Wealth Sharing
ZEN อวดงบ Q3/66 รายได้รวม 1,004 ลบ. รุกเปิดสาขาใหม่ทั้งไทยและตปท. - เพิ่มรายได้ค้าปลีก
16 พฤศจิกายน 2566
บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โชว์ตัวเลขไตรมาส 3 ปี 2566 รายได้รวม 1,004 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 93 ล้านบาท โดยมีปัจจัยหลักมาจากธุรกิจร้านอาหารเติบโตขึ้น 11% และรายได้ธุรกิจค้าปลีกเติบโตขึ้น 58% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน สำหรับงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 รายได้รวมทั้งกลุ่มบริษัทฯ อยู่ที่ 2,883 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 17% จากงวด 9 เดือนแรกของปี 2565 มีกำไรสุทธิของทั้งกลุ่มบริษัทฯ อยู่ที่ 134 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22 ล้านบาท หรือ 20% และมีกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ อยู่ที่ 120 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21 ล้านบาท หรือ 21% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา
คุณยุพาพรรณ เอกสิทธิกุล กรรมการบริหารและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงินและบัญชี บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (ZEN) เปิดเผยว่า “สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาสที่ 3 ปี 2566
ในส่วนของ ‘ธุรกิจร้านอาหารโดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่ร้าน’ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัท เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 73 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 11% และสำหรับงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 มีรายได้เพิ่มขึ้น 414 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 23% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ของกลุ่มบริษัทฯ อาทิ เดอ ตำมั่ว
(De Tummour) ร้านอาหารไทยในเครือ ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘The original Thai food’ ยกระดับประสบการณ์รสชาติ
ไทยแท้ ครบเครื่องเรื่องอาหารไทย พร้อมลุยตลาดร้านอาหารไทยแบบเต็มตัว เน้นเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว พร้อมปั้นโมเดลต้นแบบ Flagship Store โฉมใหม่ ที่เทอร์มินอล 21 พัทยา
ทั้งนี้ยังมีการออกแคมเปญการตลาดที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค กับปรากฏการณ์ครั้งแรกของแบรนด์ ‘อากะ’ ฉลองครบรอบ 16 ปี ‘ความจุกที่ยืดยาววววววว’ ต่อยอดมะนาวช็อต ตบท้ายมื้อปิ้งย่าง สู่ Product Killer ‘AKA LONG SHOT’
ดึงลูกค้าเข้าร้าน ตอกย้ำความสำเร็จของกลยุทธ์การตลาดที่เกิดจากเสียงของผู้บริโภค (Voice of Customer) ซึ่งได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างล้นหลาม และยังมีแคมเปญโปรโมชั่นอื่น ๆ ของทุกแบรนด์ในเครือ ทำให้มีจำนวนลูกค้าเข้ามารับประทานอาหารที่ร้านมากขึ้น ส่งผลให้รายได้จากช่องทางนี้เติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมี ‘การขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง’ โดยบริษัทเปิดร้านอาหารใหม่รวม 18 สาขา แบ่งเป็นสาขาที่บริษัทเป็นเจ้าของ 13 สาขา สาขาแฟรนไชส์ในประเทศ 5 สาขา หากนับรวมในงวด 9 เดือนแรก ปี 2566 บริษัทเปิดร้านอาหารใหม่จำนวนทั้งหมด 33 สาขา แบ่งเป็นสาขาที่บริษัทเป็นเจ้าของ 20 สาขา สาขาแฟรนไชส์ในประเทศ 12 สาขา และสาขาแฟรนไชส์ต่างประเทศ 1 สาขา
โดยในช่วงไตรมาส 3 กรกฎาคม - กันยายน ปี 2566 มีการเปิดสาขาใหม่ดังนี้
- แบรนด์ อากะ (AKA) เปิด 6 สาขาใหม่ ได้แก่ มาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน, โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ลพบุรี, เซ็นทรัล
รามอินทรา, เซ็นทรัล มหาชัย, โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เพชรบุรี, เซ็นทรัล ศรีราชา รวมทั้งหมดเป็น 50 สาขา และเตรียมเปิดอีก 4 สาขา ภายในสิ้นปี
- แบรนด์ เซ็น เรสเตอร์รอง (ZEN) เปิด 3 สาขาใหม่ ได้แก่ เซ็นทรัลรามอินทรา, ศูนย์การค้าจังซีลอน ภูเก็ต, เซ็นทรัล มหาชัย รวมทั้งหมดเป็น 51 สาขา และเตรียมเปิดอีก 5 สาขาภายในสิ้นปี
- แบรนด์ ออน เดอะ เทเบิ้ล (On the Table) เปิด 2 สาขาใหม่ ได้แก่ เดอะ พอร์ทอล อิมแพ็ค เมืองทองธานี, เทอร์มินอล 21 พัทยา รวมทั้งหมดเป็น 31 สาขา และเตรียมเปิดอีก 3 สาขาภายในสิ้นปี
