กระดานข่าว
BTG ชู 5 ยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืน พร้อมเดินหน้าเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050
12 พฤศจิกายน 2566
“บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)” หรือ “BTG” บริษัทอาหารครบวงจรชั้นนำของไทย จัดงาน “BETAGRO SD DAY 2023” ประกาศทิศทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals – SDGs) และการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG (Environmental, Social, and Governance) ชู 5 ยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืน ครอบคลุม 1) การให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร 2) การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การพัฒนาชุมชน 4) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และ 5) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตอกย้ำจุดประสงค์ขององค์กรที่มุ่งมั่นเพิ่มคุณค่าชีวิตทุกคน ด้วยอาหารที่ดีกว่า เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน
นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ “BTG” กล่าวว่า ในการดำเนินธุรกิจเบทาโกรยึดมั่นในจุดประสงค์ขององค์กรที่มุ่งมั่นเพิ่มคุณค่าชีวิตทุกคน ด้วยอาหารที่ดีกว่า พร้อมทั้งสำนึกรับผิดชอบตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้มั่นใจว่าทุกผลิตภัณฑ์ของเบทาโกรมีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญยังมุ่งสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน
โดยได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานและเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กร สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ที่ให้ความสำคัญกับ 5 เป้าหมายที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจ ได้แก่ การขจัดความอดอยาก สร้างความมั่นคงทางอาหาร, การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน, การสร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน, การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแสวงหาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ด้วยการจัดลำดับประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทั้งห่วงโซ่อุปทานของเบทาโกร (BETAGRO Materiality Topics) โดยในปี 2023-2025 เบทาโกรจะมุ่งเน้นและให้ความสำคัญใน 5 ยุทธศาสตร์สำคัญ ดังนี้
1) คุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Quality and Safety) เบทาโกรมุ่งมั่นผลิตอาหารที่มีคุณภาพและความปลอดภัยขั้นสูงสุด โดย “S-Pure” เป็นแบรนด์แรกและหนึ่งเดียวของไทยที่ได้ผ่านการรับรอง “การเลี้ยงที่ไม่มียาปฏิชีวนะ (Raised Without Antibiotics – RWA)” จาก “NSF สหรัฐอเมริกา” ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อหมู และไข่ไก่ ทั้งนี้ เบทาโกรตั้งเป้าหมายลดการใช้ยาปฎิชีวนะต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ลง 50% ภายในปี 2027 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2021 ด้วยการใช้นวัตกรรมการเลี้ยงที่ทำให้สัตว์มีสุขภาพดี นอกจากนี้เบทาโกรยังได้สนับสนุนฟาร์มภายนอกบริษัทฯ ให้เกิดความตระหนักรู้ในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล และสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับภายในประเทศ พร้อมทั้งได้ออกแบบระบบการติดตามปริมาณการใช้ยา และประเมินความเสี่ยงเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ จำนวน 4 เชื้อตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์ในผลิตภัณฑ์ของเบทาโกร เพื่อทำให้มั่นใจว่าผู้บริโภคจะได้รับอาหารที่มีความปลอดภัยขั้นสูงสุด ตลอดจนการริเริ่มโครงการศึกษาและการติดตามเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) เพื่อเพิ่มระดับความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และสอดคล้องกับแผนยุทธ์ศาสตร์การจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทยอีกด้วย
2) การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Management) เบทาโกรมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดจนการศึกษาและนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้โดยตั้งเป้าลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมลงมากกว่า 20% ในปี 2030 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2022 และมุ่งมั่นสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050
3) การพัฒนาชุมชน (Community Development) เบทาโกรมุ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนและสังคมให้มีความเข้มแข็ง ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ด้วยแนวคิด “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ภายใต้กรอบ “การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม (Holistic Area-based Community Development)” และมุ่งทำงานร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร เพื่อสร้างชุมชนและสังคมที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยตั้งเป้าหมายส่งเสริมความเป็นอยู่และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับชุมชนรอบสถานประกอบการ ด้วยโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบองค์รวมให้ได้ 100% ในปี 2025 กับชุมชนรอบโรงงานและฟาร์มในประเทศ และขยายไปยังสถานประกอบของคู่ค้า เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่ได้รับการพัฒนา มีผลกระทบเชิงบวกจากโครงการและกิจกรรมพัฒนาชุมชน จำนวน 20,000 ครัวเรือนในปี 2025 และสร้างอาชีพให้กับกลุ่มคนพิการ จำนวน 50 โครงการในปี 2025
4) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน (Sustainable Packaging) เบทาโกรตระหนักและมุ่งมั่นสู่ 100% บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco – friendly packaging) ด้วยการออกแบบ ปรับปรุง และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Re-design) เพื่อให้นำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือนำกลับมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Compostable) รวมถึงลดการใช้ทรัพยากร (Reduce) เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุดภายในปี 2030 ซึ่งปัจจุบันกว่า 97% บรรจุภัณฑ์ของบริษัทฯ มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
5) อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี (Occupational Health and Safety) เบทาโกรตระหนักเสมอว่า “พนักงานทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เราจึงมุ่งมั่นที่จะดูแลพนักงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้สถานที่ทำงานและกระบวนการทำงานที่ปลอดภัย” บริษัทฯ จึงมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้จำนวนอุบัติเหตุลดลงจนเป็นศูนย์ ด้วยการนำเอา “การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Management – PSM)” มาเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการชีวอนามัยและความปลอดภัยของเบทาโกร (BETAGRO Safety Framework) ในปี 2024 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายอุบัติการณ์เป็นศูนย์ (Zero Incident) อีกด้วย
“ยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้านไม่เพียงจะสร้างการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับเบทาโกรเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย สร้างความเข้มแข็งและเติบโตไปด้วยกัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำการเป็นบริษัทอาหารครบวงจรชั้นนำของไทยที่มุ่งมั่นเพิ่มคุณค่าชีวิตทุกคน ด้วยอาหารที่ดีกว่า เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน” นายวสิษฐ กล่าวทิ้งท้าย
นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ “BTG” กล่าวว่า ในการดำเนินธุรกิจเบทาโกรยึดมั่นในจุดประสงค์ขององค์กรที่มุ่งมั่นเพิ่มคุณค่าชีวิตทุกคน ด้วยอาหารที่ดีกว่า พร้อมทั้งสำนึกรับผิดชอบตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้มั่นใจว่าทุกผลิตภัณฑ์ของเบทาโกรมีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญยังมุ่งสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน
โดยได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานและเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กร สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ที่ให้ความสำคัญกับ 5 เป้าหมายที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจ ได้แก่ การขจัดความอดอยาก สร้างความมั่นคงทางอาหาร, การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน, การสร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน, การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแสวงหาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ด้วยการจัดลำดับประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทั้งห่วงโซ่อุปทานของเบทาโกร (BETAGRO Materiality Topics) โดยในปี 2023-2025 เบทาโกรจะมุ่งเน้นและให้ความสำคัญใน 5 ยุทธศาสตร์สำคัญ ดังนี้
1) คุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Quality and Safety) เบทาโกรมุ่งมั่นผลิตอาหารที่มีคุณภาพและความปลอดภัยขั้นสูงสุด โดย “S-Pure” เป็นแบรนด์แรกและหนึ่งเดียวของไทยที่ได้ผ่านการรับรอง “การเลี้ยงที่ไม่มียาปฏิชีวนะ (Raised Without Antibiotics – RWA)” จาก “NSF สหรัฐอเมริกา” ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อหมู และไข่ไก่ ทั้งนี้ เบทาโกรตั้งเป้าหมายลดการใช้ยาปฎิชีวนะต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ลง 50% ภายในปี 2027 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2021 ด้วยการใช้นวัตกรรมการเลี้ยงที่ทำให้สัตว์มีสุขภาพดี นอกจากนี้เบทาโกรยังได้สนับสนุนฟาร์มภายนอกบริษัทฯ ให้เกิดความตระหนักรู้ในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล และสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับภายในประเทศ พร้อมทั้งได้ออกแบบระบบการติดตามปริมาณการใช้ยา และประเมินความเสี่ยงเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ จำนวน 4 เชื้อตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์ในผลิตภัณฑ์ของเบทาโกร เพื่อทำให้มั่นใจว่าผู้บริโภคจะได้รับอาหารที่มีความปลอดภัยขั้นสูงสุด ตลอดจนการริเริ่มโครงการศึกษาและการติดตามเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) เพื่อเพิ่มระดับความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และสอดคล้องกับแผนยุทธ์ศาสตร์การจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทยอีกด้วย
2) การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Management) เบทาโกรมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดจนการศึกษาและนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้โดยตั้งเป้าลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมลงมากกว่า 20% ในปี 2030 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2022 และมุ่งมั่นสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050
3) การพัฒนาชุมชน (Community Development) เบทาโกรมุ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนและสังคมให้มีความเข้มแข็ง ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ด้วยแนวคิด “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ภายใต้กรอบ “การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม (Holistic Area-based Community Development)” และมุ่งทำงานร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร เพื่อสร้างชุมชนและสังคมที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยตั้งเป้าหมายส่งเสริมความเป็นอยู่และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับชุมชนรอบสถานประกอบการ ด้วยโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบองค์รวมให้ได้ 100% ในปี 2025 กับชุมชนรอบโรงงานและฟาร์มในประเทศ และขยายไปยังสถานประกอบของคู่ค้า เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่ได้รับการพัฒนา มีผลกระทบเชิงบวกจากโครงการและกิจกรรมพัฒนาชุมชน จำนวน 20,000 ครัวเรือนในปี 2025 และสร้างอาชีพให้กับกลุ่มคนพิการ จำนวน 50 โครงการในปี 2025
4) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน (Sustainable Packaging) เบทาโกรตระหนักและมุ่งมั่นสู่ 100% บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco – friendly packaging) ด้วยการออกแบบ ปรับปรุง และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Re-design) เพื่อให้นำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือนำกลับมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Compostable) รวมถึงลดการใช้ทรัพยากร (Reduce) เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุดภายในปี 2030 ซึ่งปัจจุบันกว่า 97% บรรจุภัณฑ์ของบริษัทฯ มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
5) อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี (Occupational Health and Safety) เบทาโกรตระหนักเสมอว่า “พนักงานทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เราจึงมุ่งมั่นที่จะดูแลพนักงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้สถานที่ทำงานและกระบวนการทำงานที่ปลอดภัย” บริษัทฯ จึงมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้จำนวนอุบัติเหตุลดลงจนเป็นศูนย์ ด้วยการนำเอา “การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Management – PSM)” มาเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการชีวอนามัยและความปลอดภัยของเบทาโกร (BETAGRO Safety Framework) ในปี 2024 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายอุบัติการณ์เป็นศูนย์ (Zero Incident) อีกด้วย
“ยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้านไม่เพียงจะสร้างการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับเบทาโกรเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย สร้างความเข้มแข็งและเติบโตไปด้วยกัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำการเป็นบริษัทอาหารครบวงจรชั้นนำของไทยที่มุ่งมั่นเพิ่มคุณค่าชีวิตทุกคน ด้วยอาหารที่ดีกว่า เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน” นายวสิษฐ กล่าวทิ้งท้าย