บล.ดาโอ เผยแพร่บทวิเคราะห์ หุ้นที่ได้รับผลกระทบจากรัฐบาลใหม่ โดยฝ่ายวิจัยมองเป็นบวกต่อตลาดหุ้นไทย จากความคืบหน้าทางการเมืองและความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการผลักดันนโยบาย และขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการลงทุนและการบริโภค รวมถึงจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของการจับจ่ายใช้สอย, การลงทุนของเอกชนและต่างชาติมากขึ้น
หุ้นที่ คาดว่าจะมีโอกาส outperform SET มากสุด (คิดจากผลกระทบจากนโยบายรัฐบาลใหม่ และ price performance ในช่วงปีที่ผ่านมา เป็นหลัก) ได้แก่
1) CPAXT (ซื้อ/เป้า 40.00 บาท) วงเงินสินเชื่อจะเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำเป็น 25,000 บาท จากเดิม 15,000 บาท โดยปัจจุบันลูกหนี้ส่วนใหญ่จะมีเงินเดือนเฉลี่ยใกล้เคียงเงินเดือนขั้นต่ำ
2) AEONTS (ถือ/เป้า 185.00 บาท) วงเงินสินเชื่อจะเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำซึ่งรายได้ลูกหนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 15,000 บาท
3) CK (ซื้อ/เป้า 24.00 บาท) โดยชอบ CK มากกว่า STEC จาก 1) มี upside จากสายสีส้ม, 2)กระทบจากนโยบายขึ้นค่าแรงน้อยกว่า, และ 3) laggard กว่า STEC โดย STEC outperform CK +16% QTD
4) ONEE (ซื้อ/เป้า 6.00 บาท) ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจฟื้นตัว คาดมีการกระตุ้นการใช้จ่ายจากภาครัฐ ทำให้กลุ่ม FMCG เพิ่มงบโฆษณา อีกทั้ง ONEE ยังมีรายได้จากธุรกิจอื่น อาทิ events, บริหารศิลปิน ซึ่งฝ่ายวิจัยมองว่าจะขยายตัวตามรายได้ผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
5) AOT (ซื้อ/เป้า 84.00 บาท) ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว, มีโอกาสขอปรับเพิ่ม PSC
( + ) Sector/หุ้นที่เป็นบวกและจะ Outperform SET
1) กลุ่มค้าปลีก (CPAXT, CPALL, CRC, HMPRO) กำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจาก นโยบายกระเป๋าเงินดิจิตอล 10.000 บาท, ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนค่าพลังงานลด และนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น, สินค้าวัสดุก่อสร้าง (DOHOME, GLOBAL) กำลังซื้อเพิ่มขึ้น ลดภาระหนี้เกษตรกร งานภาครัฐ เอกชนกลับมา
2) กลุ่มไฟแนนซ์ (AEONTS, KTC, SAWAD, TIDLOR, MTC) สินเชื่อจะกลับมาเร่งตัว และ NPL ทยอยลดลง จากมาตรการ Digital Wallet และการเพิ่มค่าแรงหนุนต่อกำลังซื้อสูงขึ้น
3) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (CK, STEC, SEAFCO, PYLON) จากแนวโน้มโครงการลงทุนขนาดใหญ่มากขึ้น ขณะที่มาตรการทยอยปรับขึ้นค่าแรง มองว่าสามารถบริหารจัดการได้
4) กลุ่มสื่อ (ONEE, BEC, PLANB) คาดรัฐบาลจะออกนโยบายกระตุ้นการใช้จ่าย เม็ดเงินโฆษณาฟื้นตัว กลุ่ม FMCG ใช้งบโฆษณาเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย
5) กลุ่มท่องเที่ยว (AOT, ERW, AAV, CENTEL) ได้ประโยชน์จากนโยบายดันไทยเป็น “Festival Hub of Asia” ซึ่งช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มขึ้น, AOT มีโอกาสขอปรับเพิ่ม PSC และ AAV รัฐบาลชุดใหม่จะพิจารณามาตรการช่วยเหลือสายการบิน เช่น ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน
6) กลุ่มธนาคาร (BBL, SCB, KBANK) BBL ได้ประโยชน์จากสินเชื่อรายใหญ่กลับมาหลังจากจัดตั้งรัฐบาลเสร็จ ส่วน SCB, KBANK ได้ประโยชน์จากสินเชื่อกลุ่มท่องเที่ยวและ SME ที่จะฟื้นตัวได้ดี
7) กลุ่มโรงพยาบาล (BH, BDMS) ได้อานิสงส์จากการทำให้ไทยเป็น wellness destination ทำให้คนต่างชาติเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น
8) กลุ่มขนส่งภาคพื้นดิน (BEM, BTS) ได้ประโยชน์จากมาตรการรถไฟฟ้า 20 บาท ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่รัฐจะมี subsidy ซึ่งจะช่วยเพิ่ม ridership
9) กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (NEX, EA) จะได้ประโยชน์จากนโยบายเปลี่ยนรถโดยสารสาธารณะเป็นรถไฟฟ้า
