จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : TSE เดินหน้าประมูลโรงไฟฟ้า หนุนรายได้ปี 66 ทำสถิติสูงสุด
22 กันยายน 2566
บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) เดินหน้าลุยธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด ผ่านการขยายการลงทุน การร่วมลงทุน และการเข้าซื้อกิจการ ผลักดันรายได้ปี 2566 เติบโตทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ประกาศเปิดประมูลรับซื้อไฟฟ้าโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) รอบที่ 2 เพิ่มขึ้นอีก 3,668 เมกะวัตต์ การประมูลรอบใหม่ครั้งนี้ สำนักงาน กกพ.จะเพิ่มจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม),พลังงานลม, ไบโอแก๊ส,ขยะอุตสาหกรรม
ประกอบกับ กกพ.รวบรวมโรงไฟฟ้าที่ไม่สามารถผลิตได้ตามแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เช่น ไฟฟ้าจาก สปป. ลาว ที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้ทันในปี 2571 และรวบรวมทั้งในส่วนที่ผลิตเข้าระบบไม่ทันตามแผน PDP และที่ กพช.เห็นชอบให้รับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น
สำหรับ มติ กพช.เห็นชอบให้การเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น 3,668 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น
1.โซลาร์ฟาร์ม 2,632 เมกะวัตต์ จากรอบแรกที่รับซื้อ 2,368 เมกะวัตต์
2.พลังงานลม 1,000 เมกะวัตต์ จากรอบแรกรับซื้อ 1,500 เมกะวัตต์
3.ก๊าซชีวภาพ 6.5 เมกะวัตต์ รอบแรกไม่มีผู้ผ่านคุณสมบัติ
4.ขยะอุตสาหกรรม 100 เมกะวัตต์ จากรอบแรกเปิดรับ 200 เมกะวัตต์ แต่มียอดรับซื้อที่ 100 เมกะวัตต์ จึงจะเพิ่มอีก 30 เมกะวัตต์ รวมเป็น 130 เมกะวัตต์
บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานหมุนเวียนอื่น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบโฟโต้โวลตาอิกหรือโซลาร์เซลล์ (Solar PV) และธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass Power Plants) ก็มีความพร้อมเข้าร่วมประมูล โดย “แคทลีน มาลีนนท์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ย้ำว่าบริษัทฯ มีความพร้อมอย่างมาก ที่จะเข้าร่วมการประมูลโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รอบ 2 โดยขณะนี้รอประกาศกฎเกณฑ์จากภาครัฐ หากมีการประกาศเปิดรับซื้อไฟฟ้าเฟส 2 แล้ว บริษัทฯ พร้อมเข้าร่วมประมูลทันที
ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้าจะชนะการประมูลเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์ ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทได้ลงนามในหนังสือบันทึกข้อตกลงรับทราบและยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed - in Tarif (FT) โดย กกพ. ปี 2565-2573 จำนวน 7 โครงการ มีขนาดกำลังผลิตขายไฟรวมกว่า 88.66 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการขนาด SPP จำนวน 2 โครงการ, โครงการ VSPP จำนวน 4 โครงการ และโครงการโซลาร์และแบตเตอรี่ จำนวน 1 โครงการ
ปัจจุบัน บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้าในมือรวม 286.20 เมกะวัตต์ ขณะที่แผนการเติบโต 5-7 ปี ตั้งเป้าจะมีการผลิตกำลังไฟฟ้ารวม 500 เมกะวัตต์ โดยมองโอกาสการเติบโตทั้งการจัดหาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ภายใต้แผน PDP, การขยายการลงทุนหรือร่วมลงทุนโซลาร์ฟาร์ม, การเข้าซื้อกิจการโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน รวมถึงโครงการพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ ทั้งพลังงานลมและโซลาร์ฟาร์ม เพื่อสร้างศักยภาพการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ขณะเดียวกัน บริษัทยังมีแผนรุกธุรกิจ Private PPA เพื่อตกลงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนอาคารของผู้ประกอบการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา รวมถึงอาจจะมีการควบรวมหรือซื้อกิจการ (M&A) โรงไฟฟ้าใหม่ ก็อาจจะส่งผลให้มีจำนวนกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
