จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : กพช.หนุนอุตฯแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน ผลักดันผลงาน SUPER โตยั่งยืน


14 กุมภาพันธ์ 2566
กพช.สนับสนุนอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ของประเทศ  ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สอดคล้องแนวคิด บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER)  สนับสนุนธุรกิจเติบโตก้าวกระโดด

คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)  เห็นชอบแผนปฏิบัติการการส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ของประเทศไทย (66-75) ที่มีเป้าหมายพัฒนาอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ให้เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตามแนวทางของอุตสาหกรรม New S Curve ของประเทศไทย 
รายงานพิเศษ SUPER140223.jpg
โดยมีแนวทางการส่งเสริมให้แบตเตอรี่เป็นอุตสาหกรรม New S-Curve จะครอบคลุม 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 

          1.การใช้ระบบกักเก็บพลังงาน มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดการใช้แบตเตอรี่ในประเทศ 
          2.การผลิตระบบกักเก็บพลังงาน เป็นการส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการแข่งขันการผลิตของประเทศในห่วงโซ่มูลค่า และการผลิตแบตเตอรี่เพื่อความยั่งยืนในประเทศ 
          3. กฎหมาย และมาตรฐาน มุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการทางกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ และมาตรฐานของประเทศให้สามารถดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศได้เพิ่มขึ้น และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน 
          4. การวิจัยและพัฒนาและสร้างบุคลากรรองรับ เป็นการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และเป็นการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรภายในประเทศ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้ คณะกรรมการส่งเสริมเทคโนโลยีระบบการกักเก็บพลังงาน กำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2575 และรายงานต่อ กพช. ทราบต่อไป

แนวทางพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่  สอดคล้องกับทิศทางและแนวคิดของผู้บริหารบริษัทซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER) นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคยระบุว่า บริษัทเป็น Leading Technology  โดยบริษัทเป็นรายแรก ที่ทำพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับไบโอแก๊ส และแบตเตอรี่ 136 MW   ซึ่งจะเป็นแบตเตอรี่ Power  ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน  พอ COD ช่วงประมาณปลายปี 2565  หรือต้นปี 2566  จะทำให้บริษัทสามารถขายไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ได้ 7 วัน  24 ชั่วโมง  ทำให้พลังงานทดแทน สามารถเป็นพลังงานหลัก  และจะทำให้บริษัทมีโอกาสหลายอย่างเข้ามา เพราะปัจจุบันคนต้องการพลังงานสะอาดแต่ไม่มั่นใจในเรื่องของความมั่นคงว่าจะสามารถทำให้มีเสถียรภาพ มีขายได้ตลอดเวลา

ล่าสุด บริษัท ซุปเปอร์ โซล่าร์ ไฮบริด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของSUPER  ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ได้เดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) โครงการ SPP HYBRID ขนาดกำลังการผลิต 16 เมกะวัตต์ ในจังหวัดสระแก้ว  ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการสร้างรายได้ ส่งผลให้กำลังการผลิตไฟฟ้าที่จ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์เพิ่มจาก 1,592.32 เมกะวัตต์ เป็น 1,608.32 เมกะวัตต์
         
ทั้งนี้โครงการ SPP HYBRID ในจังหวัดสระแก้ว เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งร่วมกับแบตเตอรี่ โดยสามารถผลิต และขายไฟฟ้าได้ 24 ชั่วโมง จากค่าเฉลี่ยในผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ประมาณ 4 ชั่วโมง/วัน ส่งผลต่อความสามารถในเพิ่มรายได้จากการขายไฟฟ้าในปริมาณเพิ่มขึ้นได้  โครงการดังกล่าวให้อัตราผลตอบแทน (IRR) เฉลี่ย 13-15%  

สำหรับโครงการ SPP HYBRID ในจังหวัดสระแก้ว ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)(BAY) ในการปล่อยวงเงินสินเชื่อ (Project Financing) เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการ ก่อสร้าง และยังเป็นการเสริมความเชื่อมั่นจากการรับสนับสนุนจากสถาบันการเงินอีกด้วย
           
"โครงการ SPP HYBRID ถือเป็นโครงการโรงไฟฟ้าแห่งแรกของปีนี้ที่ COD และความโดดเด่นของ SPP HYBRID คือสามารถจำหน่ายไฟ 24 ชั่วโมง เท่ากับว่าจะสนับสนุนต่อการสร้างมาร์จิ้นเพิ่มขึ้น ทำให้ผลประกอบการเพิ่มขึ้นและโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี และจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มบริษัทฯ" นายจอมทรัพย์กล่าว
          
นอกจากนี้ยังมีโครงการต่างๆ ในมือที่จะทยอย COD ต่อเนื่อง เช่น โครงการโรงไฟฟ้าจากขยะ โซลาร์รูฟท็อป โครงการการขยายงานสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภาคเอกชน( Private PPA ) ฯลฯ รวมทั้งโครงการ PDP ในประเทศ และแผนพัฒนาพลังงานกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศเวียดนาม (PDP8) โดยปี 66 ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 15-20% จากปีก่อน