Wealth Sharing
ASIAN แย้มครึ่งปีหลัง เริ่มเห็นสัญญาณบวก ควักจ่ายปันผลระหว่างกาล0.08บ./หุ้น
22 สิงหาคม 2566
บมจ. เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น หรือ ASIAN เผยผลงานไตรมาส 2 และครึ่งปีแรก 2566 มีความท้าทาย เหตุธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและอาหารแช่เยือกแข็งยังคงกระทบปัญหาสต็อกสินค้า และจากกำลังซื้อผู้บริโภคในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และยุโรปฟื้นต้วช้ากว่าคาด ครึ่งปีหลังมีมุมมองบวกจากธุรกิจอาหารทะเลแช่เยือกแข็งที่มีแนวโน้มดีขึ้น ลุยปรับแผนตามสถานการณ์ เน้นรักษาอัตรากำไรขั้นต้นระดับ 10-11% พร้อมย้ำฐานะการเงินแข็งแรง ด้านบอร์ด มีมติจ่ายปันผลระหว่างกาล 0.08 บาท
นายเอกกมล ประสพผลสุจริต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน บริษัท เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASIAN ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารสัตว์น้ำ ทูน่า และอาหารสัตว์เลี้ยงภายใต้เครื่องหมายการค้าของลูกค้าและของตนเอง เปิดเผย ผลประกอบการไตรมาส 2/2566 มีรายได้ 2,338 ล้านบาท ลดลง 16.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 2,810 ล้านบาท เนื่องจากธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็งมียอดขายต่ำกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลต่อผลประกอบการโดยรวมของกลุ่ม ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 16 ล้านบาท ลดลง 94 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 264 ล้านบาท ผลมาจากยอดขายที่ลดลง
สำหรับผลประกอบการครึ่งปีแรก 2566 บริษัทฯมีรายได้อยู่ที่ 4,610 ล้านบาท ลดลง 18.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 5,647 ล้านบาท สาเหตุหลักจากปริมาณการขายอาหารทะเลแช่เยือกแข็งและอาหารสัตว์ที่ลดลงไป 41% และ 28% ตามลำดับ โดยปริมาณการขายอาหารทะเลแช่เยือกแข็งอยู่ที่ 4,369 ตัน และอาหารสัตว์อยู่ที่ 14,081 ตัน แต่ยอดขายธุรกิจอาหารสัตว์น้ำฟื้นตัวจากปีที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญถึง 22% ซึ่งเป็นผลจากการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องและส่งผลให้มีความต้องการสินค้าของบริษัทเพิ่มมากขึ้น ขณะที่กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ครึ่งปีแรก 2566 อยู่ที่ 66 ล้านบาท ลดลง 87% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 513 ล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงมาอยู่ในระดับ 10.3% จากเดิมอยู่ที่ 18.1% โดยมีกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.08 บาท/หุ้น ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 0.63 บาท/หุ้น
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลเป็นเงินสดจำนวน 65.13 ล้านบาท คิดเป็นอัตราหุ้นละ 0.08 บาท ในวันที่ 8 ก.ย. 2566 โดยกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินปันผลวันที่ 25 ส.ค. 2566 เพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้นที่เชื่อมั่นในศักยภาพธุรกิจและมั่นใจ แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารคนและสัตว์เลี้ยงในระยะยาวยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง
“ต้องยอมรับว่าการดำเนินธุรกิจช่วงครึ่งปีแรก 2566 มีความท้าทายหลายอย่างมาก ตั้งแต่การบริโภคที่ฟื้นตัวของตลาดหลักในสหรัฐและยุโรปยังน้อย ส่วนจีนเศรษฐกิจก็ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะอัตราดอกเบี้ยสูงต่อเนื่องซึ่งมีผลต่อต้นทุนทางการเงินในการทำธุรกิจ อีกทั้งต้นทุนการผลิตสินค้ายังเพิ่มสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มและค่าไฟฟ้าที่สูงซึ่งมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดโลก นอกจากนั้นภาคการเกษตรไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงจากภาวะเอลนีลโญ” นายเอกกมล กล่าว