ซึ่งบริษัทคาดการณ์รายได้รวมในปีนี้ (รวมส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า) จะทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยขยับขึ้นไปแตะระดับ 3,000 ล้านบาท จากปีก่อนอยู่ที่ 1,974 ล้านบาท โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการรับรู้รายได้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โอนิโกเบ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่จังหวัด มิยางิ ในประเทศญี่ปุ่น กำลังการผลิตติดตั้งเสนอขาย 133 เมกะวัตต์ ได้เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ประกาศเปิดประมูลรับซื้อไฟฟ้าโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) รอบที่ 2 เพิ่มขึ้นอีก 3,668 เมกะวัตต์ การประมูลรอบใหม่ครั้งนี้ สำนักงาน กกพ.จะเพิ่มจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม),พลังงานลม, ไบโอแก๊ส,ขยะอุตสาหกรรม
ประกอบกับ กกพ.รวบรวมโรงไฟฟ้าที่ไม่สามารถผลิตได้ตามแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เช่น ไฟฟ้าจาก สปป. ลาว ที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้ทันในปี 2571 และรวบรวมทั้งในส่วนที่ผลิตเข้าระบบไม่ทันตามแผน PDP และที่ กพช.เห็นชอบให้รับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น
สำหรับ มติ กพช.เห็นชอบให้การเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น 3,668 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น
1.โซลาร์ฟาร์ม 2,632 เมกะวัตต์ จากรอบแรกที่รับซื้อ 2,368 เมกะวัตต์
2.พลังงานลม 1,000 เมกะวัตต์ จากรอบแรกรับซื้อ 1,500 เมกะวัตต์
3.ก๊าซชีวภาพ 6.5 เมกะวัตต์ รอบแรกไม่มีผู้ผ่านคุณสมบัติ
4.ขยะอุตสาหกรรม 100 เมกะวัตต์ จากรอบแรกเปิดรับ 200 เมกะวัตต์ แต่มียอดรับซื้อที่ 100 เมกะวัตต์ จึงจะเพิ่มอีก 30 เมกะวัตต์ รวมเป็น 130 เมกะวัตต์
บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานหมุนเวียนอื่น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบโฟโต้โวลตาอิกหรือโซลาร์เซลล์ (Solar PV) และธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass Power Plants) ก็มีความพร้อมเข้าร่วมประมูล โดย “แคทลีน มาลีนนท์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ย้ำว่าบริษัทฯ มีความพร้อมอย่างมาก ที่จะเข้าร่วมการประมูลโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รอบ 2 โดยขณะนี้รอประกาศกฎเกณฑ์จากภาครัฐ หากมีการประกาศเปิดรับซื้อไฟฟ้าเฟส 2 แล้ว บริษัทฯ พร้อมเข้าร่วมประมูลทันที
ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้าจะชนะการประมูลเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์ ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทได้ลงนามในหนังสือบันทึกข้อตกลงรับทราบและยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed - in Tarif (FT) โดย กกพ. ปี 2565-2573 จำนวน 7 โครงการ มีขนาดกำลังผลิตขายไฟรวมกว่า 88.66 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการขนาด SPP จำนวน 2 โครงการ, โครงการ VSPP จำนวน 4 โครงการ และโครงการโซลาร์และแบตเตอรี่ จำนวน 1 โครงการ
ปัจจุบัน บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้าในมือรวม 286.20 เมกะวัตต์ ขณะที่แผนการเติบโต 5-7 ปี ตั้งเป้าจะมีการผลิตกำลังไฟฟ้ารวม 500 เมกะวัตต์ โดยมองโอกาสการเติบโตทั้งการจัดหาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ภายใต้แผน PDP, การขยายการลงทุนหรือร่วมลงทุนโซลาร์ฟาร์ม, การเข้าซื้อกิจการโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน รวมถึงโครงการพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ ทั้งพลังงานลมและโซลาร์ฟาร์ม เพื่อสร้างศักยภาพการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ขณะเดียวกัน บริษัทยังมีแผนรุกธุรกิจ Private PPA เพื่อตกลงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนอาคารของผู้ประกอบการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา รวมถึงอาจจะมีการควบรวมหรือซื้อกิจการ (M&A) โรงไฟฟ้าใหม่ ก็อาจจะส่งผลให้มีจำนวนกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
ซึ่งบริษัทคาดการณ์รายได้รวมในปีนี้ (รวมส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า) จะทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยขยับขึ้นไปแตะระดับ 3,000 ล้านบาท จากปีก่อนอยู่ที่ 1,974 ล้านบาท โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการรับรู้รายได้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โอนิโกเบ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่จังหวัด มิยางิ ในประเทศญี่ปุ่น กำลังการผลิตติดตั้งเสนอขาย 133 เมกะวัตต์ ได้เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา