จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : ภาคธุรกิจไทยทุ่มงบลงทุนระบบ Cloud ผลักดันผลงาน INET โตแข็งแกร่ง
08 กันยายน 2566
การลงทุนด้าน Cloud และ Digital Platform เป็นสิ่งจำเป็นของภาคธุรกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันของบริษัทอย่างยั่งยืน สนับสนุนผลการดำเนินการ ของบมจ.อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) ที่ผู้บริหารมั่นใจปี 66 เติบโตตามเป้าหมาย
ผลสำรวจ "The Next-Generation Cloud Strategy in Asia" ซึ่งเป็นงานวิจัยอิสระที่อาลีบาบา คลาวด์ จัดทำขึ้น พบว่า ในภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทยเป็นผู้นำในการส่งเสริมการใช้ Cloud Solutions โดยธุรกิจไทยส่วนใหญ่ (95%) คาดว่าจะลงทุนด้านคลาวด์เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในตลาดอาเซียนที่ทำการสำรวจทั้ง 8 แห่ง ซึ่งรวมถึงอินโดนีเซีย (94%) ฟิลิปปินส์ (91%), เขตปกครองพิเศษฮ่องกง (83%) และสิงคโปร์ (83%)
และมีการคาดการณ์ว่า คลาวด์จะมีบทบาทมากขึ้นในตลาดไทย โดยประมาณครึ่งหนึ่งของธุรกิจไทยที่ตอบแบบสอบถาม วางแผนที่จะลงทุนด้านพับลิคคลาวด์ (49%) และไฮบริดคลาวด์ (55%) เพิ่มขึ้นในปี 2566 นี้องค์กรไทยกว่า 60% ที่ตอบแบบสำรวจได้ใช้บริการคลาวด์มาแล้วอย่างน้อยสามปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการใช้คลาวด์ในทุกธุรกิจ
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าอุตสาหกรรมไทยที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นดิจิทัล ได้แก่ บริการทางการเงินและการธนาคาร การค้าปลีก การศึกษา สื่อและเกม เป็นต้น แม้ว่าการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งจะมีประโยชน์หลายประการ ผลสำรวจพบว่ายังมีอุปสรรคที่ธุรกิจไทยต้องเผชิญ เช่น การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดในการใช้ทั้งพับลิคและไพรเวทคลาวด์ ส่วนอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นดิจิทัลและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ คือ ค่าใช้จ่ายสูง (36%) และขาดการสนับสนุนด้านเทคนิคเฉพาะทางของแต่ละอุตสาหกรรม (42%) แต่หากธุรกิจไทยก้าวข้ามความท้าทายเหล่านี้ได้
ซึ่งการโยกย้ายการดำเนินงานไปยังคลาวด์ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเพิ่มผลิตภาพ เร่งการทำดิจิทัลทรานฟอร์เมชัน และก้าวล้ำนำหน้าคู่แข่งได้คลาวด์คอมพิวติ้งกำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของธุรกิจไทยบริการคลาวด์ที่ใช้อย่างแพร่หลายได้พลิกโฉมรูปแบบการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
การเติบโตของธุรกิจไอซีทีในไทย สนับสนุนธุรกิจ บมจ.อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจรใน 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1. บริการ Cloud Solutions 2. บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Access ) 3. บริการ Co-Location
ซึ่งกรรมการผู้จัดการ “มรกต กุลธรรมโยธิน” เปิดเผยภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกปี 2566 บริษัทมีกำไรสุทธิ 74.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50%เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิ 49.68 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายและให้บริการ 1,000.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3%เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน มีรายได้จากการขายและให้บริการ 973.26 ล้านบาท
ปัจจัยที่สนับสนุนให้มีรายได้ และกำไรเพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทฯ สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้มีประสิทธิภาพและรายได้จากการขายและให้บริการCloud Service และ Digital Platform Service ยังคงมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนแผนการดำเนินธุรกิจที่เหลือของปี2566 บริษัทฯ มั่นใจว่า จะสามารถทำผลงานเติบโตได้ดี โดยยังคงดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทเข้าสู่ยุค Digital Transformation และปรับเปลี่ยนบทบาทจาก Cloud Service Provider เป็น Trusted Platform Service Provider มุ่งเน้นการลงทุนในบริการ Platform ต่าง ๆ เพื่อต่อยอดการขยายการใช้งานของบริการCloud
