จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : ปี 66 ลงทุนธุรกิจพลังงานสะอาดโดดเด่น หนุนผลงาน SUPER แข็งแกร่ง
27 ตุลาคม 2566
IEA คาดปี 66 การลงทุนธุรกิจพลังงานสะอาดโตกว่า 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ โดยลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์มีสัดส่วนกว่า 90% หนุนผลงาน บมจ. ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น(SUPER) CEO มั่นใจเติบโตแข็งแกร่ง
International Energy Agency (IEA) เผยแพร่รายงาน Global investment in clean energy 2023 การลงทุนในพลังงานสะอาดทั่วโลกฉบับล่าสุด ระบุ ปี 2566 มีการลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานสะอาด มากกว่า 1.7 ล้านล้านดอลลาร์หรือราว 58.9 ล้านล้านบาท และยังคาดการณ์ว่าจบปีมูลค่าจะสูงถึง 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ (97 ล้านล้านบาท) แซงหน้าการพลังงานเชื้อเพลงฟอสซิลหรือการผลิตน้ำมันเป็นครั้งแรก โดยกลุ่มที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ พลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีสัดส่วนมากกว่า 90% และยังมีคาดการณ์ว่าสามารถดึงดูดเงินได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ (34.6 พันล้านบาท) ต่อวันอีกด้วย
โดยปัจจัยที่ทำให้ดีมานด์พุ่ง อันดับแรกเป็นเพราะค่าใช้จ่ายของกลุ่มพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ถูกลงอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยสอง คือ การผลักดันนโยบายพลังงานที่เพิ่มมากขึ้นของหลายประเทศ รัฐบาลหลายประเทศเห็นพ้องตรงกันว่า พลังงานสะอาด คือ ทางออกที่ยั่งยืนสำหรับปัญหาความมั่นคงด้านพลังงาน นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัจจัยที่สาม มาตรการในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลจากบทบาท ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การออกพระราชบัญญัติเพื่อดึงดูดนักลงทุนและผู้ประกอบการสำหรับการผลิตเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เช่น แบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้า แผงโซลาร์เซลล์ ตัวอย่าง Inflation Reduction Act ของสหรัฐฯ และในประเทศอื่นๆ ญี่ปุ่น อินเดีย จีน หรือ ยุโรป ที่มีร่างกฎหมายส่งเสริมและกีดกันด้านการใช้พลังงานในภาคการผลิต เป็นต้น
การลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาด สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ของผู้บริหาร บมจ. ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น(SUPER) ซึ่งบริษัทประกอบธุรกิจด้านการปฏิบัติการดูแลบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน และการถือหุ้นในบริษัทย่อย และ/หรือบริษัทร่วม (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน นอกเหนือจากธุรกิจผลิตน้ำ และธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยในส่วนของธุรกิจพลังงานสะอาด “จอมทรัพย์ โลจายะ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เชื่อว่าแนวโน้มผลดำเนินงานในปี 2566 ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากมีปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทั้งในไทยและเวียดนาม ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าในพอร์ตปัจจุบันมีจำนวน 133 โครงการ กำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 1,608.32 เมกะวัตต์ โดยมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เป็นต้น
โดยปีนี้บริษัทจะขยายการกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้จากการชนะประมูลโครงการพลังงานหมุนเวียน 185.5 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท คาดจะรับรู้รายได้จากโครงการดังกล่าว 1,400 ล้านบาทต่อปี คาดว่าจะสามารถจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ในปี 68 - 72 โดยโครงการแรกที่จะเริ่มสร้างคือโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมที่อุบลราชธานี ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการดำเนินงาน
และบริษัทมีแผนที่จะทำเทคโนโลยี Solar Hybrid ที่ได้เริ่ม COD ไปในเดือนมกราคม นำมาใช้กับโครงการอื่นๆ เพื่อขยายกำลังการผลิตและให้บริการเพิ่มเติมกับพาร์ตเนอร์ที่กำลังเจรจาอยู่ อาทิ อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ซึ่งประเทศดังกล่าวได้สัมปทานการส่งออกไฟฟ้าไปขายให้สิงคโปร์แล้ว บริษัทจะนำเทคโนโลยี Solar Hybrid ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่รายเดียวในประเทศไทย ไปร่วมลงทุนกับพาร์ตเนอร์ในประเทศดังกล่าว เพื่อที่จะสามารถผลิตและขายไฟฟ้าได้ 24 ชั่วโมง
สำหรับภาพรวมการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯเชื่อว่าเติบโตได้ดี ซึ่งจะมีโครงการที่สามารถ COD ได้เพิ่มเติม ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่เวียดนาม "Soc Trang" กำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ คาดว่าจะเปิดดำเนินงานภายในช่วงปลายปีนี้ รวมทั้งโครงการพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์กับมหาวิทยาลัยมหิดล กำลังการผลิต 14 เมกะวัตต์ จะเริ่มทยอยขายไฟตั้งแต่เดือนกันยายนนี้ นอกจากนี้ยังมีอีก 2 โครงการในเวียดนามที่บริษัทกำลังเตรียมความพร้อมประมาณ 250 เมกะวัตต์ ทั้งนี้กำลังรอการกำหนดค่าไฟฟ้าของ PDP8 จากรัฐบาลเวียดนาม
บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าในการสร้างรายได้และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น ขณะเดียวกันมองหาโอกาสการขยายงาน โดยการเข้าไปลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ๆในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้าได้เข้าร่วมถือหุ้นธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในเวียดนามกับ AC ENERGY VIETNAM INVESTMENTS PTE. LTD. ( ACEV ) บริษัทชั้นนำทางด้านธุรกิจพลังงานทดแทน
