9%YOY ตามการทยอยฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ความต้องการบริโภคจากภาคครัวเรือนและภาคบริการปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย รวมถึงปัจจัยหนุนจากการที่เนื้อไก่ถือเป็นอาหารประเภทโปรตีนที่มีความจำเป็น เนื่องจากมีราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ โดยเปรียบเทียบ จึงทำให้ครัวเรือนในทุกระดับรายได้สามารถเข้าถึงได้
ในส่วนของการส่งออกไก่ของไทย ก็มีแนวโน้มเติบโตดีเช่นเดียวกัน และเป็นการขยายตัวดีในเกือบทุกตลาดส่งออกหลัก โดยได้รับแรงหนุนสำคัญจากความต้องการบริโภคในตลาดโลกที่ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมทั้งอานิสงส์จากนโยบายเปิดประเทศ การทยอยรับรองมาตรฐานโรงงานส่งออกไก่ของไทย และการส่งออกเพื่อทดแทนคู่แข่งอย่างมาเลเซีย ที่ระงับการส่งออกไก่ชั่วคราวจากปัญหาขาดแคลนไก่ในประเทศ
ทั้งนี้ EIC ประเมินแนวโน้มมูลค่าการส่งออกไก่ของปี 66 คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องที่ราว 10.5%YOY ขณะที่ภาพรวมการส่งออกในระยะ Medium-term มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น สอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก
ส่วนผลผลิตไก่เนื้อของไทยในปี 66 มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 2%YOY ตามความต้องการบริโภค ที่คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นทั้งจากตลาดในประเทศและตลาดส่งออก สอดคล้องกับการทยอยฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ โดยคาดว่าไทยจะผลิตไก่เนื้อได้ในปริมาณราว 1,610 ล้านตัว