Mr.Data
หลังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงนโยบายหลังประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรกในวันที่ 13 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา โดยนโยบายส่วนใหญ่เน้นไปที่การช่วยเหลือภาคประชาชน ลดค่าครองชีพเป็นหลัก ทั้งการลดค่าไฟฟ้า และน้ำมันดิบ
แน่นอนว่า....มีทั้งบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับประโยชน์ และได้รับผลกระทบเชิงลบ
สะท้อนได้จากความผันผวนของดัชนีตลาดหุ้น!
โดยเฉพาะในส่วนของหุ้นกลุ่มพลังงาน และโรงไฟฟ้า ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายปรับลดราคาน้ำมัน และลดค่าไฟฟ้า เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ และผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ต่างปรับตัวในแดนบวก โดยคาดหวังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อภายในประเทศเพิ่มขึ้น
สัปดาห์นี้ Mr.Data ชวนมาสแกนหุ้นดาวเด่นที่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายรัฐบาลเศรษฐา1 และมาดูกันว่าหุ้นตัวไหนได้รับผลทบเชิงลบ ในทางอ้อมจากนโยบายของรัฐบาล
เริ่มจากมุมมองของบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า หลังนายกฯ แถลงนโยบายหลังประชุม ครม.
1) ไฟเขียวฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวจีน-คาซัคสถานชั่วคราว 5 เดือน เริ่ม 25 ก.ย. 2566 – 29 ก.พ. 2567
2) พักหนี้เกษตรกรและธุรกิจขนาดเล็ก 3 ปี
3) ลดค่าไฟฟ้าเป็น 4.10 บาท จาก 4.45 บาท เริ่มรอบบิล ก.ย. 2566
4) ลดราคาน้ำมันดีเซลให้ต่ำกว่า 30 บาท/ลิตร เริ่ม 20 ก.ย.
และ 5) ปรับการจ่ายเงินเดือนข้าราชการเป็นเดือนละ 2 รอบ จากเดือนละ 1 รอบ เริ่มปีหน้า
บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) มองว่า เป็นปัจจัยบวกต่อ SET INDEX โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก ท่องเที่ยว อาหารเครื่องดื่ม เช่น CPALL, CPAXT, GLOBAL, DOHOME, AOT, AAV, OSP เป็นต้น
ส่วนประเด็นค่าไฟฟ้า ถือว่าอยู่ในกรอบล่างของที่ตลาดประเมิน และราคาหุ้นปรับฐานลงมามากกว่าค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวลง จึงคาดว่าจะกระทบต่อราคาหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าในระดับที่จำกัด
ขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ระบุว่า หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรกเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 66 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลังนั้น ซึ่งนโยบายส่วนใหญ่เน้นไปที่การช่วยเหลือภาคประชาชน ลดค่าครองชีพเป็นหลัก ทั้งการลดค่าไฟฟ้า และน้ำมันดิบ ซึ่งมองผิวเผินจะส่งผลลบต่อหุ้นกลุ่มโรงกลั่น-โรงไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยฯจะมาจำแนกให้ดูว่า ทั้ง 2 กลุ่มโดนผลกระทบจริงๆ หรือไม่
เริ่มจากการปรับลดราคาน้ำมันดีเซล เป็นการปรับลดผ่านการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ซึ่งปัจจุบันภาครัฐจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 5.99 บาท/ลิตร ดังนั้น ภาครัฐยังสามารถใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นกลไกในการช่วยให้ราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงเหลือไม่เกิน 30 บาท/ลิตรได้ โดยไม่กระทบต่อกลุ่มโรงกลั่น หรือผู้ประกอบการค้าปลีกน้ำมันแต่อย่างใด จะกระทบเพียงภาครัฐที่รายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจะลดลงเท่านั้น ดังนั้น แนะนำทยอยสะสมหุ้นในกลุ่มโรงกลั่นเมื่อราคาอ่อนตัวลงมา หรือเข้าใกล้แนวรับสำคัญทางเทคนิค ชอบ PTT, PTTEP, TOP และ SPRC
ส่วนต่อมา คือ การลดค่าไฟฟ้า ซึ่งยังต้องรอสรุปอย่างเป็นทางการว่าแนวทางการปรับลดค่าไฟครั้งนี้ จะใช้วิธีการใด ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดเนื้อข่าวที่แน่ชัด ฝ่ายวิจัยฯจึงจำแนกออกเป็น 2 วิธีที่สามารถเกิดขึ้นได้
1. หากรัฐบาลสามารถใช้วิธีการยืดการชำระหนี้ให้แก่ กฟผ. ออกไป อาจส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นของกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ที่มีสัดส่วนขายไฟฟ้าให้แก่กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมค่อนข้างสูงอย่าง GPSC (สัดส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 30% ของรายได้รวม) , BGRIM (สัดส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 27% ของรายได้รวม), GULF (สัดส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 13% ของรายได้รวม)
2. หากใช้วิธีการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หรือ 500 หน่วย/เดือน จะไม่มีผลกระทบต่ออัตรากำไรของผู้ประกอบการกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP แต่อย่างใด
สรุป ผลการประชุมครม.นัดแรก มีนโยบายออกมามากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เน้นไปที่การช่วยเหลือภาคประชาชน ลดค่าครองชีพเป็นหลัก ขณะที่ระยะถัดไปเตรียมผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หนุนให้เศรษฐกิจตั้งแต่ครึ่งปีหลัง เติบโตเป็นขั้นบันได
หลังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงนโยบายหลังประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรกในวันที่ 13 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา โดยนโยบายส่วนใหญ่เน้นไปที่การช่วยเหลือภาคประชาชน ลดค่าครองชีพเป็นหลัก ทั้งการลดค่าไฟฟ้า และน้ำมันดิบ
แน่นอนว่า....มีทั้งบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับประโยชน์ และได้รับผลกระทบเชิงลบ
สะท้อนได้จากความผันผวนของดัชนีตลาดหุ้น!
