บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า กนง. มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีก 0.25% มาที่ 2.5% ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย เข้าสู่จุดเหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวตามมุมมองของ กนง. ภาพดังกล่าวบวกทันทีต่อเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank) ดีต่อ BBL, KTB
ขณะที่ฝั่งดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อยังต้องจับตามองการตอบสนองจากกลุ่มฯ หลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรอบก่อนหน้า ยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ใดขึ้น M-RATE
ทั้งนี้ กรณีที่มีการเพิ่ม M-RATE มองว่า MLR ที่คิดกับลูกค้ารายใหญ่ น่าจะถูกปรับขึ้นในอัตราสูงกว่า MRR ที่คิดกับ SME และรายย่อย ซึ่งศักยภาพในการชำระหนี้ยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยรวมบวกต่อ BBL ที่มีสัดส่วนสินเชื่อรายใหญ่มากสุดในกลุ่มฯ
โดยการลงทุนสำหรับกลุ่มธนาคาร เลือก BBL จากคุณภาพสินทรัพย์แกร่งกว่ากลุ่มฯ และคาดรับประโยชน์จากการขึ้นดอกเบี้ยมากกว่ากลุ่มฯ ส่วน ธนาคารพาณิชยฺขนาดเล็ก แม้เสียเปรียบธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ยามดอกเบี้ยขาขึ้น แต่มีจุดเด่นจาก DIV YIELD สูง ยังชอบTISCO ที่ให้ DIV YIELD สูงสุดในกลุ่มฯ มากกว่า KKP
นอกจากนี้มุมมองในเชิงกลยุทธ์ ภายใต้การกลับเข้าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติวานนี้ ผสานกับการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย น่าจะสร้างความคึกคักให้กับ KBANK ที่ราคาผ่านการปรับฐานเป็นอันดับต้นของกลุ่ม ธนาคารพาณิชยฺขนาดใหญ่ ราว 15.6% YTD (SET INDEX – 10.3% YTD)
ส่วนกลุ่ม Non – Bank (เฉพาะ MTC, SAWAD, TIDLOR) กรณีที่ธนาคารมีการปรับขึ้น M-Rate และ Bond Yield ยืนในระดับสูง ในทางพื้นฐานส่งผลให้แนวโน้มต้นทุนทางการเงิน (Cost of fund : COF) ของกลุ่มสูงขึ้นในระยะถัดไป ซึ่งโครงสร้างหนี้สินที่มีดอกเบี้ยอายุ 1 ปี ณ สิ้นงวด 2Q66 เฉลี่ยอยู่ที่ 38% ของภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ย (หนี้กับสถาบันการเงินประมาณ 21% ของภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ย) โดยช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มต้นวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของไทยช่วงครึ่งหลังปี 2565 พบว่า COF กลุ่มฯ งวดไตรมาส 2/66 อยู่ที่ประมาณ 3.3% VS 3.0% งวด ไตรมาส 2/65 ตรงข้ามกับฝั่งดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อคงที่ (กรณีมีการปรับดอกเบี้ยขึ้นจะส่งผลเฉพาะสัญญาฉบับใหม่) ด้านคุณภาพสินทรัพย์กลุ่มฯมองว่ายังอยู่ในวัฎจักรขาขึ้นของ NPL
อย่างไรก็ดีราคาหุ้นกลุ่มจำนำทะเบียน ตั้งแต่ Bond yield ไทยปรับตัวขึ้นช่วง ก.ย. 2566 ส่งผลให้ราคาหุ้นในกลุ่มฯ มีการปรับฐานพอสมควร และนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ให้ผลตอบแทนติดลบทุกตัว น่าจะสะท้อนปัจจัยข้างต้นบางส่วนแล้ว ให้คำแนะนำ Outperform ต่อ TIDLOR (FV ปี 2566 @B26) เพราะราคาหุ้นนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันลดลง 20.3% มากกว่า MTC และ SAWAD ลบ 3.3% และ 10.8% YTD ตามลำดับประกอบกับคุณภาพสินทรัพย์ของ TIDLOR ในเชิง Coverage ratio สูงสุดในกลุ่มฯ ที่ 266% ขณะที่ MTC (Neutral) ราคาหุ้นที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ราคาเทียบ FV ปี 2567 ที่ 40 บาท (FV ปี 2565 @B35) มี Upside เปิดกว้างขึ้น