- แบรนด์ ตำมั่ว เปิดสาขาแฟรนไชส์ 4 สาขาใหม่ และเปิด เดอ ตำมั่ว เป็นสาขาที่บริษัทเป็นเจ้าของ 1 สาขาใหม่ที่เทอร์มินอล 21 พัทยา
- แบรนด์ ลาวญวน เปิด 1 สาขาใหม่ เป็นสาขาที่บริษัทเป็นเจ้าของ ได้แก่ เซ็นทรัล ระยอง และสาขาแฟรนไชส์อีก 1 สาขา
- แบรนด์ เขียง เซอร์ไพรส์ช่วงท้ายปีกับการเตรียมเปิดสาขาแฟรนไชส์ที่สาขาต่างประเทศอีก 2 สาขา ภายใน
สิ้นปีนี้
ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 บริษัทมีสาขาร้านอาหารทั้งสิ้น 329 สาขา แบ่งเป็นสาขาที่บริษัทเป็นเจ้าของเอง 166 สาขา สาขาแฟรนไชส์ในประเทศ 154 สาขา และสาขาแฟรนไชส์ต่างประเทศ 9 สาขา
และอีกธุรกิจที่โดดเด่นคือ ธุรกิจอาหารค้าปลีกเติบโตขึ้น 58% จากงวดเดียวกันของปีก่อน จากการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตทั้งธุรกิจค้าปลีกเครื่องปรุงรส ธุรกิจค้าปลีกอาหารทะเลแช่แข็ง และวัตถุดิบในการปรุงอาหาร เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ
รวมถึง ‘การควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ’ ทั้งค่าใช้จ่ายพนักงานลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างของหน่วยงานสนับสนุนภายในองค์กรในไตรมาสที่ผ่านมา แต่ยังคงมีปัจจัยด้านต้นทุนราคาวัตถุดิบของทั้งธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจอาหารค้าปลีกปรับเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากแรงกดดันด้านอุปทานจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้บริษัทต้องวางแผนการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุมมากขึ้นด้วยเช่นกัน”
นอกจากนี้ทาง เซ็น กรุ๊ป ยังได้รับการประเมินติดอันดับหุ้นยั่งยืนต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Agro & Food Industry) จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยได้รับผลประเมินเป็น ‘หุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ระดับ AA ปี 2566’ ซึ่งผลรวมการประเมินที่ได้รับคะแนนรวมเพิ่มมากขึ้นในทุกปี ตอกย้ำการเป็นผู้นำธุรกิจบริการด้านอาหารของประเทศไทยที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรให้เติบโต โปร่งใส ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน พร้อมทั้งยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social and Governance : ESG)
“สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในไตรมาส 4 ก็ยังคงมุ่งเน้นเรื่องการออกแคมเปญที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในช่วงส่งท้ายปี ของทุกแบรนด์ในเครือ และปักหมุดขยายสาขาอย่างต่อเนื่องเช่นเดิม รวมถึงการเพิ่มกำลังการผลิต และปรับเพิ่มรูปแบบการจัดจำหน่าย เพื่อครอบคลุมและรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าในหลากหลายช่องทาง”
คุณยุพาพรรณ กล่าวทิ้งท้าย
คุณยุพาพรรณ เอกสิทธิกุล กรรมการบริหารและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงินและบัญชี บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (ZEN) เปิดเผยว่า “สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาสที่ 3 ปี 2566
ในส่วนของ ‘ธุรกิจร้านอาหารโดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่ร้าน’ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัท เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 73 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 11% และสำหรับงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 มีรายได้เพิ่มขึ้น 414 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 23% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ของกลุ่มบริษัทฯ อาทิ เดอ ตำมั่ว
(De Tummour) ร้านอาหารไทยในเครือ ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘The original Thai food’ ยกระดับประสบการณ์รสชาติ
ไทยแท้ ครบเครื่องเรื่องอาหารไทย พร้อมลุยตลาดร้านอาหารไทยแบบเต็มตัว เน้นเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว พร้อมปั้นโมเดลต้นแบบ Flagship Store โฉมใหม่ ที่เทอร์มินอล 21 พัทยา
ทั้งนี้ยังมีการออกแคมเปญการตลาดที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค กับปรากฏการณ์ครั้งแรกของแบรนด์ ‘อากะ’ ฉลองครบรอบ 16 ปี ‘ความจุกที่ยืดยาววววววว’ ต่อยอดมะนาวช็อต ตบท้ายมื้อปิ้งย่าง สู่ Product Killer ‘AKA LONG SHOT’
