จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : กยท. ชี้ยางดีมานด์พุ่ง ผลผลิตลด หนุนธุรกิจ TEGH โตแกร่ง
13 กุมภาพันธ์ 2566
สถานการณ์ราคายางปรับตัวดีขึ้นคาดขยายตัว 5% จากการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์และถุงมือยาง หนุนธุรกิจ บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) ขยายตัวแข็งแกร่ง ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้เติบโตกว่า 10%
น.ส.อธิวีณ์ แดงกนิษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) กล่าวว่า Association of Natural Rubber Production Countries (ANRPC) ซึ่งเป็นสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ คาดปริมาณการใช้จะอยู่ที่ 15.563 ล้านตัน มีการขยายตัวอยู่ที่ 5% ตามความต้องการตลาดโลกที่คาดว่าอุตสาหกรรมยานยนต์โลกและอุตสาหกรรมถุงมือยางเติบโตสูงขึ้น ถือเป็นปัจจัยบวกต่อราคายางโลก ขณะที่ คาดปริมาณผลผลิตยางโลกมีประมาณ 14.310 ล้านตัน เนื่องจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน โรคระบาด และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change)
สำหรับสถานการณ์ยางของไทยไตรมาสที่ 1/66 คาดว่า ผลผลิตมีแนวโน้มลดลง หลังเดือนม.ค.ที่ผ่านมาลดลงกว่าที่คาดไว้ 26% เนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนตกชุกต่อเนื่องตั้งแต่เดือนม.ค. และสถานการณ์ระบาดของโรคใบร่วง จึงทำให้เข้าสู่ฤดูปิดกรีดยางเร็วขึ้นกว่าปีก่อน
ส่วนปริมาณการส่งออกยางของไทยในปี 66 จะอยู่ที่ประมาณ 4.403 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากการใช้ยางในประเทศขยายตัวสูงขึ้น 9.9% หรือมีปริมาณใช้ยางประมาณ 1.040 ล้านตัน
ราคายางที่ปรับตัวสูงขึ้นในปีนี้ ส่งผลต่อบมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) ที่มีรายได้หลักมาจาการธุรกิจยาง โดย กรรมการผู้จัดการ TEGH “สินีนุช โกกนุทาภรณ์” กล่าวถึงแผนธุรกิจปี 66 บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตมากกว่า 10% จากปีก่อน โดยสัดส่วนรายได้จาก 3 ธุรกิจหลักจะใกล้เคียงกับที่ผ่านมา คือ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติ 75%, ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ 24% และธุรกิจด้านผลิตพลังงานทดแทนและการบริหารจัดการกากอินทรีย์และธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจร่วมทุนและธุรกิจโลจิสติกส์ 1% แต่ประเมินว่ากลุ่มธุรกิจน้ำมันปาล์มดิบจะสามาถพลิกมาทำกำไรได้จากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพลังงานทดแทนจะมีทิศทางที่ดีจะดีขึ้น จากการขยายกำลังการผลิต
สำหรับแผนธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติปีนี้ บริษัทฯมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตยางแท่งอีก 130,000 ตัน/ปี จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิต 320,000 ตัน/ปี คาดว่าจะ COD ได้ในปี 2567 ซึ่งกลยุทธ์จะยังคงเน้นการผลิตสินค้าเกรดพรีเมี่ยมและจะให้ความสำคัญกับสินค้ามาตรฐานความยั่งยืน (FSC) ที่ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้ โดยวอลุ่มขายยางแท่ง FSC เติบโตขึ้นและมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าทำสัญญาตลอดทั้งปีแล้ว
