จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : รัฐบาลกระตุ้นหน่วยงานรัฐใช้รถ EV ดันผลงาน AMR “สถานีอัดประจุไฟฟ้า”
17 ตุลาคม 2566
รัฐบาลประกาศให้หน่วยงานภาครัฐ ปรับเปลี่ยนใช้รถพลังงานไฟฟ้าแทนรถยนต์สันดาป สนับสนุนนโยบาย 30@30 หรือเป้าหมายผลิตอีวีได้อย่างน้อย 30% ภายในปี 2030 และยังส่งผลดีต่อธุรกิจบมจ.เอเอ็มอาร์ เอเซีย (AMR) ผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า
การสนับสนุนและส่งเสริมใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นนโยบายที่ทุกรัฐบาลสานต่อและกระตุ้นให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของไทยที่ยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่และด้วยทุกวิถีทาง เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี 2065 ด้วยการสนับสนุนด้านการเงินและเทคโนโลยีอย่างเต็มที่และเท่าเทียม จะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของไทยเป็นศูนย์ได้ภายในปี 2050
และล่าสุดในยุครัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” ก็ดำเนินนโยบายนี้อย่างต่อเนื่อง โดยนางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุ “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ได้สั่งการถึงมาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยเฉพาะหน่วยงานในภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการผลักดันการใช้และผลิตรถยนต์อีวีตามนโยบาย 30@30 คือ เป้าหมายต้องผลิตอีวีได้อย่างน้อย 30% ภายในปี 2030
โดยนายกรัฐมนตรีขอให้ทุกส่วนราชการจัดซื้อจัดจ้างรถ EV แทนรถยนต์ที่หมดอายุ รวมถึงการจัดซื้อหรือเช่ารถ EV ด้วย โดยให้กระทรวงคมนาคม ร่วมกับกระทรวงคลัง กำหนดมาตรการส่งเสริมรถยนต์สาธารณะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นแท็กซี่ รถสามล้อ ให้เปลี่ยนเป็นรถ EV และการส่งเสริมการผลิตแบตเตอรี่ การสร้างโครงข่ายสถานีชาร์จต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งในที่ประชุม ครม.ได้ตั้งข้อสังเกตถึงผลกระทบมาตรการของรถ EV ที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดรถมือสอง ซึ่งขอให้มีการพิจารณาแนวทางที่ครอบคลุมส่วนนี้ด้วย
การกระตุ้นและส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงาน ส่งผลดีต่อ บมจ.เอเอ็มอาร์ เอเซีย (AMR) ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับEV โดย “พฤทธิพงษ์ ธาราพิมาณ” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการขายด้าน ITS บมจ.AMR ระบุว่า บริษัทได้พัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับการให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) ภายใต้แบรนด์ "MaCharge" หลังภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้ายังคงเป็นเมกะเทรนด์ของโลก และมีแนวโน้มยอดขายเติบโตได้ดีในอนาคต ซึ่งบริษัทวางแผนติดตั้ง MaCharge ทั่วประเทศ ทั้งนี้บริษัทคาดรับรู้รายได้จากกลุ่มธุรกิจ MaCharge 100 ล้านบาทภายในปี 67 ซึ่งจะเป็นธุรกิจที่เป็น recurring income ของบริษัทฯ ต่อไป
โดยกลุ่มธุรกิจ MaCharge ประกอบด้วย MaCharge battery swapping station สถานีสับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า ,Solar, Energy Management System ,SmartEZ app รวมทั้ง MaCharge Ac และ DC Charger ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เปิดตัวเมื่อไม่นานนี้
สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ MaCharge AC และ DC Charger เป็นสถานีชาร์จรถไฟฟ้าเพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มมากขึ้น โดยบริษัทได้ผลิตและพัฒนาระบบ DCA หรือ Dynamic Charger Adjustment เป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นระบบการปรับเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าโดยอัตโนมัติสำหรับป้องกันการ overload ของไฟฟ้าภายในบ้าน สร้างความมั่นใจและความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังผลิตซอร์ฟแวร์ของตัวเองซึ่งจะสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้าที่ต่างกันแต่ละกลุ่มได้
ในระยะแรกบริษัทฯ ได้ดำเนินการติดตั้ง MaCharge AC Charger บนพื้นที่สำนักงานใหญ่ ประชาชื่น เพื่อรองรับการใช้งานของประชาชนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง ก่อนขยายสู่พื้นที่อื่นๆ ในกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงพื้นที่ตามหัวเมืองและสถานที่ท่องเที่ยวในต่างจังหวัด เพื่อให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยคาดว่าสิ้นปีนี้จะเริ่มเห็น SandBox ของกลุ่มธุรกิจ MaCharge ในพื้นที่กลุ่มลูกค้าเก่าของบริษัทประมาณ 1-2 จุด และจะเริ่มรับรู้รายได้ในปีหน้าเป็นต้นไป ซึ่งคาดว่ากลุ่มธุรกิจ MaCharge จะมีสัดส่วนรายได้ประมาณ 5% ของรายได้รวมบริษัท