International Energy Agency (IEA) เผยแพร่รายงาน Global investment in clean energy 2023 การลงทุนในพลังงานสะอาดทั่วโลกฉบับล่าสุด ระบุ ปี 2566 มีการลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานสะอาด มากกว่า 1.7 ล้านล้านดอลลาร์หรือราว 58.9 ล้านล้านบาท และยังคาดการณ์ว่าจบปีมูลค่าจะสูงถึง 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ (97 ล้านล้านบาท) แซงหน้าการพลังงานเชื้อเพลงฟอสซิลหรือการผลิตน้ำมันเป็นครั้งแรก โดยกลุ่มที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ พลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีสัดส่วนมากกว่า 90% และยังมีคาดการณ์ว่าสามารถดึงดูดเงินได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ (34.6 พันล้านบาท) ต่อวันอีกด้วย
โดยปัจจัยที่ทำให้ดีมานด์พุ่ง อันดับแรกเป็นเพราะค่าใช้จ่ายของกลุ่มพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ถูกลงอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยสอง คือ การผลักดันนโยบายพลังงานที่เพิ่มมากขึ้นของหลายประเทศ รัฐบาลหลายประเทศเห็นพ้องตรงกันว่า พลังงานสะอาด คือ ทางออกที่ยั่งยืนสำหรับปัญหาความมั่นคงด้านพลังงาน นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัจจัยที่สาม มาตรการในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลจากบทบาท ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การออกพระราชบัญญัติเพื่อดึงดูดนักลงทุนและผู้ประกอบการสำหรับการผลิตเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เช่น แบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้า แผงโซลาร์เซลล์ ตัวอย่าง Inflation Reduction Act ของสหรัฐฯ และในประเทศอื่นๆ ญี่ปุ่น อินเดีย จีน หรือ ยุโรป ที่มีร่างกฎหมายส่งเสริมและกีดกันด้านการใช้พลังงานในภาคการผลิต เป็นต้น
การลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาด สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ของผู้บริหาร บมจ. ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น(SUPER) ซึ่งบริษัทประกอบธุรกิจด้านการปฏิบัติการดูแลบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน และการถือหุ้นในบริษัทย่อย และ/หรือบริษัทร่วม (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน นอกเหนือจากธุรกิจผลิตน้ำ และธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยในส่วนของธุรกิจพลังงานสะอาด “จอมทรัพย์ โลจายะ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เชื่อว่าแนวโน้มผลดำเนินงานในปี 2566 ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากมีปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทั้งในไทยและเวียดนาม ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าในพอร์ตปัจจุบันมีจำนวน 133 โครงการ กำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 1,608.32 เมกะวัตต์ โดยมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เป็นต้น
โดยปีนี้บริษัทจะขยายการกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้จากการชนะประมูลโครงการพลังงานหมุนเวียน 185.5 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท คาดจะรับรู้รายได้จากโครงการดังกล่าว 1,400 ล้านบาทต่อปี คาดว่าจะสามารถจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ในปี 68 - 72 โดยโครงการแรกที่จะเริ่มสร้างคือโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมที่อุบลราชธานี ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการดำเนินงาน
และบริษัทมีแผนที่จะทำเทคโนโลยี Solar Hybrid ที่ได้เริ่ม COD ไปในเดือนมกราคม นำมาใช้กับโครงการอื่นๆ เพื่อขยายกำลังการผลิตและให้บริการเพิ่มเติมกับพาร์ตเนอร์ที่กำลังเจรจาอยู่ อาทิ อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ซึ่งประเทศดังกล่าวได้สัมปทานการส่งออกไฟฟ้าไปขายให้สิงคโปร์แล้ว บริษัทจะนำเทคโนโลยี Solar Hybrid ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่รายเดียวในประเทศไทย ไปร่วมลงทุนกับพาร์ตเนอร์ในประเทศดังกล่าว เพื่อที่จะสามารถผลิตและขายไฟฟ้าได้ 24 ชั่วโมง
สำหรับภาพรวมการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯเชื่อว่าเติบโตได้ดี ซึ่งจะมีโครงการที่สามารถ COD ได้เพิ่มเติม ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่เวียดนาม "Soc Trang" กำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ คาดว่าจะเปิดดำเนินงานภายในช่วงปลายปีนี้ รวมทั้งโครงการพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์กับมหาวิทยาลัยมหิดล กำลังการผลิต 14 เมกะวัตต์ จะเริ่มทยอยขายไฟตั้งแต่เดือนกันยายนนี้ นอกจากนี้ยังมีอีก 2 โครงการในเวียดนามที่บริษัทกำลังเตรียมความพร้อมประมาณ 250 เมกะวัตต์ ทั้งนี้กำลังรอการกำหนดค่าไฟฟ้าของ PDP8 จากรัฐบาลเวียดนาม
บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าในการสร้างรายได้และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น ขณะเดียวกันมองหาโอกาสการขยายงาน โดยการเข้าไปลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ๆในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้าได้เข้าร่วมถือหุ้นธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในเวียดนามกับ AC ENERGY VIETNAM INVESTMENTS PTE. LTD. ( ACEV ) บริษัทชั้นนำทางด้านธุรกิจพลังงานทดแทน