จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : EA บุก “โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ” สร้างโอกาสทางธุรกิจและการเติบโตอย่างยั่งยืน
02 ตุลาคม 2566
แนวทางการกำจัดขยะโดยวิธี “โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ” โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวที่มีขยะเป็นจำนวนมาก นอกจากจะเป็นการกำจัดขยะแล้ว ยังได้พลังงานทดแทนเป็นผลพลอยได้ ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ของ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ที่จะสร้างรายได้ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
การท่องเที่ยวเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้ โดยทุกภาคส่วนให้ความสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า เป้าหมายรายได้จากการท่องเที่ยวในปีนี้อยู่ที่ 2.38 ล้านล้านบาท และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 28 ล้านคน ซึ่งเชื่อว่าจะทำได้ตามเป้าหมาย หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายฟรีวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวจีนและคาซัคสถาน ในช่วง ต.ค.-ธ.ค. 66
จังหวัดภูเก็ตนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ต่างชาติให้ความนิยมเป็นอันดับต้นๆของไทย ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตมากขึ้น สิ่งที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่จำนวนขยะมูลฝอยที่มีจำนวนมากขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ทั้งที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และขยะที่ต้องอาศัยการเผาทำลาย
“โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ” เป็นกระบวนการกำจัดขยะรูปแบบหนึ่ง จะได้ไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้และจัดเป็นพลังงานทดแทน (Renewable Energy) รูปแบบหนึ่ง
และยังมีประโยชน์ 1. ช่วยลดปริมาณขยะสะสมในประเทศ และการนำขยะมาใช้ในโรงไฟฟ้ายังเป็นการกำจัดขยะ และสร้างไฟฟ้าขึ้นเป็นผลพลอยได้
2. ลดปริมาณการนำเข้าพลังงาน เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากขยะเป็นการผลิตพลังงานในพื้นที่โดยใช้เชื้อเพลิง (ขยะ) ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ดังนั้น จึงทำให้สามารถลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้าจากภายนอกได้
3.ช่วยเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนในประเทศ เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานขยะถือเป็นพลังงานทดแทน ดังนั้นการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะจึงสามารถช่วยให้ประเทศไทยในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน
ซึ่งแนวทางการกำจัดขยะดังกล่าว สอดคล้องกับการขยายธุรกิจของบมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) โดย “วสุ กลมเกลี้ยง” Executive Vice President ระบุว่า บริษัท อีเอ เวสท์ แมเนจเม้นท์ ภูเก็ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่ม EA ได้ชนะการประมูลโครงการกำจัดมูลฝอยด้วยระบบเตาเผาขนาดไม่น้อยกว่า 500 ตัน/วัน บนพื้นที่เกาะภูเก็ต และเมื่อวันที่ 20 ก.ย.66 ได้มีการลงนามสัญญากับเทศบาลนครภูเก็ต ร่วมลงทุนในรูปแบบ ลงทุน ก่อสร้างและบริหารโครงการในรูปแบบ BOT (Build Operate Transfer) (ก่อสร้าง-ดำเนินงาน-โอนสิทธิ) โดยใช้เทคโนโลยีระบบเตาเผาแบบตะกรับขนาดไม่น้อยกว่า 500 ตัน/วัน ผลิตไฟฟ้าได้ 9.9 เมกะวัตต์ บนพื้นที่ 24,000 ตารางเมตร (ประมาณ 15 ไร่) ระยะเวลาโครงการ 20 ปี ไม่รวมระยะเวลาก่อสร้าง โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท
