บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนจากความวิตกที่ว่าความตึงเครียดในอิสราเอล-ฮามาสอาจลุกลามเป็นความขัดแย้งในวงกว้างกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังทรงตัวในระดับสูง จึงให้กรอบดัชนี 1,350 – 1,420 จุด แนะกลยุทธ์การลงทุนใน 5 หุ้นส่งออกฟื้น ได้แก่ KSL-KBS-BRR-XO-PDJ
นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้แกว่งตัวผันผวน โดยมีปัจจัยกดดันจากความวิตกที่ว่าความตึงเครียดในอิสราเอล-ฮามาสอาจลุกลามเป็นความขัดแย้งในวงกว้างขึ้น ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั่วโลก โดยล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการขยายตัว กองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกให้ข้อมูลว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวช้าและไม่ทั่วถึงโดยอาจขยายตัวราว 3% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 30 ปี และทางตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.) ได้รายงานสรุปมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์สะสมตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. -27 ต.ค. 2566 ยังเป็นภาพของ fund flow ไหลออกนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 169,822.13 ล้านบาท
ขณะที่สหรัฐเปิดเผยว่าดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.4%YoY ในเดือนก.ย. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อที่ยังเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดคาดว่า FED จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูงเป็นเวลานาน แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังทรงตัวในระดับสูง จึงให้กรอบดัชนีที่ 1,350 – 1,420 จุด
สหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีจากตัวเลขดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้น ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51.0 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนจากระดับ 50.2 ในเดือนก.ย. ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน ขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจพุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2565 ดัชนี PMI อยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้การขยายตัวของภาคธุรกิจสหรัฐ
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่จะมีผลกับตลาดหุ้นไทย อาทิ วันนี้ 31 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม และปัจจัยต่างประเทศ อาทิ วันนี้ 31 ต.ค. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) รายงานผลการประชุมนโยบายการเงิน จีนรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการ เดือนต.ค. ยูโรโซนรายงาน GDP 3Q66 (ประมาณการเบื้องต้น) และอัตราเงินเฟ้อเดือนต.ค. (ประมาณการเบื้องต้น) สหรัฐ รายงานราคาบ้านเดือนส.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค. วันที่ 1 พ.ย. จีนรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนต.ค. สหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนต.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนต.ค. ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนก.ย. และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
ดังนั้น แนะนำกลยุทธ์การลงทุนใน 5 หุ้นรับตัวเลขส่งออกเดือน ก.ย. ขยายตัว ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่าการส่งออกในไตรมาส 4/2566 มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการทยอยฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าที่ต่างออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และอุปสรรคด้านห่วงโซ่อุปทานคลี่คลายลงจากปีก่อนหน้าที่ต้องเผชิญกับโควิด-19 และแรงส่งจากภาคบริการและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปลายปีจะช่วยหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่ไทยมีศักยภาพ โดยหุ้นที่ได้ประโยชน์ได้แก่ KSL, KBS, BRR, XO และ PDJ
ส่วนทิศทางการลงทุนในทองคำ นายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล. โกลเบล็ก ประเมินภาพรวมทองคำสัปดาห์นี้จับตาผลการประชุม FOMC คาดเฟดมีมติคงดอกเบี้ยที่ 5.25-5.50% ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐ และอัตราว่างงาน ขณะที่แนวโน้มประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาดการณ์หนุนให้ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวระดับสูง
ฝ่ายวิจัยประเมินว่าแม้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐส่วนใหญ่อาจออกมาสูงกว่าคาดการณ์ แต่ทองคำปรับตัวขึ้นในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจากเรื่องสงคราม หากราคาทองคำอ่อนตัวลงไม่หลุดแนวรับ 1,965$/oz แนะนำ ซื้อ
นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้แกว่งตัวผันผวน โดยมีปัจจัยกดดันจากความวิตกที่ว่าความตึงเครียดในอิสราเอล-ฮามาสอาจลุกลามเป็นความขัดแย้งในวงกว้างขึ้น ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั่วโลก โดยล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการขยายตัว กองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกให้ข้อมูลว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวช้าและไม่ทั่วถึงโดยอาจขยายตัวราว 3% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 30 ปี และทางตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.) ได้รายงานสรุปมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์สะสมตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. -27 ต.ค. 2566 ยังเป็นภาพของ fund flow ไหลออกนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 169,822.13 ล้านบาท
ขณะที่สหรัฐเปิดเผยว่าดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.4%YoY ในเดือนก.ย. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อที่ยังเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดคาดว่า FED จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูงเป็นเวลานาน แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังทรงตัวในระดับสูง จึงให้กรอบดัชนีที่ 1,350 – 1,420 จุด
สหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีจากตัวเลขดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้น ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51.0 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนจากระดับ 50.2 ในเดือนก.ย. ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน ขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจพุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2565 ดัชนี PMI อยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้การขยายตัวของภาคธุรกิจสหรัฐ
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่จะมีผลกับตลาดหุ้นไทย อาทิ วันนี้ 31 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม และปัจจัยต่างประเทศ อาทิ วันนี้ 31 ต.ค. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) รายงานผลการประชุมนโยบายการเงิน จีนรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการ เดือนต.ค. ยูโรโซนรายงาน GDP 3Q66 (ประมาณการเบื้องต้น) และอัตราเงินเฟ้อเดือนต.ค. (ประมาณการเบื้องต้น) สหรัฐ รายงานราคาบ้านเดือนส.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค. วันที่ 1 พ.ย. จีนรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนต.ค. สหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนต.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนต.ค. ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนก.ย. และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
ดังนั้น แนะนำกลยุทธ์การลงทุนใน 5 หุ้นรับตัวเลขส่งออกเดือน ก.ย. ขยายตัว ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่าการส่งออกในไตรมาส 4/2566 มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการทยอยฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าที่ต่างออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และอุปสรรคด้านห่วงโซ่อุปทานคลี่คลายลงจากปีก่อนหน้าที่ต้องเผชิญกับโควิด-19 และแรงส่งจากภาคบริการและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปลายปีจะช่วยหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่ไทยมีศักยภาพ โดยหุ้นที่ได้ประโยชน์ได้แก่ KSL, KBS, BRR, XO และ PDJ
ส่วนทิศทางการลงทุนในทองคำ นายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล. โกลเบล็ก ประเมินภาพรวมทองคำสัปดาห์นี้จับตาผลการประชุม FOMC คาดเฟดมีมติคงดอกเบี้ยที่ 5.25-5.50% ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐ และอัตราว่างงาน ขณะที่แนวโน้มประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาดการณ์หนุนให้ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวระดับสูง
ฝ่ายวิจัยประเมินว่าแม้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐส่วนใหญ่อาจออกมาสูงกว่าคาดการณ์ แต่ทองคำปรับตัวขึ้นในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจากเรื่องสงคราม หากราคาทองคำอ่อนตัวลงไม่หลุดแนวรับ 1,965$/oz แนะนำ ซื้อ