จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทกระตุ้นศก. การพัฒนาตลาดบล็อกเชนหนุน TPS
10 ตุลาคม 2566
นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนของรัฐบาล หนุนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย ส่งผลดีต่อ บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) โดย CEO มั่นใจผลงานปีนี้เติบโตต่อเนื่อง พร้อมเข้าประมูลงานภาครัฐ มุ่งสู่การเป็น เทค-คอมพานีอย่างครบวงจร
เงินดิจิทัลวอลเล็ทแม้ว่าจะยังมีการถกเถียงกันถึงความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ แต่ในที่สุดนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โดยมีนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เป็นประธานในคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เพื่อพิจารณารายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ และเสนอให้คณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณาเห็นชอบโดยเร็วต่อไป
ซึ่งการเดินหน้าโครงการดังกล่าว จะมีส่วนกระตุ้นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่การแจกเงินดิจิทัลครั้งนี้ รัฐบาลจะดำเนินการผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยจะไม่จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่น "เป๋าตัง" คาดว่าจะดำเนินการได้ภายในวันที่ 1 ก.พ.67 หรือภายในไตรมาส 1/2567 เพื่อให้ทันกับการกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ให้คนไทยจะเดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัดเพื่อไปใช้จ่าย
และยังหนุนการเติบโตของ บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TPS “บุญสม กิจเกษตรสถาพร” ระบุ แนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/2566 ยังมีทิศทางที่ดี เนื่องจากบริษัทฯ มีแผนส่งมอบงานขนาดใหญ่ และทยอยรับรู้รายได้จากงานในมือ ซึ่งปัจจุบันมีงานในมือที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) กว่า 2,536 ล้านบาท และคาดว่า จะสามารถรับรู้รายได้ในปีนี้ประมาณ 30%
ขณะเดียวกันบริษัทยังอยู่ระหว่างเตรียมเข้าประมูลงานใหม่ มูลค่ารวม 4,400 ล้านบาท จึงมั่นใจว่า ผลงานในปีนี้จะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด และสร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องจากปีก่อน
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจ TPS และ บริษัท เดอะวิน เทเลคอม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ยังเดินหน้าเข้าประมูลงานใหม่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะงานภาครัฐที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากภาครัฐ 32% และภาคเอกชน 68%
ส่วนธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) และบล็อกเชน (Blockchain) บริษัทได้เร่งขยายการให้บริการอย่างครบวงจร เพื่อให้บริการครอบคลุมในกลุ่มลูกค้าเดิม และการขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มเติม
"เรามั่นใจว่า ผลประกอบการในไตรมาส 3/2566 และภาพรวมของครึ่งปีหลัง ยังมีการเติบโตที่ดีอย่างแน่นอน เนื่องจาก TPS และบริษัทย่อย มีการเข้าประมูลงานใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อมาเติม Backlog ที่มีอยู่ ประกอบกับ บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีอยู่แล้ว จึงได้มีการต่อยอดไปยังธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) และบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งเป็นเทรนด์ความต้องการของทุกๆ หน่วยงานในตอนนี้ เพื่อมุ่งสู่การเป็น เทค-คอมพานี (Tech company) อย่างครบวงจร" นายบุญสม กล่าว
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีแผนเข้าซื้อกิจการ (M&A) ในธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก คาดว่า จะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับสมาร์ทซิตี้ของภาครัฐ ขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาการเข้าลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นได้ในอนาคต
เงินดิจิทัลวอลเล็ทแม้ว่าจะยังมีการถกเถียงกันถึงความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ แต่ในที่สุดนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โดยมีนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เป็นประธานในคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เพื่อพิจารณารายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ และเสนอให้คณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณาเห็นชอบโดยเร็วต่อไป
ซึ่งการเดินหน้าโครงการดังกล่าว จะมีส่วนกระตุ้นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่การแจกเงินดิจิทัลครั้งนี้ รัฐบาลจะดำเนินการผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยจะไม่จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่น "เป๋าตัง" คาดว่าจะดำเนินการได้ภายในวันที่ 1 ก.พ.67 หรือภายในไตรมาส 1/2567 เพื่อให้ทันกับการกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ให้คนไทยจะเดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัดเพื่อไปใช้จ่าย
และยังหนุนการเติบโตของ บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TPS “บุญสม กิจเกษตรสถาพร” ระบุ แนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/2566 ยังมีทิศทางที่ดี เนื่องจากบริษัทฯ มีแผนส่งมอบงานขนาดใหญ่ และทยอยรับรู้รายได้จากงานในมือ ซึ่งปัจจุบันมีงานในมือที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) กว่า 2,536 ล้านบาท และคาดว่า จะสามารถรับรู้รายได้ในปีนี้ประมาณ 30%
ขณะเดียวกันบริษัทยังอยู่ระหว่างเตรียมเข้าประมูลงานใหม่ มูลค่ารวม 4,400 ล้านบาท จึงมั่นใจว่า ผลงานในปีนี้จะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด และสร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องจากปีก่อน
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจ TPS และ บริษัท เดอะวิน เทเลคอม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ยังเดินหน้าเข้าประมูลงานใหม่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะงานภาครัฐที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากภาครัฐ 32% และภาคเอกชน 68%
ส่วนธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) และบล็อกเชน (Blockchain) บริษัทได้เร่งขยายการให้บริการอย่างครบวงจร เพื่อให้บริการครอบคลุมในกลุ่มลูกค้าเดิม และการขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มเติม
"เรามั่นใจว่า ผลประกอบการในไตรมาส 3/2566 และภาพรวมของครึ่งปีหลัง ยังมีการเติบโตที่ดีอย่างแน่นอน เนื่องจาก TPS และบริษัทย่อย มีการเข้าประมูลงานใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อมาเติม Backlog ที่มีอยู่ ประกอบกับ บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีอยู่แล้ว จึงได้มีการต่อยอดไปยังธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) และบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งเป็นเทรนด์ความต้องการของทุกๆ หน่วยงานในตอนนี้ เพื่อมุ่งสู่การเป็น เทค-คอมพานี (Tech company) อย่างครบวงจร" นายบุญสม กล่าว
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีแผนเข้าซื้อกิจการ (M&A) ในธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก คาดว่า จะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับสมาร์ทซิตี้ของภาครัฐ ขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาการเข้าลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นได้ในอนาคต