ขณะที่ฝั่งดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อยังต้องจับตามองการตอบสนองจากกลุ่มฯ หลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรอบก่อนหน้า ยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ใดขึ้น M-RATE
ทั้งนี้ กรณีที่มีการเพิ่ม M-RATE มองว่า MLR ที่คิดกับลูกค้ารายใหญ่ น่าจะถูกปรับขึ้นในอัตราสูงกว่า MRR ที่คิดกับ SME และรายย่อย ซึ่งศักยภาพในการชำระหนี้ยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยรวมบวกต่อ BBL ที่มีสัดส่วนสินเชื่อรายใหญ่มากสุดในกลุ่มฯ
โดยการลงทุนสำหรับกลุ่มธนาคาร เลือก BBL จากคุณภาพสินทรัพย์แกร่งกว่ากลุ่มฯ และคาดรับประโยชน์จากการขึ้นดอกเบี้ยมากกว่ากลุ่มฯ ส่วน ธนาคารพาณิชยฺขนาดเล็ก แม้เสียเปรียบธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ยามดอกเบี้ยขาขึ้น แต่มีจุดเด่นจาก DIV YIELD สูง ยังชอบTISCO ที่ให้ DIV YIELD สูงสุดในกลุ่มฯ มากกว่า KKP
นอกจากนี้มุมมองในเชิงกลยุทธ์ ภายใต้การกลับเข้าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติวานนี้ ผสานกับการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย น่าจะสร้างความคึกคักให้กับ KBANK ที่ราคาผ่านการปรับฐานเป็นอันดับต้นของกลุ่ม ธนาคารพาณิชยฺขนาดใหญ่ ราว 15.6% YTD (SET INDEX – 10.3% YTD)
ส่วนกลุ่ม Non – Bank (เฉพาะ MTC, SAWAD, TIDLOR) กรณีที่ธนาคารมีการปรับขึ้น M-Rate และ Bond Yield ยืนในระดับสูง ในทางพื้นฐานส่งผลให้แนวโน้มต้นทุนทางการเงิน (Cost of fund : COF) ของกลุ่มสูงขึ้นในระยะถัดไป ซึ่งโครงสร้างหนี้สินที่มีดอกเบี้ยอายุ 1 ปี ณ สิ้นงวด 2Q66 เฉลี่ยอยู่ที่ 38% ของภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ย (หนี้กับสถาบันการเงินประมาณ 21% ของภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ย) โดยช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มต้นวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของไทยช่วงครึ่งหลังปี 2565 พบว่า COF กลุ่มฯ งวดไตรมาส 2/66 อยู่ที่ประมาณ 3.3% VS 3.0% งวด ไตรมาส 2/65 ตรงข้ามกับฝั่งดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อคงที่ (กรณีมีการปรับดอกเบี้ยขึ้นจะส่งผลเฉพาะสัญญาฉบับใหม่) ด้านคุณภาพสินทรัพย์กลุ่มฯมองว่ายังอยู่ในวัฎจักรขาขึ้นของ NPL
อย่างไรก็ดีราคาหุ้นกลุ่มจำนำทะเบียน ตั้งแต่ Bond yield ไทยปรับตัวขึ้นช่วง ก.ย. 2566 ส่งผลให้ราคาหุ้นในกลุ่มฯ มีการปรับฐานพอสมควร และนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ให้ผลตอบแทนติดลบทุกตัว น่าจะสะท้อนปัจจัยข้างต้นบางส่วนแล้ว ให้คำแนะนำ Outperform ต่อ TIDLOR (FV ปี 2566 @B26) เพราะราคาหุ้นนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันลดลง 20.3% มากกว่า MTC และ SAWAD ลบ 3.3% และ 10.8% YTD ตามลำดับประกอบกับคุณภาพสินทรัพย์ของ TIDLOR ในเชิง Coverage ratio สูงสุดในกลุ่มฯ ที่ 266% ขณะที่ MTC (Neutral) ราคาหุ้นที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ราคาเทียบ FV ปี 2567 ที่ 40 บาท (FV ปี 2565 @B35) มี Upside เปิดกว้างขึ้น