จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : SUPER ต่อยอดเรือธง “Solar Hybrid” บุกตลาดต่างประเทศ – ดันรายได้ตามเป้า
15 กันยายน 2566
การพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้จ่ายไฟได้ตลอด 24 ชม. นับเป็นความสำเร็จของ บมจ. ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น(SUPER) โดยช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 สร้างรายได้แตะ 100 ล้านบาท และมีกำไรขั้นต้นสูงกว่า 40% ซึ่งผู้บริหารเตรียมเจรจากับพันธมิตรนำเทคโนโลยี ไปใช้ในต่างประเทศ
หากพูดถึงโครงการผลิตไฟฟ้าจะพลังงานสะอาด ได้แก่ พลังงานลม พลังงานน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ ต้องมีชื่อ บมจ. ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น(SUPER) ติดอยู่ในโผ โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งร่วมกับแบตเตอรี่ หรือ SPP HYBRID ซึ่งการมีแบตเตอรี่ทำให้เป็นโครงการนี้ปิดจุดอ่อนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และยังสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชม.
ซึ่ง “จอมทรัพย์ โลจายะ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SUPER ระบุ โครงการ SPP HYBRID ปริมาณการขายไฟฟ้าตามสัญญา 16 เมกะวัตต์ จังหวัดสระแก้ว ได้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ต้นปี2566 ที่ผ่านมา และสร้างรายได้ให้กับบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 สร้างรายได้ระดับ 100 ล้านบาท และมีกำไรขั้นต้นสูงกว่า 40 %
บริษัทจึงมีแผนที่จะทำเทคโนโลยี Solar Hybrid ที่ได้เริ่ม COD ไปในเดือนมกราคม นำมาใช้กับโครงการอื่นๆ เพื่อขยายกำลังการผลิตและให้บริการเพิ่มเติมกับพาร์ตเนอร์ที่กำลังเจรจา เช่น อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ซึ่งประเทศดังกล่าวได้สัมปทานการส่งออกไฟฟ้าไปขายให้สิงคโปร์แล้ว บริษัทจะนำเทคโนโลยี Solar Hybrid ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่รายเดียวในประเทศไทย ไปร่วมลงทุนกับพาร์ตเนอร์ในประเทศดังกล่าว เพื่อที่จะสามารถผลิตและขายไฟฟ้าได้ 24 ชั่วโมง
ขณะที่โครงการอื่นเติบโตได้ตามเป้าหมาย ส่งผลให้แนวโน้มผลดำเนินงานในปี 2566 ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากมีปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทั้งในไทยและเวียดนาม ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าในพอร์ตปัจจุบันมีจำนวน 133 โครงการ กำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 1,608.32 เมกะวัตต์ โดยมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เป็นต้น
ซึ่งปีนี้บริษัทจะขยายการกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้จากการชนะประมูลโครงการพลังงานหมุนเวียน 185.5 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท คาดจะรับรู้รายได้จากโครงการดังกล่าว 1,400 ล้านบาทต่อปี และน่าจะจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ในปี 68 - 72 โดยโครงการแรกที่จะเริ่มสร้างคือโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมที่อุบลราชธานี ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการดำเนินงาน
ส่วนภาพรวมการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯเชื่อว่ายังเติบโตได้ดี ซึ่งจะมีโครงการที่สามารถ COD ได้เพิ่มเติม ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่เวียดนาม "Soc Trang" กำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ คาดว่าจะเปิดดำเนินงานภายในช่วงปลายปีนี้ รวมทั้งโครงการพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์กับมหาวิทยาลัยมหิดล กำลังการผลิต 14 เมกะวัตต์ จะเริ่มทยอยขายไฟตั้งแต่เดือนกันยายนนี้ นอกจากนี้ยังมีอีก 2 โครงการในเวียดนามที่บริษัทกำลังเตรียมความพร้อมประมาณ 250 เมกะวัตต์ ทั้งนี้กำลังรอการกำหนดค่าไฟฟ้าของ PDP8 จากรัฐบาลเวียดนาม
บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าในการสร้างรายได้และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น ขณะเดียวกันมองหาโอกาสการขยายงาน โดยการเข้าไปลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ๆในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้าได้เข้าร่วมถือหุ้นธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในเวียดนามกับ AC ENERGY VIETNAM INVESTMENTS PTE. LTD. ( ACEV ) บริษัทชั้นนำทางด้านธุรกิจพลังงานทดแทน
" SUPER พยายามเดินตามแผนที่วางไว้ และโฟกัสโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต พร้อมมองหาโอกาสการลงทุนในรูปแบบ M&A นอกจากนี้เร่งบริหารค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ย ไปพร้อมกัน ทำให้มั่นใจว่ารายได้ในปีนี้จะเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยจะมีรายได้อยู่ที่ใกล้ 10,000 ล้านบาท ส่วนกำลังการผลิตวางไว้ 2,100 เมกะวัตต์ ใน 3 ปีข้างหน้า (2569 ) จากปีนี้คาดว่าอยู่ที่ 1,652.32 เมกะวัตต์ " นายจอมทรัพย์กล่าว
หากพูดถึงโครงการผลิตไฟฟ้าจะพลังงานสะอาด ได้แก่ พลังงานลม พลังงานน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ ต้องมีชื่อ บมจ. ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น(SUPER) ติดอยู่ในโผ โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งร่วมกับแบตเตอรี่ หรือ SPP HYBRID ซึ่งการมีแบตเตอรี่ทำให้เป็นโครงการนี้ปิดจุดอ่อนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และยังสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชม.
