Wealth Sharing
AMATA จับมือ BGRIM เปิดโซนยูโรเปี้ยน สมาร์ท ซิตี้ จัดพื้นที่ 200 ไร่ รับนักลงทุนไฮเทคจากยุโรปย้ายฐานเข้าไทย
13 กุมภาพันธ์ 2566
“อมตะ จับมือ บี.กริม เพาเวอร์” ร่วมศึกษา โครงการ “อมตะ ยูโรเปี้ยน สมาร์ทซิตี้” ในพื้นที่นิคมฯ อมตะซิตี้ ชลบุรี เตรียมจัดโซนพื้นที่ 200 ไร่รองรับการย้ายฐานการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงจากนักลงทุนยุโรปโดยเฉพาะ หลังจากมีโซนญี่ปุ่น จีน เกาหลี และไต้หวันแล้ว ลั่นช่วยหนุนการขับเคลื่อนสมาร์ท ซิตี้และการลงทุนในพื้นที่ EEC พร้อมเล็งขยายความร่วมมือสู่กลุ่มประเทศ CLMVT
นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เพื่อร่วมพัฒนาโครงการ “อมตะ ยูโรเปี้ยน สมาร์ท ซิตี้” (AMATA European Smart City) ใน อมตะซิตี้ ชลบุรี พื้นที่ 200 ไร่ ในการรองรับการลงทุนด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงหรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีศักยภาพจากกลุ่มประเทศทวีปยุโรป ซึ่งมีแนวโน้มการขยายฐานการผลิตมายังเอเชียมากขึ้น โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายสำคัญและยังมีส่วนทำให้เกิดการเติบโตของการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
“เอเชียกำลังเป็นตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพด้วยกำลังซื้อขนาดใหญ่ ซึ่งไม่เพียงแต่มองความร่วมมือในไทยแต่ยังมองหาโอกาสความเป็นไปได้ในการขยายความร่วมมือในโครงการที่ตั้งอยู่ในกลุ่มประเทศ CLMVT ที่มีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนกลุ่มประเทศยุโรปมายังภูมิภาคเอเชีย” นายวิกรม กล่าว
ทั้งนี้ไทยเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายของการลงทุนด้วยสิทธิประโยชน์และระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดี ซึ่งกลุ่มอมตะในฐานะผู้พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเอกชนที่ใหญ่สุดในประเทศไทยและปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 1,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากบริษัทต่างชาติ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ 80 ตารางกิโลเมตร ของเมืองอุตสาหกรรมในกลุ่มอมตะ มีกำลังการผลิตคิดเป็น10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) โดยพื้นที่นิคมฯ อมตะซิตี้ ชลบุรี ยังตั้งอยู่ในอีอีซี ประกอบกับ นิคมฯ อมตะซิตี้ ชลบุรี ได้พัฒนาภายใต้แนวคิด “เมืองอัจฉริยะ” (AMATA Smart City) ดังนั้นความร่วมมือครั้งนี้ จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอมตะ ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดโซนพื้นที่สำหรับรองรับกลุ่มการลงทุนประเทศต่างๆ ประกอบด้วยพื้นที่โซนญี่ปุ่น จีน เกาหลี และไต้หวัน
“ความร่วมมือครั้งนี้กลุ่มอมตะ จะเป็นฝ่ายจัดเตรียมข้อมูลด้านที่ดินและการทำตลาด ที่จะนำไปสู่การพัฒนาโครงการในอนาคต ซึ่งนับเป็นความคืบหน้าของการพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะของกลุ่มที่พัฒนาผ่าน 15 โครงการ อาทิ พลังงานอัจฉริยะ การเดินทางอัจฉริยะ การผลิตอัจฉริยะ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งขอบเขตการศึกษาในพื้นที่เพื่อ จัดโซนให้กับกลุ่มประเทศยุโรป ถือเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับกลุ่มผู้ประกอบการจากยุโรปที่มี
เทคโนโลยีและนวัตกรรมชั้นสูง และมีแนวโน้มการขยายฐานการผลิตเข้ามาสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น โดยเฉพาะไทย ซึ่งมีความได้เปรียบในด้านของภูมิศาสตร์ ที่มีศักยภาพเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและยังมีความพร้อมในเรื่องแรงงาน ระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัยไม่ว่าจะเป็นระบบโลจิสติกส์ น้ำ ไฟฟ้า รวมถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ” นายวิกรม กล่าว
ทั้งนี้การพัฒนาสมาร์ท ซิตี้ เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรม ที่จะนำไปสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำในระยะยาวตามทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดรับกับแนวทางของกลุ่มอมตะ ที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 40 ปี ให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าที่ไม่ก่อมลพิษ พร้อมการก้าวไปสู่เป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ภายในปี 2040
ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “อมตะ เป็นพันธมิตรทางธุรกิจเจ้าแรกของบี.กริม ที่ร่วมกันศึกษาและบุกเบิกอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบัน บี.กริม ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมใน นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี) และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ระยอง) รวมทั้งหมด 10 โครงการ กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 1,321 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ยังสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยดำเนินโครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคา (Solar rooftop) ให้แก่กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ทั้ง 2 แห่ง ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ “GreenLeap – Global and Green” ของบี.กริม เพาเวอร์ ในปีนี้ ที่มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนและปลอดภัย มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการดำเนินธุรกิจของ บี.กริม เพาเวอร์ ในการ ‘สร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี’”
“สำหรับความร่วมมือในการศึกษาแนวทางพัฒนาโครงการในครั้งนี้ บี.กริม มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและนวัตกรรมด้านพลังงาน ด้วยการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เพิ่มการกักเก็บพลังงานสะอาด ด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและนวัตกรรมที่ทันสมัย เสริมศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจให้กับกลุ่มลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม อมตะ ยูโรเปี้ยน สมาร์ท ซิตี้ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศ ขยายการเติบโตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อันส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ก้าวสู่เป้าหมายสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจกในระยะยาว พร้อมบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero Carbon Emissions ภายในปี 2050” ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวเสริม
ความร่วมมือดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 2 ปี หรือสิ้นสุดวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการลงทุนจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ที่เตรียมไว้ 200 ไร่ รวมถึงการมองคลัสเตอร์อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพที่จะเข้ามาซึ่งโครงการนี้จะมีส่วนสำคัญในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) มายังไทยเพิ่มขึ้น
นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เพื่อร่วมพัฒนาโครงการ “อมตะ ยูโรเปี้ยน สมาร์ท ซิตี้” (AMATA European Smart City) ใน อมตะซิตี้ ชลบุรี พื้นที่ 200 ไร่ ในการรองรับการลงทุนด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงหรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีศักยภาพจากกลุ่มประเทศทวีปยุโรป ซึ่งมีแนวโน้มการขยายฐานการผลิตมายังเอเชียมากขึ้น โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายสำคัญและยังมีส่วนทำให้เกิดการเติบโตของการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
“เอเชียกำลังเป็นตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพด้วยกำลังซื้อขนาดใหญ่ ซึ่งไม่เพียงแต่มองความร่วมมือในไทยแต่ยังมองหาโอกาสความเป็นไปได้ในการขยายความร่วมมือในโครงการที่ตั้งอยู่ในกลุ่มประเทศ CLMVT ที่มีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนกลุ่มประเทศยุโรปมายังภูมิภาคเอเชีย” นายวิกรม กล่าว
ทั้งนี้ไทยเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายของการลงทุนด้วยสิทธิประโยชน์และระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดี ซึ่งกลุ่มอมตะในฐานะผู้พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเอกชนที่ใหญ่สุดในประเทศไทยและปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 1,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากบริษัทต่างชาติ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ 80 ตารางกิโลเมตร ของเมืองอุตสาหกรรมในกลุ่มอมตะ มีกำลังการผลิตคิดเป็น10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) โดยพื้นที่นิคมฯ อมตะซิตี้ ชลบุรี ยังตั้งอยู่ในอีอีซี ประกอบกับ นิคมฯ อมตะซิตี้ ชลบุรี ได้พัฒนาภายใต้แนวคิด “เมืองอัจฉริยะ” (AMATA Smart City) ดังนั้นความร่วมมือครั้งนี้ จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอมตะ ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดโซนพื้นที่สำหรับรองรับกลุ่มการลงทุนประเทศต่างๆ ประกอบด้วยพื้นที่โซนญี่ปุ่น จีน เกาหลี และไต้หวัน
