จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : OTO เกาะกระแสรักษ์โลก รุกธุรกิจ EV-สร้างการเติบโตที่ยั่งยืน


09 กุมภาพันธ์ 2566
กระแสการรักษ์โลก โดยการสนับสนุนใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นสิ่งที่มาแรงในปัจจุบัน สอดคล้องกับการขยายธุรกิจของบมจ.วันทูวัน คอนแทคส์ (OTO)  ไปในกลุ่มรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า  ซึ่งจะสร้างการเติบโตก้าวกระโดดและยั่งยืนให้กับบริษัท
รายงานพิเศษ OTO090223.jpg

การแตกไลน์ธุรกิจ เป็นการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนในอนาคตให้กับบริษัท  โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ทุกประเทศทั่วโลกสนับสนุนในเรื่องการรักษ์โลก และการลงทุนในธุรกิจที่ไม่ทำลายและทำร้ายโลก ซึ่งล่าสุด กรรมการบริษัท บมจ.วันทูวัน คอนแทคส์ (OTO) อนุมัติการขยายธุรกิจไปในกลุ่มรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า  

โดยประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “คณาวุฒิ วรรทนธีรัช” เชื่อมั่นว่าการขยายธุรกิจไปยังอุตสาหกรรม EV  ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน จะเป็น New S-curve ให้กับธุรกิจ และมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก เป็นการเพิ่มโอกาส และช่องทางการขยายฐานรายได้ของบริษัทฯ ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดปัญหามลภาวะและสภาวะโลกร้อน

ส่วนแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2566 คาดว่าบริษัทฯจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากแผนการลงทุนในธุรกิจใหม่ รวมทั้งธุรกิจ Call Center และ Contact Center ธุรกิจ E-Sport ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี ประกอบกับพอร์ตการลงทุนของบริษัทมีแนวโน้มผลประกอบการที่ดีเช่นกัน 

สำหรับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า  รัฐบาลให้การสนับสนุนมาตั้งแต่เดือนก.พ. 2565   โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการในการขอใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 65 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในวงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท ให้กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์
และในขณะนั้นยังได้เห็นชอบในหลักการจัดหาแหล่งงบประมาณในปีงบประมาณ 66-68 วงเงินประมาณ 40,000 ล้านบาท จากแหล่งงบประมาณที่เหมาะสม เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า  เพื่อให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก และมาตรการดังกล่าวจะสนับสนุนให้ราคาของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ประเภท BEV ให้เกิดความต้องการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ BEV เพิ่มขึ้น และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

สำหรับมาตรการทางด้านภาษี ประกอบด้วย กรณีรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท BEV ที่มีราขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท โดยปรับลดอากรศุลกากรในปี 65-68 โดยการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปทั้งคัน ที่ได้รับสิทธิพิเศษทางศุลกากรภายใต้ความตกลงเขตการค้า โดยกรณีมีอัตราอากรไม่เกิน 40% ให้ได้รับการยกเว้นอาการ กรณีอัตราอากรเกิน 40% ให้ลดอัตราอากรลงอีก 40%

ด้านการนำเข้าทั่วไป ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร ปี 30 ให้ได้รับการลดอัตราอากรจาก 80% เหลือ 40% และปรับลดอัตราภาษีสรรพาสามิตรถยนต์นั่ง ประเภท BEV จากเดิม 8% เหลือ 2% ในปี 65-68

ขณะที่มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีปี 65-68 เงินอุดหนุน 70,000 บาทต่อคัน สำหรับรถยนต์นั่ง ที่มีขนาดแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง และให้เงินอุดหนุน 150,000 บาทต่อคัน สำหรับรถยนต์นั่ง ที่มีขนาดแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป โดยครอบคลุมทั้งกรณีรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ และการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปทั้งคัน

ด้านมาตรการภาษีรถยนต์นั่งที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป ประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำมากกว่า 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท โดยในปี 65-68 ให้ปรับลดอากรศุลกากร ประกอบด้วย 1.การนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปทั้งคัน (CBU) ที่ได้รับสิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรี กรณีมีอัตราอากรไม่เกิน 20% ให้ได้รับการยกเว้นอากร และกรณีอัตราอากรเกิน 20% ให้ลดอัตราอากรลงอีก 20%

ด้านกรณีรถจักรยานยนต์ประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 150,000 บาท กำหนดอัตราภาษีสรรพสามิต ตามมูลค่า 1% สำหรับรถจักรยานยนต์ประเภท BEV ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตประกาศ และให้เงินอุดหนุน 18,000 บาทต่อคัน สำหรับรถจักรยานยนต์ประเภท BEV โดยครอบคลุมทั้งกรณีที่ผลิตในไทยและการนำเข้าสำเร็จรูปทั้งคัน
OTO