กระดานข่าว
"เอ็กโซติค ฟู้ด (XO)" ร่วมกับ "โอ้กะจู๋" ใจฟู กับแคมเปญ "ห่านบินบินกลับไทย" ส่งมอบเงินสนับสนุนโครงการระบบน้ำหยด ช่วยเกษตรกรปลูกพริกปลอดสาร
26 ตุลาคม 2566
บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) หรือ XO ผู้ส่งออกรายใหญ่ในผลิตภัณฑ์ซอสพริก เดินหน้าขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อสังคม นำแบรนด์ ห่านบิน (Flying Goose) ซอสระดับพรีเมียมที่ผลิตจากวัตถุดิบสดใหม่มีคุณภาพสูง ร่วมกับร้านอาหารชื่อดัง "โอ้กะจู๋" ส่งมอบเงินสนับสนุนจากแคมเปญพิเศษ "ห่านบินบินกลับไทย Summer landing ห่านบินชวนกินผัก ทำความดี กับ โอ้กะจู๋" โดยมี พญ. ศิริวรรณ ตั้งเจริญชัยชนะ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) (XO) และ นายชลากร เอกชัยพัฒนกุล บริษัท โอ้กะจู๋ ร่วมลงพื้นที่ นำเงินที่ได้จากโครงการในครั้งนี้ พร้อมกับการสนับสนุนจาก XO รวมเป็นจำนวนเงิน 350,000 บาท มอบให้กับเกษตรกรผู้ปลูกพริกปลอดสาร จังหวัดเชียงราย
การลงพื้นที่ครั้งนี้ สะท้อนแหล่งที่มาของวัตถุดิบ พริก สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในการส่งออก และ ยังเป็นขวัญกำลังใจให้กับผู้ปลูกพริกที่เป็นต้นน้ำ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับชุมชน สร้างความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แบบยั่งยืน พญ. ศิริวรรณ ตั้งเจริญชัยชนะ กล่าวเสริมว่า ความท้าทายของ เอ็กโซติค ฟู้ด (XO) เราไม่ได้มองแค่การเป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกซอสพริกของคนไทยภายใต้แบรนด์ของตนเอง ซึ่งวางขายไปแล้วกว่า 80 ประเทศทั่วโลก แต่เรากำลังขยายธุรกิจและทำได้ดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถเจาะตลาดอเมริกาเหนือได้สำเร็จ แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีความท้าทายมากกว่าแค่เติบโตทาง "ธุรกิจ" เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องเป็นผู้นำสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อสิ่งแวดล้อม และรากฐานของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกพริกของเราเช่นกันโครงการระบบน้ำหยดใช้ในการปลูกพริกปลอดสาร จึงนับเป็นหนึ่งในโครงการรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ประจำปี 2566 ของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่จาก 3,500 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 4,000-5,500 กิโลกรัมต่อไร่ เพราะพริกเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญในการผลิตสินค้าของบริษัท ซึ่งในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ หนึ่งในปัญหาที่สำคัญคือ ปริมาณน้ำที่ไม่พอใช้ จึงหาแหล่งผลิตที่มีประสิทธิภาพ ที่จังหวัดเชียงราย อำเภอแม่สาย, อำเภอแม่จัน, อำเภอเชียงแสน (พื้นที่ 90 ไร่) เป็นพื้นที่ตอบโจทย์ เพราะอยู่ใกล้กับแม่น้ำโขง แต่เกษตรกรยังไม่มีระบบน้ำหยดมาใช้เพราะด้วยเงินที่ใช้ในการลงทุนต่อไร่มีต้นทุน 3,800 บาทต่อไร่ เงินที่สนับสนุนครั้งนี้ จึงถือเป็นโครงการนำร่องที่บริษัทได้จัดทำ และจะเดินหน้าสานต่อกิจกรรมดีๆ เพื่อเกษตรกรต่อเนื่องนอกจากนี้ เอ็กโซติค ฟู้ด (XO) ยังได้ร่วมเลี้ยงอาหารกลางวันและมอบทุนการศึกษาให้กับลูกหลานเกษตรกรในโครงการระบบน้ำหยดอีกด้วย จำนวน 60 ทุน เพื่อให้ลูกหลานเกษตรกรมีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงต่อไป
การลงพื้นที่ครั้งนี้ สะท้อนแหล่งที่มาของวัตถุดิบ พริก สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในการส่งออก และ ยังเป็นขวัญกำลังใจให้กับผู้ปลูกพริกที่เป็นต้นน้ำ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับชุมชน สร้างความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แบบยั่งยืน พญ. ศิริวรรณ ตั้งเจริญชัยชนะ กล่าวเสริมว่า ความท้าทายของ เอ็กโซติค ฟู้ด (XO) เราไม่ได้มองแค่การเป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกซอสพริกของคนไทยภายใต้แบรนด์ของตนเอง ซึ่งวางขายไปแล้วกว่า 80 ประเทศทั่วโลก แต่เรากำลังขยายธุรกิจและทำได้ดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถเจาะตลาดอเมริกาเหนือได้สำเร็จ แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีความท้าทายมากกว่าแค่เติบโตทาง "ธุรกิจ" เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องเป็นผู้นำสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อสิ่งแวดล้อม และรากฐานของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกพริกของเราเช่นกันโครงการระบบน้ำหยดใช้ในการปลูกพริกปลอดสาร จึงนับเป็นหนึ่งในโครงการรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ประจำปี 2566 ของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่จาก 3,500 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 4,000-5,500 กิโลกรัมต่อไร่ เพราะพริกเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญในการผลิตสินค้าของบริษัท ซึ่งในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ หนึ่งในปัญหาที่สำคัญคือ ปริมาณน้ำที่ไม่พอใช้ จึงหาแหล่งผลิตที่มีประสิทธิภาพ ที่จังหวัดเชียงราย อำเภอแม่สาย, อำเภอแม่จัน, อำเภอเชียงแสน (พื้นที่ 90 ไร่) เป็นพื้นที่ตอบโจทย์ เพราะอยู่ใกล้กับแม่น้ำโขง แต่เกษตรกรยังไม่มีระบบน้ำหยดมาใช้เพราะด้วยเงินที่ใช้ในการลงทุนต่อไร่มีต้นทุน 3,800 บาทต่อไร่ เงินที่สนับสนุนครั้งนี้ จึงถือเป็นโครงการนำร่องที่บริษัทได้จัดทำ และจะเดินหน้าสานต่อกิจกรรมดีๆ เพื่อเกษตรกรต่อเนื่องนอกจากนี้ เอ็กโซติค ฟู้ด (XO) ยังได้ร่วมเลี้ยงอาหารกลางวันและมอบทุนการศึกษาให้กับลูกหลานเกษตรกรในโครงการระบบน้ำหยดอีกด้วย จำนวน 60 ทุน เพื่อให้ลูกหลานเกษตรกรมีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงต่อไป