จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : CWT รุกธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะ รับรู้รายได้ Q4/66หนุนรายได้เติบโตยั่งยืน
26 กันยายน 2566
ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้า มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงาน ซึ่งมีทั้ง พลังงานลม พลังงานแสงแดด พลังงานน้ำและพลังงานจากขยะมูลฝอย หนุนธุรกิจบมจ. ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT)
ซึ่งการนำขยะมาผลิตไฟฟ้า นับเป็นแนวทางหนึ่งในการลดปริมาณขยะสะสมในประเทศ และยังเป็นพลังงานทดแทนที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากขยะเป็นการผลิตพลังงานในพื้นที่โดยใช้เชื้อเพลิง (ขยะ) ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ดังนั้น จึงทำให้สามารถลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้าจากภายนอกได้
และยังช่วยเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนในประเทศ เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานขยะถือเป็นพลังงานทดแทน ดังนั้นการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะจึงสามารถช่วยให้ประเทศไทยในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน
ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจของ บมจ. ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) โดยบริษัทได้ประกอบธุรกิจหลัก 3 กลุ่มธุรกิจคือ 1.กลุ่มผลิตภัณฑ์หนัง ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มพลังงาน และ 3.กลุ่มออกแบบและจัดจำหน่ายยานพาหนะ
ในส่วนของกลุ่มพลังงาน “วีระพล ไชยธีรัตต์” กรรมการผู้จัดการ (CWT) ระบุว่า บริษัท กรีน เพาเวอร์ 1 จำกัด (GP1) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้ส่งมอบงานโครงการบริหารจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน รวมถึงขยะบ่อฝังกลบให้แก่ เทศบาลนครนครสวรรค์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มดำเนินการและสามารถรับกำจัดมูลฝอยชุมชนได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.66 เป็นต้นไป
"โครงการดังกล่าวเป็นสัญญาให้สิทธิเอกชนดำเนินโครงการบริหารจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนรวมถึงขยะบ่อฝังกลบของเทศบาลนครนครสวรรค์ สัญญาระยะยาว 25 ปี ซึ่งทาง GP1 เริ่มเข้าพัฒนาพื้นที่ในปีที่ผ่านมา และก่อสร้างโรงแปลงขยะพร้อมส่งมอบในเดือนกันยายนปีนี้ โดยคาดว่าจะสามารถรองรับขยะชุมชนได้ถึงวันละ 400 ตันโดยเฉลี่ย และทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 4/66 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ คาดการณ์มูลค่ารายได้ค่าเฉลี่ยค่ากำจัดขยะมูลฝอย (Tipping Fee) รวมตลอดสัญญาประมาณ 590.55 ล้านบาท" นายวีระพล กล่าว
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ มีแผนคัดแยกขยะมูลฝอยชุมชนเพื่อแปลงเป็นเชื้อเพลิงพลังงาน RDF (Refuse Derived Fuel) เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมจากโครงการ โดยจะพัฒนาเป็นโรงไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 10.0 เมกะวัตต์ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ซึ่งจะช่วยทำให้บริษัทฯ สามารถดำเนินงานบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการแก้ปัญหาขยะในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน
กลุ่มบริษัทฯ ได้รับคัดเลือกโครงการดำเนินการก่อสร้างระบบการจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง (RDF) และผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์ และล่าสุดได้รับคัดเลือกดำเนินโครงการบริหารจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมกันนี้มีโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาอีกหลายแห่ง
ซึ่งการนำขยะมาผลิตไฟฟ้า นับเป็นแนวทางหนึ่งในการลดปริมาณขยะสะสมในประเทศ และยังเป็นพลังงานทดแทนที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากขยะเป็นการผลิตพลังงานในพื้นที่โดยใช้เชื้อเพลิง (ขยะ) ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ดังนั้น จึงทำให้สามารถลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้าจากภายนอกได้
และยังช่วยเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนในประเทศ เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานขยะถือเป็นพลังงานทดแทน ดังนั้นการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะจึงสามารถช่วยให้ประเทศไทยในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน
ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจของ บมจ. ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) โดยบริษัทได้ประกอบธุรกิจหลัก 3 กลุ่มธุรกิจคือ 1.กลุ่มผลิตภัณฑ์หนัง ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มพลังงาน และ 3.กลุ่มออกแบบและจัดจำหน่ายยานพาหนะ
ในส่วนของกลุ่มพลังงาน “วีระพล ไชยธีรัตต์” กรรมการผู้จัดการ (CWT) ระบุว่า บริษัท กรีน เพาเวอร์ 1 จำกัด (GP1) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้ส่งมอบงานโครงการบริหารจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน รวมถึงขยะบ่อฝังกลบให้แก่ เทศบาลนครนครสวรรค์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มดำเนินการและสามารถรับกำจัดมูลฝอยชุมชนได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.66 เป็นต้นไป
"โครงการดังกล่าวเป็นสัญญาให้สิทธิเอกชนดำเนินโครงการบริหารจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนรวมถึงขยะบ่อฝังกลบของเทศบาลนครนครสวรรค์ สัญญาระยะยาว 25 ปี ซึ่งทาง GP1 เริ่มเข้าพัฒนาพื้นที่ในปีที่ผ่านมา และก่อสร้างโรงแปลงขยะพร้อมส่งมอบในเดือนกันยายนปีนี้ โดยคาดว่าจะสามารถรองรับขยะชุมชนได้ถึงวันละ 400 ตันโดยเฉลี่ย และทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 4/66 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ คาดการณ์มูลค่ารายได้ค่าเฉลี่ยค่ากำจัดขยะมูลฝอย (Tipping Fee) รวมตลอดสัญญาประมาณ 590.55 ล้านบาท" นายวีระพล กล่าว
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ มีแผนคัดแยกขยะมูลฝอยชุมชนเพื่อแปลงเป็นเชื้อเพลิงพลังงาน RDF (Refuse Derived Fuel) เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมจากโครงการ โดยจะพัฒนาเป็นโรงไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 10.0 เมกะวัตต์ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ซึ่งจะช่วยทำให้บริษัทฯ สามารถดำเนินงานบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการแก้ปัญหาขยะในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน
กลุ่มบริษัทฯ ได้รับคัดเลือกโครงการดำเนินการก่อสร้างระบบการจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง (RDF) และผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์ และล่าสุดได้รับคัดเลือกดำเนินโครงการบริหารจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมกันนี้มีโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาอีกหลายแห่ง