Mr.Data
แม้ภาพรวม SET INDEX ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงมากกว่า 10% แต่ในเดือนพฤศจิกายน 2566 แต่สำหรับมุมมอง 3 กูรูหุ้นจาก บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) บล.เอเซีย พลัส และบล.โกลเบล็ก ยังคงมีมุมมองอย่างมีความหวังว่า ตลาดหุ้นไทยน่าจะเริ่มสร้างฐานใหม่ได้ หลังดำดิ่ง!
แม้ภาพรวม SET INDEX ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงมากกว่า 10% แต่ในเดือนพฤศจิกายน 2566 แต่สำหรับมุมมอง 3 กูรูหุ้นจาก บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) บล.เอเซีย พลัส และบล.โกลเบล็ก ยังคงมีมุมมองอย่างมีความหวังว่า ตลาดหุ้นไทยน่าจะเริ่มสร้างฐานใหม่ได้ หลังดำดิ่ง!
โดยล่าสุด วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ระดับ 1,404.97 จุด ลดลง 6.80 จุด หรือลดลง 0.48% มูลค่าการซื้อขาย 49,743.19 ล้านบาท โดยระหว่างชั่วโมงการซื้อขายดัชนีลดลงต่ำสุดที่ 1,389.46 จุด ลดลง 22.31 จุด
ตลาดหุ้นในเดือนพ.ย. มีความหวังมากน้อยแค่ไหน....
เริ่มจากมุมมองของ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ประเมินว่า แนวโน้มตลาดหุ้นเดือนพฤศจิกายน 2566 จะเริ่มสร้างฐานราคาใหม่ได้หลังจากปรับตัวลงต่อเนื่องในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา เรามองว่าตลาดหุ้นน่าจะแกว่งตัวออกด้านข้าง โดยปัจจัยที่น่าจะพอค้ำยันตลาดหุ้นไทยไว้ได้ในเดือนดังกล่าว ประกอบด้วย 1.) valuations ของ SET Index ที่ลดลงมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจมากขึ้น โดยล่าสุดดัชนีฯ เทรดอยู่ที่ forward PE2566 ที่ 14.7 เท่า และ forward PE2567 ที่ 13.0 เท่า ค่อนข้างน่าสนใจแล้ว
2.) มุมมองของเราที่ว่าบอนด์ยิลด์ของสหรัฐฯ และของไทย น่าจะทยอยปรับลดลงในช่วงสองเดือนสุดท้ายของปี2566 ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะลดแรงกดดันต่อต้นทุนทางการเงิน รวมทั้งลดแรงกดดันต่อ valuations ของสินทรัพย์ทางการเงินในภาพรวม และ 3.) นักเศรษฐศาสตร์ของเรามองว่าค่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าเทียบสกุลดอลล่าร์ฯ ในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า ซึ่งเมื่อผนวกกับบอนด์ยิลด์ที่น่าจะลดลง น่าจะส่งผลดีมากขึ้นต่อฟันด์โฟลว์ในตลาดหุ้นไทย
อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นไทยน่าจะยังไม่ปรับขึ้นแรงเช่นกัน เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศก็ยังคงอยู่ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งหากร้อนแรงเกินไปอาจดันให้บอนด์ยิลด์ขึ้นต่อ นอกจากนี้สถานการณ์ในตะวันออกกลางยังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง
กลยุทธ์การลงทุน เน้นธีมหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ที่น่าจะหนุนให้ราคาหุ้นสามารถปรับตัวโดดเด่น (Outperform) ตลาดโดยรวมได้ดังนี้ 1.) หุ้นที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยและราคาหุ้นปรับลงมามากแล้ว เช่นกลุ่มไฟแนนซ์โดยเราเลือกหุ้น SAWAD และ MTC ทั้งนี้ หากบอนด์ยิลด์เริ่มปรับลงน่าจะส่งผลดีต่อจิตวิทยาของหุ้นกลุ่มดังกล่าว
2.) หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ซึ่งแนวโน้มจะรายงานกำไรไตรมาส 3/2566 เติบโตดีทั้ง YoY และ QoQ เช่นหุ้น BH และ BDMS และ 3.) หุ้นที่มีธุรกิจเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และเอเชีย ซึ่งเป็นสองภาคส่วนที่น่าจะยังเติบโตได้ดีและเด่นกว่าในฝั่งยุโรปอย่างชัดเจน โดยในธีมนี้เราเลือกหุ้น TU และ RBF