ซึ่ง “จอมทรัพย์ โลจายะ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SUPER ระบุ โครงการ SPP HYBRID ปริมาณการขายไฟฟ้าตามสัญญา 16 เมกะวัตต์ จังหวัดสระแก้ว ได้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ต้นปี2566 ที่ผ่านมา และสร้างรายได้ให้กับบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 สร้างรายได้ระดับ 100 ล้านบาท และมีกำไรขั้นต้นสูงกว่า 40 %
บริษัทจึงมีแผนที่จะทำเทคโนโลยี Solar Hybrid ที่ได้เริ่ม COD ไปในเดือนมกราคม นำมาใช้กับโครงการอื่นๆ เพื่อขยายกำลังการผลิตและให้บริการเพิ่มเติมกับพาร์ตเนอร์ที่กำลังเจรจา เช่น อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ซึ่งประเทศดังกล่าวได้สัมปทานการส่งออกไฟฟ้าไปขายให้สิงคโปร์แล้ว บริษัทจะนำเทคโนโลยี Solar Hybrid ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่รายเดียวในประเทศไทย ไปร่วมลงทุนกับพาร์ตเนอร์ในประเทศดังกล่าว เพื่อที่จะสามารถผลิตและขายไฟฟ้าได้ 24 ชั่วโมง
ขณะที่โครงการอื่นเติบโตได้ตามเป้าหมาย ส่งผลให้แนวโน้มผลดำเนินงานในปี 2566 ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากมีปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทั้งในไทยและเวียดนาม ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าในพอร์ตปัจจุบันมีจำนวน 133 โครงการ กำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 1,608.32 เมกะวัตต์ โดยมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เป็นต้น
ซึ่งปีนี้บริษัทจะขยายการกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้จากการชนะประมูลโครงการพลังงานหมุนเวียน 185.5 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท คาดจะรับรู้รายได้จากโครงการดังกล่าว 1,400 ล้านบาทต่อปี และน่าจะจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ในปี 68 - 72 โดยโครงการแรกที่จะเริ่มสร้างคือโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมที่อุบลราชธานี ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการดำเนินงาน
ส่วนภาพรวมการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯเชื่อว่ายังเติบโตได้ดี ซึ่งจะมีโครงการที่สามารถ COD ได้เพิ่มเติม ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่เวียดนาม "Soc Trang" กำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ คาดว่าจะเปิดดำเนินงานภายในช่วงปลายปีนี้ รวมทั้งโครงการพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์กับมหาวิทยาลัยมหิดล กำลังการผลิต 14 เมกะวัตต์ จะเริ่มทยอยขายไฟตั้งแต่เดือนกันยายนนี้ นอกจากนี้ยังมีอีก 2 โครงการในเวียดนามที่บริษัทกำลังเตรียมความพร้อมประมาณ 250 เมกะวัตต์ ทั้งนี้กำลังรอการกำหนดค่าไฟฟ้าของ PDP8 จากรัฐบาลเวียดนาม
บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าในการสร้างรายได้และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น ขณะเดียวกันมองหาโอกาสการขยายงาน โดยการเข้าไปลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ๆในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้าได้เข้าร่วมถือหุ้นธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในเวียดนามกับ AC ENERGY VIETNAM INVESTMENTS PTE. LTD. ( ACEV ) บริษัทชั้นนำทางด้านธุรกิจพลังงานทดแทน
" SUPER พยายามเดินตามแผนที่วางไว้ และโฟกัสโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต พร้อมมองหาโอกาสการลงทุนในรูปแบบ M&A นอกจากนี้เร่งบริหารค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ย ไปพร้อมกัน ทำให้มั่นใจว่ารายได้ในปีนี้จะเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยจะมีรายได้อยู่ที่ใกล้ 10,000 ล้านบาท ส่วนกำลังการผลิตวางไว้ 2,100 เมกะวัตต์ ใน 3 ปีข้างหน้า (2569 ) จากปีนี้คาดว่าอยู่ที่ 1,652.32 เมกะวัตต์ " นายจอมทรัพย์กล่าว