จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : การปฏิวัติยานยนต์ไฟฟ้า หนุนธุรกิจ EA โตก้าวกระโดด
09 พฤศจิกายน 2566
อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยมีปัจจัยผลักดันมาจากปัญหามลพิษทางอากาศและราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง หนุนรายได้ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) โตต่อเนื่อง
SCB EIC ระบุ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดว่ายอดขายเละยอดผลิตรถ EV ทั่วโลกในช่วงระหว่างปี 2022 - 2030 จะขยายตัวเฉลี่ยปีละ 20% และ 33% ตามลำดับ
ซึ่งปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจาก
1) นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา อาทิ ไทย บราซิล และอินเดีย ที่ต่างมุ่งส่งเสริมการใช้งานและการลงทุนในอุตสาหกรรม EV
2) การเปิดรับจากฝั่งผู้บริโภค โดยเฉพาะหลังเผชิญราคาพลังงานที่ผันผวน รวมถึงต้นทุนการเป็นเจ้าของรถ EV ก็ทยอยลดลงต่อเนื่อง และคาดว่าในระยะยาวจะต่ำกว่ารถสันดาปจากค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและการบำรุงรักษา 3) การรุกตลาดของค่ายรถยนต์จีนที่ทำให้ตัวเลือกในตลาดรถยนต์ EV มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งในด้านรูปลักษณ์ ฟังก์ชันการใช้งาน และระดับราคา
SCB EIC ประเมินด้วยว่า ทุกๆ 1 แสนคันของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศจะทำให้ GDP ไทย เติบโตขึ้นราว 0.2%
SCB EIC ประเมินด้วยว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเผชิญกับความท้าทายสำคัญ 2 ประการ คือ
1) การสร้างเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานและระบบนิเวศน์ EV ให้เกิดขึ้นภายในประเทศอย่างครบวงจร เพื่อลดการนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนจากต่างประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากกิจกรรมการผลิตที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นเป็นหลัก
2) การส่งเสริมภาคธุรกิจให้สามารถปรับตัวและมีความพร้อมสำหรับโอกาสใหม่ ๆ โดยกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตไปพร้อม ๆ กับตลาด EV อาทิ ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มอเตอร์ไฟฟ้า ยางล้อ และชุดสายไฟ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์
ซึ่งผู้นำในกลุ่มผู้ผลิตแบตเตอรี่ของไทย ได้แก่ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ที่มีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไออน ที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์กำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 1 GWh และกำลังขยายกำลังการผลิตที่ 4 GWh ใ นช่วงไตรมาสที่ 2/2567 อีกทั้งมีโรงงานผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ มีกำลังการผลิตสูงสุด 9,000 คันต่อปี
โดยที่ผ่านมา EA ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง เช่น รถโดยสารไฟฟ้าหรือ e-Bus ที่วิ่งให้บริการในหลากหลายเส้นทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถบรรทุกไฟฟ้า เรือโดยสารไฟฟ้า ตลอดจนมีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้ากว่า 490 สถานี ครอบคลุมทุกภูมิภาค
นายวสุ กลมเกลี้ยง Executive Vice President EA กล่าวถึงผลดำเนินงานปีนี้มั่นใจว่า รายได้จะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ 50% มาอยู่ที่ 41,300 ล้านบาท จากปี2565 อยู่ที่ 27,547 ล้านบาท และคาดว่ากำไรขั้นต้น(Gross Profit) นิวไฮอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท ซึ่งปีก่อนอยู่ที่ 7,961 ล้านบาท เพราะบริษัทรับรู้รายได้แบตเตอรี่และอีวีเข้ามามากขึ้น
SCB EIC ระบุ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดว่ายอดขายเละยอดผลิตรถ EV ทั่วโลกในช่วงระหว่างปี 2022 - 2030 จะขยายตัวเฉลี่ยปีละ 20% และ 33% ตามลำดับ
ซึ่งปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจาก
1) นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา อาทิ ไทย บราซิล และอินเดีย ที่ต่างมุ่งส่งเสริมการใช้งานและการลงทุนในอุตสาหกรรม EV
2) การเปิดรับจากฝั่งผู้บริโภค โดยเฉพาะหลังเผชิญราคาพลังงานที่ผันผวน รวมถึงต้นทุนการเป็นเจ้าของรถ EV ก็ทยอยลดลงต่อเนื่อง และคาดว่าในระยะยาวจะต่ำกว่ารถสันดาปจากค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและการบำรุงรักษา 3) การรุกตลาดของค่ายรถยนต์จีนที่ทำให้ตัวเลือกในตลาดรถยนต์ EV มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งในด้านรูปลักษณ์ ฟังก์ชันการใช้งาน และระดับราคา
SCB EIC ประเมินด้วยว่า ทุกๆ 1 แสนคันของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศจะทำให้ GDP ไทย เติบโตขึ้นราว 0.2%
SCB EIC ประเมินด้วยว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเผชิญกับความท้าทายสำคัญ 2 ประการ คือ
1) การสร้างเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานและระบบนิเวศน์ EV ให้เกิดขึ้นภายในประเทศอย่างครบวงจร เพื่อลดการนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนจากต่างประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากกิจกรรมการผลิตที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นเป็นหลัก
2) การส่งเสริมภาคธุรกิจให้สามารถปรับตัวและมีความพร้อมสำหรับโอกาสใหม่ ๆ โดยกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตไปพร้อม ๆ กับตลาด EV อาทิ ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มอเตอร์ไฟฟ้า ยางล้อ และชุดสายไฟ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์
ซึ่งผู้นำในกลุ่มผู้ผลิตแบตเตอรี่ของไทย ได้แก่ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ที่มีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไออน ที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์กำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 1 GWh และกำลังขยายกำลังการผลิตที่ 4 GWh ใ นช่วงไตรมาสที่ 2/2567 อีกทั้งมีโรงงานผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ มีกำลังการผลิตสูงสุด 9,000 คันต่อปี
โดยที่ผ่านมา EA ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง เช่น รถโดยสารไฟฟ้าหรือ e-Bus ที่วิ่งให้บริการในหลากหลายเส้นทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถบรรทุกไฟฟ้า เรือโดยสารไฟฟ้า ตลอดจนมีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้ากว่า 490 สถานี ครอบคลุมทุกภูมิภาค
นายวสุ กลมเกลี้ยง Executive Vice President EA กล่าวถึงผลดำเนินงานปีนี้มั่นใจว่า รายได้จะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ 50% มาอยู่ที่ 41,300 ล้านบาท จากปี2565 อยู่ที่ 27,547 ล้านบาท และคาดว่ากำไรขั้นต้น(Gross Profit) นิวไฮอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท ซึ่งปีก่อนอยู่ที่ 7,961 ล้านบาท เพราะบริษัทรับรู้รายได้แบตเตอรี่และอีวีเข้ามามากขึ้น