จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : ยางพาราขยับขึ้น 4-5 บาท/กก. ดันรายได้ TEGH แข็งแกร่ง
27 ตุลาคม 2566
สถานการณ์ราคายางพาราปี 2566 ปรับตัวดีขึ้นจากผลผลิตที่น้อยลง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลดีต่อ บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ผู้ผลิตและจำหน่ายยางพาราชั้นนำของไทย ซึ่งบริษัทตั้งเป้ายอดขายยางแท่งปีนี้แตะ 2 แสนตัน
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า ราคายางพาราในปัจจุบันมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 4-5 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) หลังมีมาตรการบริหารจัดการอย่างรอบด้าน พร้อมลงมือแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและจริงจังตามนโยบายของ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ประกอบกับผลผลิตยางช่วงนี้ที่มีปริมาณลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ มีฝนตกหนักและเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยคาดว่าราคายางพาราจะมีแนวโน้มอยู่ในทิศทางที่ดีต่อไป
ทั้งนี้ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญในแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย ซึ่งรวมถึงยางพาราด้วย โดยเร่งเดินหน้าปราบปรามอย่างจริงจัง ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องได้บูรณาการความร่วมมือจัดตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาการนำเข้าและส่งออกสินค้าด้านพืชผิดกฎหมายขึ้น และได้ประชุมหารือร่วมกำหนดแผน แนวทางการปราบปราม ทั้งการตรวจสต๊อกยางตามแนวชายแดน การเคลื่อนย้าย รวมถึงรวบรวมข้อมูลปริมาณยางคงเหลือ ซึ่งเริ่มปฏิบัติการตามแนวทางที่วางไว้ทันที พร้อมรายงานผลการดำเนินงานให้คณะทำงานรับทราบทุก 15 วัน
โดย กยท.ได้ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการผู้รับใบอนุญาตค้ายาง ร่วมกับพาณิชย์จังหวัดและหน่วยงานปกครอง ตรวจสอบทะเบียนร้านค้า การทำบัญชีผู้รับซื้อยางพารา พร้อมชี้แจงให้ร้านค้าในพื้นที่ทราบเกี่ยวกับโทษในการรับซื้อยางพาราที่ผิดกฎหมายหรือหลีกเลี่ยงภาษี และกำกับควบคุมสถาบันเกษตรกรฯ ไม่ให้รับซื้อยางที่ผิดกฎหมาย ตลอดจนร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงตั้งจุดสกัด และร่วมเข้าตรวจสต๊อกยาง
พร้อมกันนี้ได้เตรียมจัดสรรงบประมาณจากกองทุน เพื่อใช้ในการสนับสนุนการดำเนินการควบคุมปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยมอบหมายให้ กยท.จังหวัด และ กยท.สาขา ที่อยู่ในพื้นที่เขตพรมแดน ดำเนินการสำรวจการผลิตยางธรรมชาติของเกษตรกร ทั้งปริมาณ รูปแบบของผลผลิตยางที่ขาย จำแนกเป็นน้ำยางสด ยางก้อนถ้วย ยางแผ่นดิบ และนำมาประมวลผลเพื่อทำข้อมูลห่วงโซ่อุปทานการผลิตยางธรรมชาติในประเทศ (เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าปริมาณยางที่ขายในตลาดหรือพื้นที่นั้นๆ มียางเถื่อนปนอยู่ด้วยหรือไม่ และตั้งเป้าหมายสำรวจให้ครอบคุมทั่วประเทศ นำข้อมูลมาคำนวณและจัดทำสมดุลยางพาราและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้ราคายางเพิ่มสูงขึ้นได้
ราคายางพาราที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อการขายผลิตภัณฑ์ของบมจ. ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) ฐานะบริษัทประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) โดยมีบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ ได้แก่ ยางธรรมชาติ น้ำมันปาล์มดิบ และพลังงานทดแทนและบริหารจัดการกากอินทรีย์ ซึ่ง “สินีนุช โกกนุทาภรณ์” กรรมการผู้จัดการ ระบุ กลยุทธ์การดำเนินงานในครึ่งปีหลังนี้ บริษัทเร่งเตรียมการรับรองมาตรการ EUDR ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ยางพาราจากไทยที่จะส่งไปยุโรป รวมถึงดำเนินการในเรื่องของ International Sustainability and Carbon Certification (ISCC) เพื่อรองรับมาตรฐานน้ำมันที่ใช้กับอุตสาหกรรมเครื่องบินในอนาคต ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการประกาศตัวไปแล้วว่าจะเป็น Hub Sustainable Aviation Fuel (SAF)