โครงการดังกล่าวจะช่วยลดปัญหามลพิษ และการขาดแคลนพื้นที่ในการกำจัดมูลฝอยเพื่อใช้ในการฝังกลบ อีกทั้งเป็นการรองรับปริมาณขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกๆปี เทศบาลนครภูเก็ตตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นที่ปรึกษาในการศึกษาความเหมาะสมการให้เอกชนร่วมลงทุนกำจัดขยะมูลฝอย และออกแบบระบบเตาเผาขยะมูลฝอยสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อทดแทนระบบเตาเผาขยะมูลฝอยขนาด 250 ตันต่อวัน (ชุดเดิม) โดยได้คัดเลือกให้บริษัทร่วมดำเนินโครงการกำจัดมูลฝอยด้วยระบบเตาเผาขนาดไม่น้อยกว่า 500 ตันต่อวัน ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยเทศบาลนครภูเก็ต
สัญญาการลงทุนก่อสร้างและบริหารโครงการเป็นแบบเอกชนเป็นผู้ลงทุนและขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ในรูปแบบ VSPP ขนาด 8 เมกะวัตต์ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี และคาดว่าจะรับรู้รายได้ในช่วงปี 69 โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้า (FiT) 5.14 บาท/หน่วย และ Premium 0.70 บาท/หน่วย ในช่วง 8 ปีแรก รวมเป็น 5.84 บาท/หน่วย หลังดำเนินการ 20 ปี ทางบริษัทฯ จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่เทศบาลนครภูเก็ต
นอกจากนี้ บริษัทยังได้เริ่มดำเนินการโครงการกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อของเทศบาลนครภูเก็ต ซึ่งในปีที่ผ่านมาเทศบาลภูเก็ตมีขยะมูลฝอยติดเชื้อมากกว่า 600 ตันต่อปี โดยใช้เทคโนโลยีการกำจัดเชื้อด้วยไอน้ำ ตามกฎกระทรวงสาธารณสุข บริษัทฯ เห็นว่าธุรกิจนี้จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต เนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ตระหนักถึงการนำขยะติดเชื้อมากำจัดด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ดีของเกาะภูเก็ตที่ยั่งยืนต่อไป
โครงการนี้เป็นโครงการที่ 2 ต่อเนื่องจากโครงการกำจัดขยะชุมชนบนพื้นที่เกาะล้านที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี รวมไปถึงการเป็นโครงการต้นแบบที่ช่วยสนับสนุนในการนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น รถบรรทุกขยะไฟฟ้าของบริษัทฯ เข้ามาใช้ในพื้นที่ดังกล่าว และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ของ EA ในอนาคต
การท่องเที่ยวเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้ โดยทุกภาคส่วนให้ความสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า เป้าหมายรายได้จากการท่องเที่ยวในปีนี้อยู่ที่ 2.38 ล้านล้านบาท และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 28 ล้านคน ซึ่งเชื่อว่าจะทำได้ตามเป้าหมาย หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายฟรีวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวจีนและคาซัคสถาน ในช่วง ต.ค.-ธ.ค. 66
จังหวัดภูเก็ตนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ต่างชาติให้ความนิยมเป็นอันดับต้นๆของไทย ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตมากขึ้น สิ่งที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่จำนวนขยะมูลฝอยที่มีจำนวนมากขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ทั้งที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และขยะที่ต้องอาศัยการเผาทำลาย
“โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ” เป็นกระบวนการกำจัดขยะรูปแบบหนึ่ง จะได้ไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้และจัดเป็นพลังงานทดแทน (Renewable Energy) รูปแบบหนึ่ง
และยังมีประโยชน์ 1. ช่วยลดปริมาณขยะสะสมในประเทศ และการนำขยะมาใช้ในโรงไฟฟ้ายังเป็นการกำจัดขยะ และสร้างไฟฟ้าขึ้นเป็นผลพลอยได้