สำหรับ บล.เอเซีย พลัส มองว่า ในเดือนนี้ยังมีประเด็นความเสี่ยงต่างประเทศที่ต้องจับตามี 3 ส่วน คือ 1). สถานการณ์สงคราม อิสราเอล – ฮามาส เป็นตัวแปรสำคัญ ซึ่งหากมีการขยายวงกว้างไปสู่ความขัดแย้งระหว่างภูมิภาค อาจทำให้ราคาน้ำมันและเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น และยังยากที่ธนาคารกลางต่างๆ จะรับมือได้โดยที่ไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 2).การเข้าสู่ภาวะเอลนีโญมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตร ซึ่งอาจเป็นตัวเร่ง COST PUSH INFLATION ขึ้นได้ 3).การประชุมของธนาคารกลางต่างๆ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ น่าจะเห็นการคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับที่เหมาะสมตาม Bond Yield 1 ปี เกือบทุกประเทศต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายแล้ว หลังมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยมานานเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูง
อย่างไรก็ตาม ภาพรวม SET INDEX ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา (ก.ย. – ต.ค. 23) ปรับตัวลดลงเกิน 10% ซึ่งเป็นการลดลงลึกมาก จนมีระดับ PECENTILE สูงกว่า 90% เมื่อเทียบกับข้อมูลที่มีทั้งหมดใน 48 ปีที่ผ่านมา
แต่หากไม่มีสงคราม หรือสงครามจบลงเชื่อว่า SET จะฟื้นตัวได้จากหลายปัจจัยเฉพาะตัวหนุน 1). รัฐบาลใหม่ทยอยออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือประชาชนต่อเนื่อง 2).เศรษฐกิจไทยช่วง 2H66 ดูดีขึ้นคาดเติบโตเฉลี่ยไตรมาสละ 3.8% YOY ซึ่งมีตัวเร่งเศรษฐกิจ คือ ภาคการท่องเที่ยวการลงทุนภาครัฐฯ การส่งออกและการบริโภคในประเทศ
3).คาดหนุนกำไร 3H66 เติบโตทั้ง QoQ และ YoY 4).Valuation ของ SET อยู่ในจุดที่น่าทยอยสะสมหุ้นทั้ง P/E66F อยู่ที่ 15.5 เท่า (อยู่ใน ระดับ -1.5 SD), PBV ที่อยู่ 1.34 เท่า (ต่ำกว่าระดับ -2 SD), MEYG66F อยู่ที่ 3.8 เท่า (สูงกว่าหลายๆ ประเทศ), EPS GROWTH 67F อยู่ที่ 12.6% สูงเป็นระดับต้นๆ ในเอเชีย
ในส่วนของ Fund Flow ถ้า FED หยุดขึ้นดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนพ.ย. เป็นต้นไป อาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่า หรือค่าเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าได้ รวมถึงเงินบาทน่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้น หลังดุลการค้าดีกว่าคาด หนุนให้ FUND FLOW ค่อยทยอยไหลกลับมาในตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปี และในปีหน้าได้ และน่าจะสอดคล้องกับในอดีต เวลาค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า หุ้นมักปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตลาดหุ้นประเทศกำลังพัฒนาจะถูกเพิ่มน้ำหนัก และมักจะ Outperform ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วเสมอเนื่องจากมีโอกาสได้ผลตอบแทนจากอัตราแลกเปลี่ยนบวกเพิ่มไปอีก
กลยุทธ์ประจำเดือนพ.ย. แนะนำเอาชนะตลาดด้วยการ BUY & HOLD โดยกระจายการลงทุนให้หุ้นพื้นฐานดีที่แอบซ่อนอยู่ในหลากหลาย SECTOR อย่าง CPN, ERW, BH, MAJOR, WHA, CPALL, TIDLOR
ขณะที่ บล.โกลเบล็ก ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยเดือนพฤศจิกายนปรับตัวขึ้นต่อ หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ(Bond Yield) ที่ปรับตัวลงต่อเนื่อง ส่งผลให้เม็ดเงิน Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติชะลอไหลออก ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวขึ้น ช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดการณ์กรอบดัชนีในเดือนพฤศจิกายนที่ 1,400-1,480 จุด
แนะนำกลยุทธ์การลงทุนใน 3 หุ้นเด่นที่ได้ประโยชน์จาก Bond Yield ปรับตัวลงซึ่งสะท้อนคาดการณ์ของตลาดว่า FED มีแนวโน้มยุติการปรับขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนการเงินของหุ้นกลุ่มการเงินไม่ปรับขึ้นต่อ โดยหุ้นที่ได้อานิสงส์ ได้แก่ TIDLOR, SAWAD และ MTC