จิปาถะ

คุยกับคนแปลกหน้าอย่างไรไม่ให้เขิน


16 ตุลาคม 2566

ทำให้เกิดความอยากรู้และความสนใจ
การคุยกับคนแปลกหน้า วัตถุประสงค์หลักข้อหนึ่งคือการดึงความสนใจของอีกฝ่าย คุณมีโอกาสชักพาการพูดคุยไปในทิศทางที่ต้องการเมื่อพวกเขาเกิดความสนใจบทสนทนาเท่านั้น และวิธีนั้นก็คือการทำให้พวกเขาเกิดความอยากรู้หรือสนใจในสิ่งที่คุณพูด ด้วยการพูดถึงเรื่องราวหรือข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ

คุยกับคนแปลกหน้าอย่างไรไม่ให้เขิน.jpg

เราชักนำจินตนการด้วยคำพูดที่ใช้ และจินตนาการก็ทำให้เราสร้างความสัมพันธ์ที่น่าทึ่งกับคนอื่นได้ คำพูดอย่าง “รู้มั้ยว่า…” หรือ “ไม่แน่ใจว่าคุณเคยได้ยินเรื่องนี้หรือเปล่า แต่…” ล้วนเป็นคำเกริ่นที่นำไปสู่สิ่งที่ควรจะเป็นคำถามหรือประโยคที่ทำให้เกิดความอยากรู้หรือความสนใจ
การเปิดฉากคำพูดอย่าง “ถ้าต้อง…” หรือ “เวลาที่นึกถึง…” ยังกระตุ้นให้อีกฝ่ายเริ่มจินตนาการถึงสิ่งที่คุณกำลังจะบอกด้วย เช่น “ถ้าต้องไปเที่ยวพักผ่อนแถบแคริบเบียนนานนับเดือน วันๆ คุณจะทำอะไรบ้าง”
วิธีนี้จะทำให้อีกฝ่ายรู้ว่าพวกเขาต้องจินตนาการถึงสิ่งที่คุณกำลังจะบอกด้วยคำตอบที่เข้าท่า และทำให้เรารู้ว่าอีกฝ่ายจะจินตนาการถึงเรื่องแบบไหน เรื่องดีๆ หรือเรื่องแย่ๆ และหมายความว่าเรายังชักนำภาวะทางอารมณ์ของพวกเขาให้เป็นไปตามแนวทางที่ต้องการด้วยคำพูดที่ใช้ด้วย

สร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจ
อีกฝ่ายต้องรู้สึกว่าตัวเองกับคุณมีความเหมือนกันในระดับหนึ่ง เช่น มีความชอบคล้ายกัน ทำงานในสายงานเดียวกัน สนใจในเรื่องแฟชั่นเหมือนกัน และรู้สึกว่าคุณมีค่านิยมแบบเดียวกันหรือคิดคล้ายๆ กัน ถึงจะนำพาการสนทนาไปในทิศทางที่ต้องการได้ การใช้คำสำคัญ การใช้ความเร็วในการพูดมีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์เช่นกัน
สำหรับเรื่องการขายบ้าน เรามักจะพูดถึง “ทำเล” เพราะทำเลคือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องนำมาพิจารณา ส่วนเรื่องของการสื่อสารเรามักจะพูดถึง “การฟัง” การสื่อสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับการฟังมากกว่าถ้อยคำที่พูด
และจงเลี่ยงการตั้งคำถามให้อีกฝ่ายตอบเยอะเกินไป มันจะดูเหมือนการไต่สวนมากกว่า และการสนทนาไม่มีทางลื่นไหลอย่างแน่นอน มันคือการสื่อสารทางเดียวล้วนๆ ควรใช้เรื่องราวเป็นตัวที่ทำให้บทสนทนาลื่นไหว เช่น “คุณทำแบบนั้นได้ยังไง” “คุณทำแบบนั้นทำไม” “มันทำให้คุณรู้สึกยังไง” แล้วจินตนาการว่าคุณอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับที่เขาเล่าอยู่ ยิ่งทำให้บทสนทนาลื่นไหลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดจุดสนใจร่วมมากขึ้นเท่านั้น และนั่นคือจุดที่เกิดความสัมพันธ์

ชักนำให้อีกฝ่ายตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง
ถ้าจะให้อีกฝ่ายตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง ก็ต้องทำให้พวกเขารู้สึกกระตือรือร้นกับมัน และคุณก็ต้องกระตือรือร้นกับมันด้วย โดยผ่านการสื่อสารของตัวเอง ผ่านนำเสียง ภาษากาย และคำพูดที่ใช้ เช่นการขายสินค้าให้กับลูกค้าหน้าใหม่
ขั้นตอนที่สำคัญคือต้องทำให้มันดูเหมือนเป็นของหายาก คือมีจำนวนจำกัดหรือมีเวลาตัดสินใจจำกัด การทำให้อีกฝ่ายใช้ความพยายามเพื่อให้ได้มันมาก็เป็นวิธีที่ช่วยได้เช่นกัน คุณอาจใช้คำพูดว่า “ไม่ค่อยแน่ใจว่ามันจะเหมาะกับคุณหรือเปล่า” เป็นการให้โอกาสให้การพิสูจน์กับพวกเขา เพราะคนเราชอบพิสูจน์ว่าตัวเองควรจะได้รับสิทธิ์ การเห็นชอบ หรือการยอมรับ


ข้อมูลจาก : หนังสือพูดแบบนี้คนเข้าใจคุยแบบนี้ใครก็ชอบ