และคาดการณ์แนวโน้มปริมาณขายยางแท่งในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 200,000 ตัน โดยครึ่งปีแรกมียอดขายแล้ว 98,933 ตัน ส่วนโครงการขยายกำลังการผลิตต่างๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินงานมีความคืบหน้าตามแผน และบริษัทฯได้พยายามมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างเต็มที่ เพื่อควบคุมต้นทุนการผลิตต่อหน่วยให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า ราคายางพาราในปัจจุบันมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 4-5 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) หลังมีมาตรการบริหารจัดการอย่างรอบด้าน พร้อมลงมือแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและจริงจังตามนโยบายของ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ประกอบกับผลผลิตยางช่วงนี้ที่มีปริมาณลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ มีฝนตกหนักและเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยคาดว่าราคายางพาราจะมีแนวโน้มอยู่ในทิศทางที่ดีต่อไป
ทั้งนี้ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญในแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย ซึ่งรวมถึงยางพาราด้วย โดยเร่งเดินหน้าปราบปรามอย่างจริงจัง ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องได้บูรณาการความร่วมมือจัดตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาการนำเข้าและส่งออกสินค้าด้านพืชผิดกฎหมายขึ้น และได้ประชุมหารือร่วมกำหนดแผน แนวทางการปราบปราม ทั้งการตรวจสต๊อกยางตามแนวชายแดน การเคลื่อนย้าย รวมถึงรวบรวมข้อมูลปริมาณยางคงเหลือ ซึ่งเริ่มปฏิบัติการตามแนวทางที่วางไว้ทันที พร้อมรายงานผลการดำเนินงานให้คณะทำงานรับทราบทุก 15 วัน
โดย กยท.ได้ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการผู้รับใบอนุญาตค้ายาง ร่วมกับพาณิชย์จังหวัดและหน่วยงานปกครอง ตรวจสอบทะเบียนร้านค้า การทำบัญชีผู้รับซื้อยางพารา พร้อมชี้แจงให้ร้านค้าในพื้นที่ทราบเกี่ยวกับโทษในการรับซื้อยางพาราที่ผิดกฎหมายหรือหลีกเลี่ยงภาษี และกำกับควบคุมสถาบันเกษตรกรฯ ไม่ให้รับซื้อยางที่ผิดกฎหมาย ตลอดจนร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงตั้งจุดสกัด และร่วมเข้าตรวจสต๊อกยาง
พร้อมกันนี้ได้เตรียมจัดสรรงบประมาณจากกองทุน เพื่อใช้ในการสนับสนุนการดำเนินการควบคุมปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยมอบหมายให้ กยท.จังหวัด และ กยท.สาขา ที่อยู่ในพื้นที่เขตพรมแดน ดำเนินการสำรวจการผลิตยางธรรมชาติของเกษตรกร ทั้งปริมาณ รูปแบบของผลผลิตยางที่ขาย จำแนกเป็นน้ำยางสด ยางก้อนถ้วย ยางแผ่นดิบ และนำมาประมวลผลเพื่อทำข้อมูลห่วงโซ่อุปทานการผลิตยางธรรมชาติในประเทศ (เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าปริมาณยางที่ขายในตลาดหรือพื้นที่นั้นๆ มียางเถื่อนปนอยู่ด้วยหรือไม่ และตั้งเป้าหมายสำรวจให้ครอบคุมทั่วประเทศ นำข้อมูลมาคำนวณและจัดทำสมดุลยางพาราและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้ราคายางเพิ่มสูงขึ้นได้
ราคายางพาราที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อการขายผลิตภัณฑ์ของบมจ. ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) ฐานะบริษัทประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) โดยมีบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ ได้แก่ ยางธรรมชาติ น้ำมันปาล์มดิบ และพลังงานทดแทนและบริหารจัดการกากอินทรีย์ ซึ่ง “สินีนุช โกกนุทาภรณ์” กรรมการผู้จัดการ ระบุ กลยุทธ์การดำเนินงานในครึ่งปีหลังนี้ บริษัทเร่งเตรียมการรับรองมาตรการ EUDR ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ยางพาราจากไทยที่จะส่งไปยุโรป รวมถึงดำเนินการในเรื่องของ International Sustainability and Carbon Certification (ISCC) เพื่อรองรับมาตรฐานน้ำมันที่ใช้กับอุตสาหกรรมเครื่องบินในอนาคต ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการประกาศตัวไปแล้วว่าจะเป็น Hub Sustainable Aviation Fuel (SAF)
และคาดการณ์แนวโน้มปริมาณขายยางแท่งในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 200,000 ตัน โดยครึ่งปีแรกมียอดขายแล้ว 98,933 ตัน ส่วนโครงการขยายกำลังการผลิตต่างๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินงานมีความคืบหน้าตามแผน และบริษัทฯได้พยายามมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างเต็มที่ เพื่อควบคุมต้นทุนการผลิตต่อหน่วยให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้