ดึงลูกค้าเข้าร้าน ตอกย้ำความสำเร็จของกลยุทธ์การตลาดที่เกิดจากเสียงของผู้บริโภค (Voice of Customer) ซึ่งได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างล้นหลาม และยังมีแคมเปญโปรโมชั่นอื่น ๆ ของทุกแบรนด์ในเครือ ทำให้มีจำนวนลูกค้าเข้ามารับประทานอาหารที่ร้านมากขึ้น ส่งผลให้รายได้จากช่องทางนี้เติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมี ‘การขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง’ โดยบริษัทเปิดร้านอาหารใหม่รวม 18 สาขา แบ่งเป็นสาขาที่บริษัทเป็นเจ้าของ 13 สาขา สาขาแฟรนไชส์ในประเทศ 5 สาขา หากนับรวมในงวด 9 เดือนแรก ปี 2566 บริษัทเปิดร้านอาหารใหม่จำนวนทั้งหมด 33 สาขา แบ่งเป็นสาขาที่บริษัทเป็นเจ้าของ 20 สาขา สาขาแฟรนไชส์ในประเทศ 12 สาขา และสาขาแฟรนไชส์ต่างประเทศ 1 สาขา
โดยในช่วงไตรมาส 3 กรกฎาคม - กันยายน ปี 2566 มีการเปิดสาขาใหม่ดังนี้
- แบรนด์ อากะ (AKA) เปิด 6 สาขาใหม่ ได้แก่ มาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน, โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ลพบุรี, เซ็นทรัล
รามอินทรา, เซ็นทรัล มหาชัย, โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เพชรบุรี, เซ็นทรัล ศรีราชา รวมทั้งหมดเป็น 50 สาขา และเตรียมเปิดอีก 4 สาขา ภายในสิ้นปี
- แบรนด์ เซ็น เรสเตอร์รอง (ZEN) เปิด 3 สาขาใหม่ ได้แก่ เซ็นทรัลรามอินทรา, ศูนย์การค้าจังซีลอน ภูเก็ต, เซ็นทรัล มหาชัย รวมทั้งหมดเป็น 51 สาขา และเตรียมเปิดอีก 5 สาขาภายในสิ้นปี
- แบรนด์ ออน เดอะ เทเบิ้ล (On the Table) เปิด 2 สาขาใหม่ ได้แก่ เดอะ พอร์ทอล อิมแพ็ค เมืองทองธานี, เทอร์มินอล 21 พัทยา รวมทั้งหมดเป็น 31 สาขา และเตรียมเปิดอีก 3 สาขาภายในสิ้นปี
- แบรนด์ ตำมั่ว เปิดสาขาแฟรนไชส์ 4 สาขาใหม่ และเปิด เดอ ตำมั่ว เป็นสาขาที่บริษัทเป็นเจ้าของ 1 สาขาใหม่ที่เทอร์มินอล 21 พัทยา
- แบรนด์ ลาวญวน เปิด 1 สาขาใหม่ เป็นสาขาที่บริษัทเป็นเจ้าของ ได้แก่ เซ็นทรัล ระยอง และสาขาแฟรนไชส์อีก 1 สาขา
- แบรนด์ เขียง เซอร์ไพรส์ช่วงท้ายปีกับการเตรียมเปิดสาขาแฟรนไชส์ที่สาขาต่างประเทศอีก 2 สาขา ภายใน
สิ้นปีนี้
ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 บริษัทมีสาขาร้านอาหารทั้งสิ้น 329 สาขา แบ่งเป็นสาขาที่บริษัทเป็นเจ้าของเอง 166 สาขา สาขาแฟรนไชส์ในประเทศ 154 สาขา และสาขาแฟรนไชส์ต่างประเทศ 9 สาขา
และอีกธุรกิจที่โดดเด่นคือ ธุรกิจอาหารค้าปลีกเติบโตขึ้น 58% จากงวดเดียวกันของปีก่อน จากการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตทั้งธุรกิจค้าปลีกเครื่องปรุงรส ธุรกิจค้าปลีกอาหารทะเลแช่แข็ง และวัตถุดิบในการปรุงอาหาร เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ
รวมถึง ‘การควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ’ ทั้งค่าใช้จ่ายพนักงานลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างของหน่วยงานสนับสนุนภายในองค์กรในไตรมาสที่ผ่านมา แต่ยังคงมีปัจจัยด้านต้นทุนราคาวัตถุดิบของทั้งธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจอาหารค้าปลีกปรับเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากแรงกดดันด้านอุปทานจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้บริษัทต้องวางแผนการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุมมากขึ้นด้วยเช่นกัน”
นอกจากนี้ทาง เซ็น กรุ๊ป ยังได้รับการประเมินติดอันดับหุ้นยั่งยืนต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Agro & Food Industry) จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยได้รับผลประเมินเป็น ‘หุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ระดับ AA ปี 2566’ ซึ่งผลรวมการประเมินที่ได้รับคะแนนรวมเพิ่มมากขึ้นในทุกปี ตอกย้ำการเป็นผู้นำธุรกิจบริการด้านอาหารของประเทศไทยที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรให้เติบโต โปร่งใส ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน พร้อมทั้งยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social and Governance : ESG)
“สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในไตรมาส 4 ก็ยังคงมุ่งเน้นเรื่องการออกแคมเปญที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในช่วงส่งท้ายปี ของทุกแบรนด์ในเครือ และปักหมุดขยายสาขาอย่างต่อเนื่องเช่นเดิม รวมถึงการเพิ่มกำลังการผลิต และปรับเพิ่มรูปแบบการจัดจำหน่าย เพื่อครอบคลุมและรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าในหลากหลายช่องทาง”
คุณยุพาพรรณ กล่าวทิ้งท้าย