บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อย่อหลักทรัพย์: CKP) หนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนชั้นนำของอาเซียน และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ชื่อย่อหลักทรัพย์: BEM) ผู้ให้บริการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ามหานครสองสายในกรุงเทพฯและทางด่วน ได้ลงนามในข้อตกลงที่จะนำไปสู่การใช้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ในการเดินรถขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าระบบรางครั้งแรกในประเทศไทยข้อตกลงดังกล่าวเป็นการผนึกความร่วมมือระหว่างสองบริษัทในการนำองค์ความรู้และทรัพย์สินเพื่อใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการเดินรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ซึ่งมีระยะทางกว่า 71 กิโลเมตร ให้บริการขนส่งมวลชน 54 สถานีทั่วกรุงเทพฯ
นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เป็นครั้งแรกที่มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อนระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทางรางของประเทศไทยในขอบเขตการทำงานขนาดใหญ่ เรารู้สึกภูมิใจที่เป็นรายแรกในประเทศไทยที่บุกเบิกนำไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน การร่วมมือกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพครั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยมีการใช้งานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น”
“สัญญาความร่วมมือนี้มีระยะเวลา 25 ปี โดยจะมีการผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนระบบรถไฟใต้ดินในปริมาณมหาศาลถึง 452 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือคิดเป็น 12% ของไฟฟ้าที่ประเมินว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินกับสายสีม่วงต้องใช้รวมกันทั้งหมด” นายธนวัฒน์กล่าว
ดร.สมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “บริษัทมุ่งมั่นสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานของไทยไปสู่พลังงานสะอาดและมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยเราบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608 ความร่วมมือกับซีเค พาวเวอร์ ในครั้งนี้ จะทำให้เราสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 300,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ และยังช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าให้กับเราอีกด้วย”
ดร.สมบัติกล่าวว่า ภายใต้ข้อตกลงนี้ พื้นที่ที่จะใช้รับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้ามีทั้งหมด 6 จุด ครอบคลุมพื้นที่กว่า 106,000 ตารางเมตร อาทิ หลังคาของศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า อาคารที่จอดรถ และอาคารสำนักงานของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง”
“โครงการนี้ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่สำคัญ ซึ่งทั้งสององค์กรกำลังศึกษาแผนงานในการก่อสร้างและต่อยอดจากความร่วมมือประวัติศาสตร์นี้ เพื่อที่จะเพิ่มสัดส่วนการนำพลังงานจากแหล่งหมุนเวียนมาใช้กับระบบขนส่งที่กำลังเติบโตขยายตัว และมีความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” ดร.สมบัติกล่าว
นายธนวัฒน์กล่าวว่า “ซีเค พาวเวอร์คือผู้บุกเบิกการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคด้วยองค์ความรู้เฉพาะทางที่ครบวงจร เราพร้อมนำความเชี่ยวชาญ ในการออกแบบด้านวิศวกรรม ติดตั้งและก่อสร้างระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ตลอดจนดูแลเรื่องความพร้อมในการจ่ายไฟและการบำรุงรักษาหลังการติดตั้งอย่างครบวงจร โดยคาดว่างานออกแบบจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2567 และจะเริ่มงานก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน”
โดยจะเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในเดือนสิงหาคม 2567 ให้กับรถไฟฟ้าทั้งสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง และจะทยอยส่งมอบจนเต็มระบบในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
นายธนวัฒน์กล่าวเสริมว่า “ความร่วมมือนี้ มีศักยภาพที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมที่ใช้พลังงานจากแหล่งหมุนเวียน” หากโครงการ ถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอื่นๆ จะหันมาดำเนินกลยุทธ์ในลักษณะเดียวกัน ดังเช่นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเยอรมัน ที่เป็นผู้ใช้พลังงานหมุนเวียน รายใหญ่ที่สุดของประเทศเยอรมนี