โดยเฉพาะในส่วนของหุ้นกลุ่มพลังงาน และโรงไฟฟ้า ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายปรับลดราคาน้ำมัน และลดค่าไฟฟ้า เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ และผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ต่างปรับตัวในแดนบวก โดยคาดหวังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อภายในประเทศเพิ่มขึ้น
สัปดาห์นี้ Mr.Data ชวนมาสแกนหุ้นดาวเด่นที่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายรัฐบาลเศรษฐา1 และมาดูกันว่าหุ้นตัวไหนได้รับผลทบเชิงลบ ในทางอ้อมจากนโยบายของรัฐบาล
เริ่มจากมุมมองของบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า หลังนายกฯ แถลงนโยบายหลังประชุม ครม.
1) ไฟเขียวฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวจีน-คาซัคสถานชั่วคราว 5 เดือน เริ่ม 25 ก.ย. 2566 – 29 ก.พ. 2567
2) พักหนี้เกษตรกรและธุรกิจขนาดเล็ก 3 ปี
3) ลดค่าไฟฟ้าเป็น 4.10 บาท จาก 4.45 บาท เริ่มรอบบิล ก.ย. 2566
4) ลดราคาน้ำมันดีเซลให้ต่ำกว่า 30 บาท/ลิตร เริ่ม 20 ก.ย.
และ 5) ปรับการจ่ายเงินเดือนข้าราชการเป็นเดือนละ 2 รอบ จากเดือนละ 1 รอบ เริ่มปีหน้า
บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) มองว่า เป็นปัจจัยบวกต่อ SET INDEX โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก ท่องเที่ยว อาหารเครื่องดื่ม เช่น CPALL, CPAXT, GLOBAL, DOHOME, AOT, AAV, OSP เป็นต้น
ส่วนประเด็นค่าไฟฟ้า ถือว่าอยู่ในกรอบล่างของที่ตลาดประเมิน และราคาหุ้นปรับฐานลงมามากกว่าค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวลง จึงคาดว่าจะกระทบต่อราคาหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าในระดับที่จำกัด
ขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ระบุว่า หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรกเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 66 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลังนั้น ซึ่งนโยบายส่วนใหญ่เน้นไปที่การช่วยเหลือภาคประชาชน ลดค่าครองชีพเป็นหลัก ทั้งการลดค่าไฟฟ้า และน้ำมันดิบ ซึ่งมองผิวเผินจะส่งผลลบต่อหุ้นกลุ่มโรงกลั่น-โรงไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยฯจะมาจำแนกให้ดูว่า ทั้ง 2 กลุ่มโดนผลกระทบจริงๆ หรือไม่
เริ่มจากการปรับลดราคาน้ำมันดีเซล เป็นการปรับลดผ่านการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ซึ่งปัจจุบันภาครัฐจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 5.99 บาท/ลิตร ดังนั้น ภาครัฐยังสามารถใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นกลไกในการช่วยให้ราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงเหลือไม่เกิน 30 บาท/ลิตรได้ โดยไม่กระทบต่อกลุ่มโรงกลั่น หรือผู้ประกอบการค้าปลีกน้ำมันแต่อย่างใด จะกระทบเพียงภาครัฐที่รายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจะลดลงเท่านั้น ดังนั้น แนะนำทยอยสะสมหุ้นในกลุ่มโรงกลั่นเมื่อราคาอ่อนตัวลงมา หรือเข้าใกล้แนวรับสำคัญทางเทคนิค ชอบ PTT, PTTEP, TOP และ SPRC
ส่วนต่อมา คือ การลดค่าไฟฟ้า ซึ่งยังต้องรอสรุปอย่างเป็นทางการว่าแนวทางการปรับลดค่าไฟครั้งนี้ จะใช้วิธีการใด ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดเนื้อข่าวที่แน่ชัด ฝ่ายวิจัยฯจึงจำแนกออกเป็น 2 วิธีที่สามารถเกิดขึ้นได้
1. หากรัฐบาลสามารถใช้วิธีการยืดการชำระหนี้ให้แก่ กฟผ. ออกไป อาจส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นของกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ที่มีสัดส่วนขายไฟฟ้าให้แก่กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมค่อนข้างสูงอย่าง GPSC (สัดส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 30% ของรายได้รวม) , BGRIM (สัดส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 27% ของรายได้รวม), GULF (สัดส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 13% ของรายได้รวม)
2. หากใช้วิธีการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หรือ 500 หน่วย/เดือน จะไม่มีผลกระทบต่ออัตรากำไรของผู้ประกอบการกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP แต่อย่างใด
สรุป ผลการประชุมครม.นัดแรก มีนโยบายออกมามากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เน้นไปที่การช่วยเหลือภาคประชาชน ลดค่าครองชีพเป็นหลัก ขณะที่ระยะถัดไปเตรียมผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หนุนให้เศรษฐกิจตั้งแต่ครึ่งปีหลัง เติบโตเป็นขั้นบันได