จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : SSP เดินหน้าขยายธุรกิจในเวียดนาม สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้ถือหุ้น


15 กุมภาพันธ์ 2566
เศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวดีขึ้น  หนุนการเติบโตของธุรกิจพลังงาน โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และบมจ.เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (SSP) ที่เดินหน้ารุกธุรกิจโรงไฟฟ้าในเวียดนาม

รายงานพิเศษ SSP เดินหน้าขยายธุรกิจในเวียดนา.jpg

บมจ.เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (SSP)  ยังคงเดินหน้าขยายธุรกิจในประเทศเวียดนามอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด บริษัทฯได้เข้าซื้อหุ้น ในบริษัท Truong Thanh Energy and Real Estate Joint Stock Company (TEG) ซึ่งดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิตติดตั้ง 49.6 เมกกะวัตต์ ในจังหวัดกว้างหงาย, โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิตติดตั้ง 257 เมกกะวัตต์ ในจังหวัดฟุเย้น, โรงไฟฟ้าพลังงานลม กำลังการผลิตติดตั้ง 48 เมกกะวัตต์ ในจังหวัดกวางจี และธุรกิจด้านอสังหาริมทัพย์ ในประเทศเวียดนาม
         
ซึ่งเมื่อวันที่ 18 ม.ค.66  ที่ผ่านมา บริษัทได้เข้าทำรายการซื้อหุ้นใน TEG  ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการลงทุนคือ 5% ของทุนจดทะเบียนทั้งหมดของ TEG  คิดเป็นมูลค่า 54.38 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่บริษัทที่จะทำให้บริษัทมีพันธมิตร  เพื่อสนับสนุนการต่อยอดธุรกิจพลังงานหมุนเวียน 

สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่จะได้มาในอนาคต อันจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้น และจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว

ด้านบล.ดาโอวิเคราะห์หุ้น SSP โดยระบุว่า จากการเข้าร่วมงาน Analysts Meeting เมื่อ 16 พ.ย. 2022 พบว่า 
- แนวโน้ม 4Q22E กำไรเติบโต YoY จากการ COD โครงการใหม่ระหว่างปีราว 77 MWe (+50% YoY) และคงเป้ารายได้ปี 2022E เติบโตอย่างน้อย 30% (9M22 +42% YoY)
- ยังคงเป้ากำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น 500 MWe ภายในปี 2025E จาก 378MWe ยังคงเน้นไปที่โครงการในเวียดนามและไทยเป็นหลัก
- ธุรกิจ Solar rooftop ในอินโดนีเซียยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน COD แล้ว 24MWe และอยู่ระหว่างพัฒนาอีก 20MWe
- พร้อมเข้าร่วมพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนในไทยซึ่งจะเปิดรับช่วงปลาย พ.ย. 2022 นี้

ดังนั้นบริษัทจึงคงประมาณการกำไรปี 2022E แนวโน้ม 4Q22E เติบโตเด่น YoY เรามีมุมมองเป็นกลางจากการประชุม ยังไม่มีประเด็นใหม่ ทั้งนี้เรายังคงประมาณการกำไรปกติ 2022E ที่ 1.2 พันล้านบาท (+42% YoY, EPS +10% YoY dilution effect) โดยแนวโน้ม 4Q22E คาดก าไรเติบโตเด่นทั้ง YoY โดยมีปัจจัยหลักคือการรับรู้รายได้โครงการใหม่  ซึ่ง COD ช่วง 4Q21-4Q22E (50MWe : +27% YoY) การรับผลบวกปรับขึ้นค่า Ft เต็มไตรมาส และปัจจัยฤดูกาลของโรงไฟฟ้าพลังงานลมและโซลาร์ในไทย

และให้ราคาเป้าหมาย 16.00 บาท อิงวิธี DCF (average WACC 5.0%, terminal growth 0%) ทั้งนี้key catalyst คือการได้โครงการใหม่มาพัฒนาเพิ่มเติมจาก active investment ของบริษัททั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการประกาศแผน Master plan 8 ของเวียดนามจะทำให้มี potential projects ออกสู่ตลาดอีกมาก
SSP