นอกจากนี้ บริษัทฯมีแผนขยายฐานลูกค้ากลุ่มยางแท่งไปยังตลาดอินเดียและจีนมากขึ้น จากปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดในอินเดียอยู่ที่ 10% และจีน อยู่ที่ 8% โดยคาดว่าในปีนี้จะมีลูกค้ารายใหม่ได้ตามเป้า เนื่องจากกลุ่มประเทศดังกล่าวมีดีมานด์สูง โดยในช่วงต้นปีเริ่มมีสัญญาณที่ดีจากลูกค้าและราคายางแท่งที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นผลจากจีนเปิดประเทศ และตลาดรถยนต์ EV ที่เติบโตขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลดีต่อสินค้ายางแท่ง ซึ่งตั้งเป้าสัดส่วนการส่งออกของกลุ่มธุรกิจยางยังคงเป็นในประเทศ 50% และต่างประเทศ 50%
ส่วนธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ บริษัทฯคาดว่าปีนี้จะกลับมาเทิร์นอะราวด์ หลังจากโครงการติดตั้ง Boiler ลูกใหม่จะแล้วเสร็จในไตรมาส 4/66 ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น โดยคาดปริมาณการขายน่าจะเติบโตขึ้นจากปีก่อน และความสามารถในการทำกำไรจะดีขึ้นจากตัวเลขเปอร์เซ็นต์การสกัดน้ำมันปาล์มดิบ (%OER) ที่สูงขึ้น โดยกลุ่มฐานลูกค้ายังคงเหมือนเดิม แต่บริษัทฯจะเพิ่มธุรกรรมซื้อมาขายไปมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิตในอนาคต
"ขณะที่ธุรกิจด้านผลิตพลังงานทดแทนและการบริหารจัดการกากอินทรีย์ คาดว่ารายได้จะเติบโตขึ้น จากโครงการขยายกำลังการผลิตก๊าซชีวภาพ ระยะที่ 1 ที่คาดว่าจะ COD ได้ในช่วงต้นไตรมาส 1/66 ซึ่งจะสามารถรับกากอินทรีย์ได้เพิ่มขึ้นอีกวันละ 300 ตัน ทำให้บริษัทฯ มีความสามารถในการรับบริหารจัดการกากอินทรีย์ รวมเป็น 720,000 ตันต่อปี และผลิตก๊าซชีวภาพได้เพิ่มขึ้นอีกวันละ 30,000 ลูกบาศก์เมตร ทำให้กำลังการผลิตก๊าซชีวภาพรวมเพิ่มเป็น 34 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี" นางสาวสินีนุช กล่าว
น.ส.อธิวีณ์ แดงกนิษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) กล่าวว่า Association of Natural Rubber Production Countries (ANRPC) ซึ่งเป็นสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ คาดปริมาณการใช้จะอยู่ที่ 15.563 ล้านตัน มีการขยายตัวอยู่ที่ 5% ตามความต้องการตลาดโลกที่คาดว่าอุตสาหกรรมยานยนต์โลกและอุตสาหกรรมถุงมือยางเติบโตสูงขึ้น ถือเป็นปัจจัยบวกต่อราคายางโลก ขณะที่ คาดปริมาณผลผลิตยางโลกมีประมาณ 14.310 ล้านตัน เนื่องจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน โรคระบาด และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change)
สำหรับสถานการณ์ยางของไทยไตรมาสที่ 1/66 คาดว่า ผลผลิตมีแนวโน้มลดลง หลังเดือนม.ค.ที่ผ่านมาลดลงกว่าที่คาดไว้ 26% เนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนตกชุกต่อเนื่องตั้งแต่เดือนม.ค. และสถานการณ์ระบาดของโรคใบร่วง จึงทำให้เข้าสู่ฤดูปิดกรีดยางเร็วขึ้นกว่าปีก่อน
ส่วนปริมาณการส่งออกยางของไทยในปี 66 จะอยู่ที่ประมาณ 4.403 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากการใช้ยางในประเทศขยายตัวสูงขึ้น 9.9% หรือมีปริมาณใช้ยางประมาณ 1.040 ล้านตัน
