Wealth Sharing
ตลท.สรุปภาวะตลาดหุ้นไทย ส.ค. 66 วอลุ่มแผ่ว ค่า Forward P/E อยู่ที่ 17.4 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยเอเชีย อยู่ที่ 12.9 เท่า
11 กันยายน 2566
สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนสิงหาคม 2566
สุนทรพจน์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ในการประชุมวิชาการของ FED ที่เมือง Jackson Hole เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ส่งสัญญาณว่ายังคงยืนยันเป้าหมายเงินเฟ้อระยะยาวที่ 2% (จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.2%) ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ และตลาดแรงงานยังคงชะลอตัวช้ากว่าคาด ทำให้ผู้ลงทุนคาดว่าอาจเห็น FED คงดอกเบี้ยที่ 5.25 - 5.50% ไปจนถึงปลายปีนี้ อีกทั้งผู้ลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีบริษัทใหญ่บางแห่งในอุตสาหกรรมส่งสัญญาณว่ามีปัญหาด้านสภาพคล่อง ทำให้ sentiment ผู้ลงทุนโดยรวมในตลาดโลกอยู่ในเชิงลบ
นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แม้ว่าสภาพัฒน์ฯ รายงานเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2566 ขยายตัว 1.8% ชะลอลงจาก 2.6% ในไตรมาสก่อนหน้าโดยเป็นผลมาจากการส่งออกที่หดตัว อย่างไรก็ดี ในเดือนสิงหาคม 2566 หลังจากการจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2566 ส่งผลให้ SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 6 วันติดต่อกันอยู่ที่ 1,576.67 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2566 โดย SET Index ปรับลงไปจุดต่ำสุดที่ 1,466.93 จุด และหากพิจารณาจากอัตราส่วน Forward PE ของ SET Index ค่อนข้างต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ทำให้ผู้ลงทุนบุคคลและสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 7 เดือนต่อเนื่อง
ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย
• ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 SET Index ปิดที่ 1,565.94 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือนก่อนหน้าซึ่งเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับดัชนีหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค และปรับลดลง 6.2% เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อนหน้า
• ในเดือนสิงหาคมปี 2566 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่า SET Index เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2565 ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มการเงิน กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มบริการ
• ในเดือนสิงหาคม 2566 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน SET และ mai อยู่ที่ 58,579 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า 21.1% โดยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน 8 เดือนแรกปี 2566 อยู่ที่ 57,904 ล้านบาท ผู้ลงทุนต่างชาติขายสุทธิเป็นเดือนที่เจ็ด โดยในเดือนสิงหาคม 2566 ผู้ลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 14,755 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนต่างประเทศมีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสูงสุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16
• ในเดือนสิงหาคม 2566 มีบริษัทเข้าจดทะเบียนใหม่ซื้อขายใน SET 2 หลักทรัพย์ ได้แก่ บมจ.พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ (PSP) และ บมจ. เคซีจี คอร์ปอเรชั่น (KCG) และใน mai 1 หลักทรัพย์ ได้แก่ บมจ. ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ (I2)
• Forward P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 17.4 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 12.9 เท่า และ Historical P/E อยู่ที่ระดับ 23.8 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 13.4 เท่า
• อัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 2.99% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 3.55%
ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
• ในเดือนสิงหาคม 2566 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 528,209 สัญญา เพิ่มขึ้น 11.2% จากเดือนก่อน ที่สำคัญจากการเพิ่มขึ้นของ SET50 Index Futures และ Single Stock Futures และในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 544,291 สัญญา ลดลง 0.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญจากการลดลงของ Single Stock Futures
สุนทรพจน์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ในการประชุมวิชาการของ FED ที่เมือง Jackson Hole เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ส่งสัญญาณว่ายังคงยืนยันเป้าหมายเงินเฟ้อระยะยาวที่ 2% (จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.2%) ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ และตลาดแรงงานยังคงชะลอตัวช้ากว่าคาด ทำให้ผู้ลงทุนคาดว่าอาจเห็น FED คงดอกเบี้ยที่ 5.25 - 5.50% ไปจนถึงปลายปีนี้ อีกทั้งผู้ลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีบริษัทใหญ่บางแห่งในอุตสาหกรรมส่งสัญญาณว่ามีปัญหาด้านสภาพคล่อง ทำให้ sentiment ผู้ลงทุนโดยรวมในตลาดโลกอยู่ในเชิงลบ
นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แม้ว่าสภาพัฒน์ฯ รายงานเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2566 ขยายตัว 1.8% ชะลอลงจาก 2.6% ในไตรมาสก่อนหน้าโดยเป็นผลมาจากการส่งออกที่หดตัว อย่างไรก็ดี ในเดือนสิงหาคม 2566 หลังจากการจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2566 ส่งผลให้ SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 6 วันติดต่อกันอยู่ที่ 1,576.67 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2566 โดย SET Index ปรับลงไปจุดต่ำสุดที่ 1,466.93 จุด และหากพิจารณาจากอัตราส่วน Forward PE ของ SET Index ค่อนข้างต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ทำให้ผู้ลงทุนบุคคลและสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 7 เดือนต่อเนื่อง
ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย
• ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 SET Index ปิดที่ 1,565.94 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือนก่อนหน้าซึ่งเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับดัชนีหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค และปรับลดลง 6.2% เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อนหน้า
• ในเดือนสิงหาคมปี 2566 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่า SET Index เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2565 ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มการเงิน กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มบริการ
• ในเดือนสิงหาคม 2566 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน SET และ mai อยู่ที่ 58,579 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า 21.1% โดยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน 8 เดือนแรกปี 2566 อยู่ที่ 57,904 ล้านบาท ผู้ลงทุนต่างชาติขายสุทธิเป็นเดือนที่เจ็ด โดยในเดือนสิงหาคม 2566 ผู้ลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 14,755 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนต่างประเทศมีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสูงสุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16
• ในเดือนสิงหาคม 2566 มีบริษัทเข้าจดทะเบียนใหม่ซื้อขายใน SET 2 หลักทรัพย์ ได้แก่ บมจ.พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ (PSP) และ บมจ. เคซีจี คอร์ปอเรชั่น (KCG) และใน mai 1 หลักทรัพย์ ได้แก่ บมจ. ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ (I2)
• Forward P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 17.4 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 12.9 เท่า และ Historical P/E อยู่ที่ระดับ 23.8 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 13.4 เท่า
• อัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 2.99% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 3.55%
ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
• ในเดือนสิงหาคม 2566 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 528,209 สัญญา เพิ่มขึ้น 11.2% จากเดือนก่อน ที่สำคัญจากการเพิ่มขึ้นของ SET50 Index Futures และ Single Stock Futures และในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 544,291 สัญญา ลดลง 0.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญจากการลดลงของ Single Stock Futures