“ความร่วมมือครั้งนี้กลุ่มอมตะ จะเป็นฝ่ายจัดเตรียมข้อมูลด้านที่ดินและการทำตลาด ที่จะนำไปสู่การพัฒนาโครงการในอนาคต ซึ่งนับเป็นความคืบหน้าของการพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะของกลุ่มที่พัฒนาผ่าน 15 โครงการ อาทิ พลังงานอัจฉริยะ การเดินทางอัจฉริยะ การผลิตอัจฉริยะ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งขอบเขตการศึกษาในพื้นที่เพื่อ จัดโซนให้กับกลุ่มประเทศยุโรป ถือเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับกลุ่มผู้ประกอบการจากยุโรปที่มี
เทคโนโลยีและนวัตกรรมชั้นสูง และมีแนวโน้มการขยายฐานการผลิตเข้ามาสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น โดยเฉพาะไทย ซึ่งมีความได้เปรียบในด้านของภูมิศาสตร์ ที่มีศักยภาพเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและยังมีความพร้อมในเรื่องแรงงาน ระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัยไม่ว่าจะเป็นระบบโลจิสติกส์ น้ำ ไฟฟ้า รวมถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ” นายวิกรม กล่าว
ทั้งนี้การพัฒนาสมาร์ท ซิตี้ เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรม ที่จะนำไปสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำในระยะยาวตามทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดรับกับแนวทางของกลุ่มอมตะ ที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 40 ปี ให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าที่ไม่ก่อมลพิษ พร้อมการก้าวไปสู่เป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ภายในปี 2040
ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “อมตะ เป็นพันธมิตรทางธุรกิจเจ้าแรกของบี.กริม ที่ร่วมกันศึกษาและบุกเบิกอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบัน บี.กริม ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมใน นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี) และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ระยอง) รวมทั้งหมด 10 โครงการ กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 1,321 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ยังสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยดำเนินโครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคา (Solar rooftop) ให้แก่กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ทั้ง 2 แห่ง ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ “GreenLeap – Global and Green” ของบี.กริม เพาเวอร์ ในปีนี้ ที่มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนและปลอดภัย มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการดำเนินธุรกิจของ บี.กริม เพาเวอร์ ในการ ‘สร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี’”
“สำหรับความร่วมมือในการศึกษาแนวทางพัฒนาโครงการในครั้งนี้ บี.กริม มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและนวัตกรรมด้านพลังงาน ด้วยการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เพิ่มการกักเก็บพลังงานสะอาด ด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและนวัตกรรมที่ทันสมัย เสริมศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจให้กับกลุ่มลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม อมตะ ยูโรเปี้ยน สมาร์ท ซิตี้ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศ ขยายการเติบโตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อันส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ก้าวสู่เป้าหมายสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจกในระยะยาว พร้อมบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero Carbon Emissions ภายในปี 2050” ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวเสริม
ความร่วมมือดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 2 ปี หรือสิ้นสุดวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการลงทุนจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ที่เตรียมไว้ 200 ไร่ รวมถึงการมองคลัสเตอร์อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพที่จะเข้ามาซึ่งโครงการนี้จะมีส่วนสำคัญในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) มายังไทยเพิ่มขึ้น