ราคายางที่ปรับตัวสูงขึ้นในปีนี้ ส่งผลต่อบมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) ที่มีรายได้หลักมาจาการธุรกิจยาง โดย กรรมการผู้จัดการ TEGH “สินีนุช โกกนุทาภรณ์” กล่าวถึงแผนธุรกิจปี 66 บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตมากกว่า 10% จากปีก่อน โดยสัดส่วนรายได้จาก 3 ธุรกิจหลักจะใกล้เคียงกับที่ผ่านมา คือ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติ 75%, ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ 24% และธุรกิจด้านผลิตพลังงานทดแทนและการบริหารจัดการกากอินทรีย์และธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจร่วมทุนและธุรกิจโลจิสติกส์ 1% แต่ประเมินว่ากลุ่มธุรกิจน้ำมันปาล์มดิบจะสามาถพลิกมาทำกำไรได้จากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพลังงานทดแทนจะมีทิศทางที่ดีจะดีขึ้น จากการขยายกำลังการผลิต
สำหรับแผนธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติปีนี้ บริษัทฯมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตยางแท่งอีก 130,000 ตัน/ปี จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิต 320,000 ตัน/ปี คาดว่าจะ COD ได้ในปี 2567 ซึ่งกลยุทธ์จะยังคงเน้นการผลิตสินค้าเกรดพรีเมี่ยมและจะให้ความสำคัญกับสินค้ามาตรฐานความยั่งยืน (FSC) ที่ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้ โดยวอลุ่มขายยางแท่ง FSC เติบโตขึ้นและมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าทำสัญญาตลอดทั้งปีแล้ว
นอกจากนี้ บริษัทฯมีแผนขยายฐานลูกค้ากลุ่มยางแท่งไปยังตลาดอินเดียและจีนมากขึ้น จากปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดในอินเดียอยู่ที่ 10% และจีน อยู่ที่ 8% โดยคาดว่าในปีนี้จะมีลูกค้ารายใหม่ได้ตามเป้า เนื่องจากกลุ่มประเทศดังกล่าวมีดีมานด์สูง โดยในช่วงต้นปีเริ่มมีสัญญาณที่ดีจากลูกค้าและราคายางแท่งที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นผลจากจีนเปิดประเทศ และตลาดรถยนต์ EV ที่เติบโตขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลดีต่อสินค้ายางแท่ง ซึ่งตั้งเป้าสัดส่วนการส่งออกของกลุ่มธุรกิจยางยังคงเป็นในประเทศ 50% และต่างประเทศ 50%
ส่วนธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ บริษัทฯคาดว่าปีนี้จะกลับมาเทิร์นอะราวด์ หลังจากโครงการติดตั้ง Boiler ลูกใหม่จะแล้วเสร็จในไตรมาส 4/66 ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น โดยคาดปริมาณการขายน่าจะเติบโตขึ้นจากปีก่อน และความสามารถในการทำกำไรจะดีขึ้นจากตัวเลขเปอร์เซ็นต์การสกัดน้ำมันปาล์มดิบ (%OER) ที่สูงขึ้น โดยกลุ่มฐานลูกค้ายังคงเหมือนเดิม แต่บริษัทฯจะเพิ่มธุรกรรมซื้อมาขายไปมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิตในอนาคต
"ขณะที่ธุรกิจด้านผลิตพลังงานทดแทนและการบริหารจัดการกากอินทรีย์ คาดว่ารายได้จะเติบโตขึ้น จากโครงการขยายกำลังการผลิตก๊าซชีวภาพ ระยะที่ 1 ที่คาดว่าจะ COD ได้ในช่วงต้นไตรมาส 1/66 ซึ่งจะสามารถรับกากอินทรีย์ได้เพิ่มขึ้นอีกวันละ 300 ตัน ทำให้บริษัทฯ มีความสามารถในการรับบริหารจัดการกากอินทรีย์ รวมเป็น 720,000 ตันต่อปี และผลิตก๊าซชีวภาพได้เพิ่มขึ้นอีกวันละ 30,000 ลูกบาศก์เมตร ทำให้กำลังการผลิตก๊าซชีวภาพรวมเพิ่มเป็น 34 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี" นางสาวสินีนุช กล่าว