“โครงการเหล่านี้เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายระยะ 3 ปี ที่ทางซีเค พาวเวอร์ตั้งเป้าไว้ เมื่อต้นปี 2565 ที่จะขยายขนาดธุรกิจให้ใหญ่ขึ้นมากกว่าเท่าตัวภายในปี 2567 พร้อมกับเพิ่มกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าจาก 2,000 เมกะวัตต์เป็น 4,800 เมกะวัตต์ โดยกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดจะมาจากพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ พลังแสงอาทิตย์ พลังลม และพลังน้ำ โดยปัจจุบัน ซีเค พาวเวอร์ คือบริษัทที่มีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ 93% สูงที่สุดในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ของประเทศไทย” นายธนวัฒน์ กล่าวสรุป
นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เป็นครั้งแรกที่มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อนระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทางรางของประเทศไทยในขอบเขตการทำงานขนาดใหญ่ เรารู้สึกภูมิใจที่เป็นรายแรกในประเทศไทยที่บุกเบิกนำไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน การร่วมมือกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพครั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยมีการใช้งานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น”
“สัญญาความร่วมมือนี้มีระยะเวลา 25 ปี โดยจะมีการผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนระบบรถไฟใต้ดินในปริมาณมหาศาลถึง 452 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือคิดเป็น 12% ของไฟฟ้าที่ประเมินว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินกับสายสีม่วงต้องใช้รวมกันทั้งหมด” นายธนวัฒน์กล่าว
ดร.สมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “บริษัทมุ่งมั่นสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานของไทยไปสู่พลังงานสะอาดและมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยเราบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608 ความร่วมมือกับซีเค พาวเวอร์ ในครั้งนี้ จะทำให้เราสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 300,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ และยังช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าให้กับเราอีกด้วย”
ดร.สมบัติกล่าวว่า ภายใต้ข้อตกลงนี้ พื้นที่ที่จะใช้รับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้ามีทั้งหมด 6 จุด ครอบคลุมพื้นที่กว่า 106,000 ตารางเมตร อาทิ หลังคาของศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า อาคารที่จอดรถ และอาคารสำนักงานของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง”
“โครงการนี้ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่สำคัญ ซึ่งทั้งสององค์กรกำลังศึกษาแผนงานในการก่อสร้างและต่อยอดจากความร่วมมือประวัติศาสตร์นี้ เพื่อที่จะเพิ่มสัดส่วนการนำพลังงานจากแหล่งหมุนเวียนมาใช้กับระบบขนส่งที่กำลังเติบโตขยายตัว และมีความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” ดร.สมบัติกล่าว
นายธนวัฒน์กล่าวว่า “ซีเค พาวเวอร์คือผู้บุกเบิกการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคด้วยองค์ความรู้เฉพาะทางที่ครบวงจร เราพร้อมนำความเชี่ยวชาญ ในการออกแบบด้านวิศวกรรม ติดตั้งและก่อสร้างระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ตลอดจนดูแลเรื่องความพร้อมในการจ่ายไฟและการบำรุงรักษาหลังการติดตั้งอย่างครบวงจร โดยคาดว่างานออกแบบจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2567 และจะเริ่มงานก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน”
โดยจะเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในเดือนสิงหาคม 2567 ให้กับรถไฟฟ้าทั้งสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง และจะทยอยส่งมอบจนเต็มระบบในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
นายธนวัฒน์กล่าวเสริมว่า “ความร่วมมือนี้ มีศักยภาพที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมที่ใช้พลังงานจากแหล่งหมุนเวียน” หากโครงการ ถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอื่นๆ จะหันมาดำเนินกลยุทธ์ในลักษณะเดียวกัน ดังเช่นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเยอรมัน ที่เป็นผู้ใช้พลังงานหมุนเวียน รายใหญ่ที่สุดของประเทศเยอรมนี
“โครงการเหล่านี้เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายระยะ 3 ปี ที่ทางซีเค พาวเวอร์ตั้งเป้าไว้ เมื่อต้นปี 2565 ที่จะขยายขนาดธุรกิจให้ใหญ่ขึ้นมากกว่าเท่าตัวภายในปี 2567 พร้อมกับเพิ่มกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าจาก 2,000 เมกะวัตต์เป็น 4,800 เมกะวัตต์ โดยกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดจะมาจากพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ พลังแสงอาทิตย์ พลังลม และพลังน้ำ โดยปัจจุบัน ซีเค พาวเวอร์ คือบริษัทที่มีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ 93% สูงที่สุดในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ของประเทศไทย” นายธนวัฒน์ กล่าวสรุป