รวมถึงยังคงดำเนินการลงทุนในการพัฒนานวัตกรรม ผ่านการศึกษา วิจัยและพัฒนาของบุคลากรไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้าและการบริหารต้นทุนอย่างเป็นระบบ
ผลสำรวจ "The Next-Generation Cloud Strategy in Asia" ซึ่งเป็นงานวิจัยอิสระที่อาลีบาบา คลาวด์ จัดทำขึ้น พบว่า ในภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทยเป็นผู้นำในการส่งเสริมการใช้ Cloud Solutions โดยธุรกิจไทยส่วนใหญ่ (95%) คาดว่าจะลงทุนด้านคลาวด์เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในตลาดอาเซียนที่ทำการสำรวจทั้ง 8 แห่ง ซึ่งรวมถึงอินโดนีเซีย (94%) ฟิลิปปินส์ (91%), เขตปกครองพิเศษฮ่องกง (83%) และสิงคโปร์ (83%)
และมีการคาดการณ์ว่า คลาวด์จะมีบทบาทมากขึ้นในตลาดไทย โดยประมาณครึ่งหนึ่งของธุรกิจไทยที่ตอบแบบสอบถาม วางแผนที่จะลงทุนด้านพับลิคคลาวด์ (49%) และไฮบริดคลาวด์ (55%) เพิ่มขึ้นในปี 2566 นี้องค์กรไทยกว่า 60% ที่ตอบแบบสำรวจได้ใช้บริการคลาวด์มาแล้วอย่างน้อยสามปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการใช้คลาวด์ในทุกธุรกิจ
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าอุตสาหกรรมไทยที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นดิจิทัล ได้แก่ บริการทางการเงินและการธนาคาร การค้าปลีก การศึกษา สื่อและเกม เป็นต้น แม้ว่าการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งจะมีประโยชน์หลายประการ ผลสำรวจพบว่ายังมีอุปสรรคที่ธุรกิจไทยต้องเผชิญ เช่น การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดในการใช้ทั้งพับลิคและไพรเวทคลาวด์ ส่วนอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นดิจิทัลและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ คือ ค่าใช้จ่ายสูง (36%) และขาดการสนับสนุนด้านเทคนิคเฉพาะทางของแต่ละอุตสาหกรรม (42%) แต่หากธุรกิจไทยก้าวข้ามความท้าทายเหล่านี้ได้
ซึ่งการโยกย้ายการดำเนินงานไปยังคลาวด์ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเพิ่มผลิตภาพ เร่งการทำดิจิทัลทรานฟอร์เมชัน และก้าวล้ำนำหน้าคู่แข่งได้คลาวด์คอมพิวติ้งกำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของธุรกิจไทยบริการคลาวด์ที่ใช้อย่างแพร่หลายได้พลิกโฉมรูปแบบการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
การเติบโตของธุรกิจไอซีทีในไทย สนับสนุนธุรกิจ บมจ.อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจรใน 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1. บริการ Cloud Solutions 2. บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Access ) 3. บริการ Co-Location
ซึ่งกรรมการผู้จัดการ “มรกต กุลธรรมโยธิน” เปิดเผยภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกปี 2566 บริษัทมีกำไรสุทธิ 74.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50%เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิ 49.68 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายและให้บริการ 1,000.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3%เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน มีรายได้จากการขายและให้บริการ 973.26 ล้านบาท
ปัจจัยที่สนับสนุนให้มีรายได้ และกำไรเพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทฯ สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้มีประสิทธิภาพและรายได้จากการขายและให้บริการCloud Service และ Digital Platform Service ยังคงมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนแผนการดำเนินธุรกิจที่เหลือของปี2566 บริษัทฯ มั่นใจว่า จะสามารถทำผลงานเติบโตได้ดี โดยยังคงดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทเข้าสู่ยุค Digital Transformation และปรับเปลี่ยนบทบาทจาก Cloud Service Provider เป็น Trusted Platform Service Provider มุ่งเน้นการลงทุนในบริการ Platform ต่าง ๆ เพื่อต่อยอดการขยายการใช้งานของบริการCloud
รวมถึงยังคงดำเนินการลงทุนในการพัฒนานวัตกรรม ผ่านการศึกษา วิจัยและพัฒนาของบุคลากรไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้าและการบริหารต้นทุนอย่างเป็นระบบ