ทั้งนี้แนวโน้มครึ่งปีหลัง ธุรกิจ AMR น่าจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก ซึ่งมีรายได้รวม 485.9 ล้านบาท ลดลง 304.2 ล้านบาท หรือ ลดลง 38.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากบริษัทได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า ส่งผลให้งานโครงการซึ่งเป็นสัดส่วนรายได้หลักของบริษัทชะลอตัวลง ซึ่งบริษัทได้ปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจด้านอื่นๆ อาทิ ธุรกิจด้านพลังงานสะอาด ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Smart City มากขึ้น
และล่าสุดในยุครัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” ก็ดำเนินนโยบายนี้อย่างต่อเนื่อง โดยนางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุ “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ได้สั่งการถึงมาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยเฉพาะหน่วยงานในภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการผลักดันการใช้และผลิตรถยนต์อีวีตามนโยบาย 30@30 คือ เป้าหมายต้องผลิตอีวีได้อย่างน้อย 30% ภายในปี 2030
โดยนายกรัฐมนตรีขอให้ทุกส่วนราชการจัดซื้อจัดจ้างรถ EV แทนรถยนต์ที่หมดอายุ รวมถึงการจัดซื้อหรือเช่ารถ EV ด้วย โดยให้กระทรวงคมนาคม ร่วมกับกระทรวงคลัง กำหนดมาตรการส่งเสริมรถยนต์สาธารณะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นแท็กซี่ รถสามล้อ ให้เปลี่ยนเป็นรถ EV และการส่งเสริมการผลิตแบตเตอรี่ การสร้างโครงข่ายสถานีชาร์จต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งในที่ประชุม ครม.ได้ตั้งข้อสังเกตถึงผลกระทบมาตรการของรถ EV ที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดรถมือสอง ซึ่งขอให้มีการพิจารณาแนวทางที่ครอบคลุมส่วนนี้ด้วย
การกระตุ้นและส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงาน ส่งผลดีต่อ บมจ.เอเอ็มอาร์ เอเซีย (AMR) ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับEV โดย “พฤทธิพงษ์ ธาราพิมาณ” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการขายด้าน ITS บมจ.AMR ระบุว่า บริษัทได้พัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับการให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) ภายใต้แบรนด์ "MaCharge" หลังภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้ายังคงเป็นเมกะเทรนด์ของโลก และมีแนวโน้มยอดขายเติบโตได้ดีในอนาคต ซึ่งบริษัทวางแผนติดตั้ง MaCharge ทั่วประเทศ ทั้งนี้บริษัทคาดรับรู้รายได้จากกลุ่มธุรกิจ MaCharge 100 ล้านบาทภายในปี 67 ซึ่งจะเป็นธุรกิจที่เป็น recurring income ของบริษัทฯ ต่อไป
โดยกลุ่มธุรกิจ MaCharge ประกอบด้วย MaCharge battery swapping station สถานีสับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า ,Solar, Energy Management System ,SmartEZ app รวมทั้ง MaCharge Ac และ DC Charger ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เปิดตัวเมื่อไม่นานนี้
สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ MaCharge AC และ DC Charger เป็นสถานีชาร์จรถไฟฟ้าเพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มมากขึ้น โดยบริษัทได้ผลิตและพัฒนาระบบ DCA หรือ Dynamic Charger Adjustment เป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นระบบการปรับเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าโดยอัตโนมัติสำหรับป้องกันการ overload ของไฟฟ้าภายในบ้าน สร้างความมั่นใจและความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังผลิตซอร์ฟแวร์ของตัวเองซึ่งจะสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้าที่ต่างกันแต่ละกลุ่มได้
ในระยะแรกบริษัทฯ ได้ดำเนินการติดตั้ง MaCharge AC Charger บนพื้นที่สำนักงานใหญ่ ประชาชื่น เพื่อรองรับการใช้งานของประชาชนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง ก่อนขยายสู่พื้นที่อื่นๆ ในกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงพื้นที่ตามหัวเมืองและสถานที่ท่องเที่ยวในต่างจังหวัด เพื่อให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยคาดว่าสิ้นปีนี้จะเริ่มเห็น SandBox ของกลุ่มธุรกิจ MaCharge ในพื้นที่กลุ่มลูกค้าเก่าของบริษัทประมาณ 1-2 จุด และจะเริ่มรับรู้รายได้ในปีหน้าเป็นต้นไป ซึ่งคาดว่ากลุ่มธุรกิจ MaCharge จะมีสัดส่วนรายได้ประมาณ 5% ของรายได้รวมบริษัท
ทั้งนี้แนวโน้มครึ่งปีหลัง ธุรกิจ AMR น่าจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก ซึ่งมีรายได้รวม 485.9 ล้านบาท ลดลง 304.2 ล้านบาท หรือ ลดลง 38.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากบริษัทได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า ส่งผลให้งานโครงการซึ่งเป็นสัดส่วนรายได้หลักของบริษัทชะลอตัวลง ซึ่งบริษัทได้ปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจด้านอื่นๆ อาทิ ธุรกิจด้านพลังงานสะอาด ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Smart City มากขึ้น