อย่างไรก็ดี หากมองเป็นประเภทธุรกิจ ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงซึ่งมีสัดส่วนยอดขายสูงสุดในกลุ่ม ASIAN มีปริมาณการขาย 14,081 ตัน ลดลง 28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 19,669 ตัน ทำให้กระทบต่อรายได้หลักทั้งหมด จากสาเหตุคำสั่งซื้อที่สหรัฐและยุโรปลดลงเพราะปัญหาสินค้าล้นสต็อกมาตั้งแต่ปลายปีก่อน อีกทั้งค่าเงินบาทแข็งค่า ทำให้คาดว่ายอดขายอาหารสัตว์ปี 2566 จะลดลง 24% หรือมียอดขาย 4,700 ล้านบาท แต่สำหรับแบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงของบริษัทเอง ได้แก่ Monchou, Hajiko และ Pro ถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเพราะยอดขายเติบโตขึ้นกว่า 10% แม้ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในไทยจะมีการแข่งขันทางกิจกรรมทางการตลาดที่รุนแรง และมีแบรนด์ใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้นก็ตาม
สำหรับธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็ง แม้การส่งออกจะดีขึ้นในไตรมาส 2 ทั้งสหรัฐ ยุโรป และอิตาลี แต่ยอดขายในประเทศลดลงจึงส่งผลต่อปริมาณการขายโดยรวมลดลงมาอยู่ที่ 2,483 ตัน ลดลง 31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3,603 ตัน ประกอบกับยังมีปัญหาการชะลอตัวเศรษฐกิจโลกและราคาพลังงานที่สูง ทำให้ปริมาณการส่งออกอาหารทะเลครึ่งปีแรกอยูที่ 4,369 ตัน ลดลง 41% จากช่วงเดียกันปีก่อน 7,409 ตัน จึงประเมินว่า การส่งออกอาหารทะเลแช่เยือกแข็งปี 2566 จะลดลง 15-16% จากปี 2565
ขณะที่ธุรกิจอาหารสัตว์น้ำจากที่บริษัทฯ มีการปรับปรุงคุณภาพอาหารกุ้งมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีก่อน ทำให้ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมากขึ้น แม้ว่าสถานการณ์การผลิตและปริมาณกุ้งทั่วโลกยังกดดันราคากุ้ง โดยเอกวาดอร์เพิ่มการผลิตและหลายประเทศเริ่มต้นฤดูกาลจับกุ้งพร้อมกันทำให้ปริมาณกุ้งมีสูงขึ้น ทำให้มีการชะลอการนำเข้ากุ้งในประเทศต่างๆ และเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจทำให้ต้นทุนวัตถุดิบปรับสูงขึ้น แต่ความต้องการอาหารกุ้งของบริษัทกลับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ครึ่งปีแรกปีนี้มีปริมาณขายอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นเป็น 16,762 ตัน หรือ เพิ่มขึ้น 22 % จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 13,688 ตัน
ด้านธุรกิจทูน่าแม้ช่วงไตรมาส 2 ปริมาณขายลดลง แต่รายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการปรับราคาขายตามต้นทุนราคาของปลาทูน่าที่สูงขึ้นและคาดว่าราคาทูน่ายังทรงตัวระดับสูงไปตลอดทั้งปี เพราะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและทำให้จับทูน่าได้น้อยลง ทั้งนี้ตลาดหลักคือกลุ่มตะวันออกกลางยังคงมีความต้องการสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดตะวันออกกลางถือว่าเป็นตลาดหลักที่มีสัดส่วนถึง 64% จากยอดขายทูน่าทั้งหมด
นายเอกกมล กล่าวต่อว่า บริษัทฯ ได้มีการทบทวนเป้าหมายปี 2566 จากผลการดำเนินงานครึ่งปี 2566 จึงได้ปรับเป้าหมายรายได้ปีนี้เติบโตลดลง 11% จากปีที่ผ่านมา และบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถทำอัตรากำไรขั้นต้นให้อยู่ที่ระดับ 10-11 %
“สาเหตุที่ปรับเป้าการดำเนินงานปีนี้ เพราะคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังตลาดในกลุ่มประเทศหลักอย่างสหรัฐและยุโรปจะยังซบเซาต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อยังสูงและอัตราดอกเบี้ยแนวโน้มปรับขึ้นซึ่งมีผลต่อห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก รวมถึงความไม่แน่นอนทางภูมิศาสตร์การเมืองในยุโรปที่เกิดจากความขัดแย้งต่อเนื่องระหว่างรัสเซียและยูเครน แต่บริษัทมีมุมมองบวกต่อธุรกิจอาหารทะเลแช่เยือกแข็งจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากเริ่มเห็นการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคดีขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งอาจส่งผลให้มีคำสั่งสินค้ากลุ่มมูลค่าเพิ่ม (VAP) กลับเข้าสู่ระดับปกติได้” นายเอกกมลกล่าวเพิ่มเติม
นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้ปรับแผนงานการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยลดงบลงทุนปีนี้ มาอยู่ที่ 671 ล้านบาท โดยเลื่อนโครงการที่ยังไม่อยู่ในลำดับความสำคัญออกไปก่อน คาดว่าทั้งปีนี้จะจัดสรรงบลงทุนแบ่งเป็น เพื่อขยายกำลังการผลิตของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียกและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตจำนวน 473 ล้านบาท ใช้ขยายการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเม็ดและเปลี่ยนหม้อต้มไอน้า (Boiler) จำนวน 54 ล้านบาท และเพื่อโครงการติดตั้ง Solar Roof และปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานในธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็งจำนวน 144 ล้านบาท