2. ลดปริมาณการนำเข้าพลังงาน เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากขยะเป็นการผลิตพลังงานในพื้นที่โดยใช้เชื้อเพลิง (ขยะ) ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ดังนั้น จึงทำให้สามารถลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้าจากภายนอกได้
3.ช่วยเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนในประเทศ เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานขยะถือเป็นพลังงานทดแทน ดังนั้นการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะจึงสามารถช่วยให้ประเทศไทยในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน
ซึ่งแนวทางการกำจัดขยะดังกล่าว สอดคล้องกับการขยายธุรกิจของบมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) โดย “วสุ กลมเกลี้ยง” Executive Vice President ระบุว่า บริษัท อีเอ เวสท์ แมเนจเม้นท์ ภูเก็ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่ม EA ได้ชนะการประมูลโครงการกำจัดมูลฝอยด้วยระบบเตาเผาขนาดไม่น้อยกว่า 500 ตัน/วัน บนพื้นที่เกาะภูเก็ต และเมื่อวันที่ 20 ก.ย.66 ได้มีการลงนามสัญญากับเทศบาลนครภูเก็ต ร่วมลงทุนในรูปแบบ ลงทุน ก่อสร้างและบริหารโครงการในรูปแบบ BOT (Build Operate Transfer) (ก่อสร้าง-ดำเนินงาน-โอนสิทธิ) โดยใช้เทคโนโลยีระบบเตาเผาแบบตะกรับขนาดไม่น้อยกว่า 500 ตัน/วัน ผลิตไฟฟ้าได้ 9.9 เมกะวัตต์ บนพื้นที่ 24,000 ตารางเมตร (ประมาณ 15 ไร่) ระยะเวลาโครงการ 20 ปี ไม่รวมระยะเวลาก่อสร้าง โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท
โครงการดังกล่าวจะช่วยลดปัญหามลพิษ และการขาดแคลนพื้นที่ในการกำจัดมูลฝอยเพื่อใช้ในการฝังกลบ อีกทั้งเป็นการรองรับปริมาณขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกๆปี เทศบาลนครภูเก็ตตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นที่ปรึกษาในการศึกษาความเหมาะสมการให้เอกชนร่วมลงทุนกำจัดขยะมูลฝอย และออกแบบระบบเตาเผาขยะมูลฝอยสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อทดแทนระบบเตาเผาขยะมูลฝอยขนาด 250 ตันต่อวัน (ชุดเดิม) โดยได้คัดเลือกให้บริษัทร่วมดำเนินโครงการกำจัดมูลฝอยด้วยระบบเตาเผาขนาดไม่น้อยกว่า 500 ตันต่อวัน ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยเทศบาลนครภูเก็ต
สัญญาการลงทุนก่อสร้างและบริหารโครงการเป็นแบบเอกชนเป็นผู้ลงทุนและขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ในรูปแบบ VSPP ขนาด 8 เมกะวัตต์ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี และคาดว่าจะรับรู้รายได้ในช่วงปี 69 โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้า (FiT) 5.14 บาท/หน่วย และ Premium 0.70 บาท/หน่วย ในช่วง 8 ปีแรก รวมเป็น 5.84 บาท/หน่วย หลังดำเนินการ 20 ปี ทางบริษัทฯ จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่เทศบาลนครภูเก็ต
นอกจากนี้ บริษัทยังได้เริ่มดำเนินการโครงการกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อของเทศบาลนครภูเก็ต ซึ่งในปีที่ผ่านมาเทศบาลภูเก็ตมีขยะมูลฝอยติดเชื้อมากกว่า 600 ตันต่อปี โดยใช้เทคโนโลยีการกำจัดเชื้อด้วยไอน้ำ ตามกฎกระทรวงสาธารณสุข บริษัทฯ เห็นว่าธุรกิจนี้จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต เนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ตระหนักถึงการนำขยะติดเชื้อมากำจัดด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ดีของเกาะภูเก็ตที่ยั่งยืนต่อไป
โครงการนี้เป็นโครงการที่ 2 ต่อเนื่องจากโครงการกำจัดขยะชุมชนบนพื้นที่เกาะล้านที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี รวมไปถึงการเป็นโครงการต้นแบบที่ช่วยสนับสนุนในการนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น รถบรรทุกขยะไฟฟ้าของบริษัทฯ เข้ามาใช้ในพื้นที่ดังกล่าว และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ของ EA ในอนาคต