10) กลุ่มเครื่องดื่มชูกำลัง (CBG, OSP) คาดความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นในกลุ่ม blue collar จากกิจกรรมรับเหมาที่เพิ่มขึ้น
หุ้นที่ คาดว่าจะมีโอกาส outperform SET มากสุด (คิดจากผลกระทบจากนโยบายรัฐบาลใหม่ และ price performance ในช่วงปีที่ผ่านมา เป็นหลัก) ได้แก่
1) CPAXT (ซื้อ/เป้า 40.00 บาท) วงเงินสินเชื่อจะเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำเป็น 25,000 บาท จากเดิม 15,000 บาท โดยปัจจุบันลูกหนี้ส่วนใหญ่จะมีเงินเดือนเฉลี่ยใกล้เคียงเงินเดือนขั้นต่ำ
2) AEONTS (ถือ/เป้า 185.00 บาท) วงเงินสินเชื่อจะเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำซึ่งรายได้ลูกหนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 15,000 บาท
3) CK (ซื้อ/เป้า 24.00 บาท) โดยชอบ CK มากกว่า STEC จาก 1) มี upside จากสายสีส้ม, 2)กระทบจากนโยบายขึ้นค่าแรงน้อยกว่า, และ 3) laggard กว่า STEC โดย STEC outperform CK +16% QTD
4) ONEE (ซื้อ/เป้า 6.00 บาท) ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจฟื้นตัว คาดมีการกระตุ้นการใช้จ่ายจากภาครัฐ ทำให้กลุ่ม FMCG เพิ่มงบโฆษณา อีกทั้ง ONEE ยังมีรายได้จากธุรกิจอื่น อาทิ events, บริหารศิลปิน ซึ่งฝ่ายวิจัยมองว่าจะขยายตัวตามรายได้ผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
5) AOT (ซื้อ/เป้า 84.00 บาท) ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว, มีโอกาสขอปรับเพิ่ม PSC
( + ) Sector/หุ้นที่เป็นบวกและจะ Outperform SET
1) กลุ่มค้าปลีก (CPAXT, CPALL, CRC, HMPRO) กำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจาก นโยบายกระเป๋าเงินดิจิตอล 10.000 บาท, ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนค่าพลังงานลด และนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น, สินค้าวัสดุก่อสร้าง (DOHOME, GLOBAL) กำลังซื้อเพิ่มขึ้น ลดภาระหนี้เกษตรกร งานภาครัฐ เอกชนกลับมา
2) กลุ่มไฟแนนซ์ (AEONTS, KTC, SAWAD, TIDLOR, MTC) สินเชื่อจะกลับมาเร่งตัว และ NPL ทยอยลดลง จากมาตรการ Digital Wallet และการเพิ่มค่าแรงหนุนต่อกำลังซื้อสูงขึ้น
3) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (CK, STEC, SEAFCO, PYLON) จากแนวโน้มโครงการลงทุนขนาดใหญ่มากขึ้น ขณะที่มาตรการทยอยปรับขึ้นค่าแรง มองว่าสามารถบริหารจัดการได้
4) กลุ่มสื่อ (ONEE, BEC, PLANB) คาดรัฐบาลจะออกนโยบายกระตุ้นการใช้จ่าย เม็ดเงินโฆษณาฟื้นตัว กลุ่ม FMCG ใช้งบโฆษณาเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย
5) กลุ่มท่องเที่ยว (AOT, ERW, AAV, CENTEL) ได้ประโยชน์จากนโยบายดันไทยเป็น “Festival Hub of Asia” ซึ่งช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มขึ้น, AOT มีโอกาสขอปรับเพิ่ม PSC และ AAV รัฐบาลชุดใหม่จะพิจารณามาตรการช่วยเหลือสายการบิน เช่น ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน
6) กลุ่มธนาคาร (BBL, SCB, KBANK) BBL ได้ประโยชน์จากสินเชื่อรายใหญ่กลับมาหลังจากจัดตั้งรัฐบาลเสร็จ ส่วน SCB, KBANK ได้ประโยชน์จากสินเชื่อกลุ่มท่องเที่ยวและ SME ที่จะฟื้นตัวได้ดี
7) กลุ่มโรงพยาบาล (BH, BDMS) ได้อานิสงส์จากการทำให้ไทยเป็น wellness destination ทำให้คนต่างชาติเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น
8) กลุ่มขนส่งภาคพื้นดิน (BEM, BTS) ได้ประโยชน์จากมาตรการรถไฟฟ้า 20 บาท ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่รัฐจะมี subsidy ซึ่งจะช่วยเพิ่ม ridership
9) กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (NEX, EA) จะได้ประโยชน์จากนโยบายเปลี่ยนรถโดยสารสาธารณะเป็นรถไฟฟ้า
10) กลุ่มเครื่องดื่มชูกำลัง (CBG, OSP) คาดความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นในกลุ่ม blue collar จากกิจกรรมรับเหมาที่เพิ่มขึ้น