นายเอกกมล ประสพผลสุจริต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน บริษัท เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASIAN ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารสัตว์น้ำ ทูน่า และอาหารสัตว์เลี้ยงภายใต้เครื่องหมายการค้าของลูกค้าและของตนเอง เปิดเผย ผลประกอบการไตรมาส 2/2566 มีรายได้ 2,338 ล้านบาท ลดลง 16.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 2,810 ล้านบาท เนื่องจากธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็งมียอดขายต่ำกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลต่อผลประกอบการโดยรวมของกลุ่ม ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 16 ล้านบาท ลดลง 94 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 264 ล้านบาท ผลมาจากยอดขายที่ลดลง
สำหรับผลประกอบการครึ่งปีแรก 2566 บริษัทฯมีรายได้อยู่ที่ 4,610 ล้านบาท ลดลง 18.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 5,647 ล้านบาท สาเหตุหลักจากปริมาณการขายอาหารทะเลแช่เยือกแข็งและอาหารสัตว์ที่ลดลงไป 41% และ 28% ตามลำดับ โดยปริมาณการขายอาหารทะเลแช่เยือกแข็งอยู่ที่ 4,369 ตัน และอาหารสัตว์อยู่ที่ 14,081 ตัน แต่ยอดขายธุรกิจอาหารสัตว์น้ำฟื้นตัวจากปีที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญถึง 22% ซึ่งเป็นผลจากการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องและส่งผลให้มีความต้องการสินค้าของบริษัทเพิ่มมากขึ้น ขณะที่กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ครึ่งปีแรก 2566 อยู่ที่ 66 ล้านบาท ลดลง 87% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 513 ล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงมาอยู่ในระดับ 10.3% จากเดิมอยู่ที่ 18.1% โดยมีกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.08 บาท/หุ้น ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 0.63 บาท/หุ้น
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลเป็นเงินสดจำนวน 65.13 ล้านบาท คิดเป็นอัตราหุ้นละ 0.08 บาท ในวันที่ 8 ก.ย. 2566 โดยกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินปันผลวันที่ 25 ส.ค. 2566 เพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้นที่เชื่อมั่นในศักยภาพธุรกิจและมั่นใจ แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารคนและสัตว์เลี้ยงในระยะยาวยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง
“ต้องยอมรับว่าการดำเนินธุรกิจช่วงครึ่งปีแรก 2566 มีความท้าทายหลายอย่างมาก ตั้งแต่การบริโภคที่ฟื้นตัวของตลาดหลักในสหรัฐและยุโรปยังน้อย ส่วนจีนเศรษฐกิจก็ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะอัตราดอกเบี้ยสูงต่อเนื่องซึ่งมีผลต่อต้นทุนทางการเงินในการทำธุรกิจ อีกทั้งต้นทุนการผลิตสินค้ายังเพิ่มสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มและค่าไฟฟ้าที่สูงซึ่งมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดโลก นอกจากนั้นภาคการเกษตรไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงจากภาวะเอลนีลโญ” นายเอกกมล กล่าว
อย่างไรก็ดี หากมองเป็นประเภทธุรกิจ ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงซึ่งมีสัดส่วนยอดขายสูงสุดในกลุ่ม ASIAN มีปริมาณการขาย 14,081 ตัน ลดลง 28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 19,669 ตัน ทำให้กระทบต่อรายได้หลักทั้งหมด จากสาเหตุคำสั่งซื้อที่สหรัฐและยุโรปลดลงเพราะปัญหาสินค้าล้นสต็อกมาตั้งแต่ปลายปีก่อน อีกทั้งค่าเงินบาทแข็งค่า ทำให้คาดว่ายอดขายอาหารสัตว์ปี 2566 จะลดลง 24% หรือมียอดขาย 4,700 ล้านบาท แต่สำหรับแบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงของบริษัทเอง ได้แก่ Monchou, Hajiko และ Pro ถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเพราะยอดขายเติบโตขึ้นกว่า 10% แม้ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในไทยจะมีการแข่งขันทางกิจกรรมทางการตลาดที่รุนแรง และมีแบรนด์ใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้นก็ตาม
สำหรับธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็ง แม้การส่งออกจะดีขึ้นในไตรมาส 2 ทั้งสหรัฐ ยุโรป และอิตาลี แต่ยอดขายในประเทศลดลงจึงส่งผลต่อปริมาณการขายโดยรวมลดลงมาอยู่ที่ 2,483 ตัน ลดลง 31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3,603 ตัน ประกอบกับยังมีปัญหาการชะลอตัวเศรษฐกิจโลกและราคาพลังงานที่สูง ทำให้ปริมาณการส่งออกอาหารทะเลครึ่งปีแรกอยูที่ 4,369 ตัน ลดลง 41% จากช่วงเดียกันปีก่อน 7,409 ตัน จึงประเมินว่า การส่งออกอาหารทะเลแช่เยือกแข็งปี 2566 จะลดลง 15-16% จากปี 2565
ขณะที่ธุรกิจอาหารสัตว์น้ำจากที่บริษัทฯ มีการปรับปรุงคุณภาพอาหารกุ้งมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีก่อน ทำให้ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมากขึ้น แม้ว่าสถานการณ์การผลิตและปริมาณกุ้งทั่วโลกยังกดดันราคากุ้ง โดยเอกวาดอร์เพิ่มการผลิตและหลายประเทศเริ่มต้นฤดูกาลจับกุ้งพร้อมกันทำให้ปริมาณกุ้งมีสูงขึ้น ทำให้มีการชะลอการนำเข้ากุ้งในประเทศต่างๆ และเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจทำให้ต้นทุนวัตถุดิบปรับสูงขึ้น แต่ความต้องการอาหารกุ้งของบริษัทกลับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ครึ่งปีแรกปีนี้มีปริมาณขายอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นเป็น 16,762 ตัน หรือ เพิ่มขึ้น 22 % จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 13,688 ตัน
ด้านธุรกิจทูน่าแม้ช่วงไตรมาส 2 ปริมาณขายลดลง แต่รายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการปรับราคาขายตามต้นทุนราคาของปลาทูน่าที่สูงขึ้นและคาดว่าราคาทูน่ายังทรงตัวระดับสูงไปตลอดทั้งปี เพราะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและทำให้จับทูน่าได้น้อยลง ทั้งนี้ตลาดหลักคือกลุ่มตะวันออกกลางยังคงมีความต้องการสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดตะวันออกกลางถือว่าเป็นตลาดหลักที่มีสัดส่วนถึง 64% จากยอดขายทูน่าทั้งหมด
นายเอกกมล กล่าวต่อว่า บริษัทฯ ได้มีการทบทวนเป้าหมายปี 2566 จากผลการดำเนินงานครึ่งปี 2566 จึงได้ปรับเป้าหมายรายได้ปีนี้เติบโตลดลง 11% จากปีที่ผ่านมา และบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถทำอัตรากำไรขั้นต้นให้อยู่ที่ระดับ 10-11 %
“สาเหตุที่ปรับเป้าการดำเนินงานปีนี้ เพราะคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังตลาดในกลุ่มประเทศหลักอย่างสหรัฐและยุโรปจะยังซบเซาต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อยังสูงและอัตราดอกเบี้ยแนวโน้มปรับขึ้นซึ่งมีผลต่อห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก รวมถึงความไม่แน่นอนทางภูมิศาสตร์การเมืองในยุโรปที่เกิดจากความขัดแย้งต่อเนื่องระหว่างรัสเซียและยูเครน แต่บริษัทมีมุมมองบวกต่อธุรกิจอาหารทะเลแช่เยือกแข็งจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากเริ่มเห็นการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคดีขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งอาจส่งผลให้มีคำสั่งสินค้ากลุ่มมูลค่าเพิ่ม (VAP) กลับเข้าสู่ระดับปกติได้” นายเอกกมลกล่าวเพิ่มเติม
นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้ปรับแผนงานการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยลดงบลงทุนปีนี้ มาอยู่ที่ 671 ล้านบาท โดยเลื่อนโครงการที่ยังไม่อยู่ในลำดับความสำคัญออกไปก่อน คาดว่าทั้งปีนี้จะจัดสรรงบลงทุนแบ่งเป็น เพื่อขยายกำลังการผลิตของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียกและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตจำนวน 473 ล้านบาท ใช้ขยายการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเม็ดและเปลี่ยนหม้อต้มไอน้า (Boiler) จำนวน 54 ล้านบาท และเพื่อโครงการติดตั้ง Solar Roof และปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานในธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็งจำนวน 144 ล้านบาท