จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : รัฐบาลหนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล INET รับอานิสงส์ผลงานโตโดดเด่น
16 พฤศจิกายน 2566
การประกาศนโยบายพัฒนาและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของรัฐบาล เอื้อธุรกิจบมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET)ที่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ และตั้งเป้าการเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างจริงจังของรัฐบาล โดยการร่วมมือกับบริษัทต่างชาติชั้นนำของโลก หนุนการเติบโตของ บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) ในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจร
ซึ่งในการเดินทางไปประชุมเอเปคของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาศักยภาพทางดิจิทัลของประเทศไทยในทุกมิติอย่างยั่งยืน พร้อมปูทางสู่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มี AI และคลาวด์เป็นหัวใจหลัก
โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับดังกล่าว มีรายละเอียด
ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรมดิจิทัล
ไมโครซอฟท์จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สอดคล้องกับนโยบายด้านรัฐบาลดิจิทัลและการใช้บริการระบบคลาวด์ภาครัฐ หรือ Cloud First ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนภาคการเกษตร สาธารณสุข การท่องเที่ยว และการศึกษา
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังจะร่วมพิจารณาแผนการลงทุนก่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในประเทศไทย เพื่อยกระดับการใช้งานคลาวด์และ AI ต่อไปในอนาคต และพร้อมกันนี้ ไมโครซอฟท์จะให้การสนับสนุนกับรัฐบาลไทยในด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้วยการนำเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด พร้อมด้วยความเชี่ยวชาญจากบุคลากรชั้นนำของบริษัท
ปูทางสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วย AI
ไมโครซอฟท์จะทำงานร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาและผสมผสานเทคโนโลยี AI เข้ากับโครงการด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) และบริการสาธารณะต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่คนไทย นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมีแผนที่จะร่วมกันจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเชิงกลยุทธ์ด้าน AI (AI Center of Excellence) เพื่อยกระดับโครงการที่ใช้เทคโนโลยี AI ของภาครัฐ จัดทำโรดแมปที่จะช่วยให้การนำเทคโนโลยี AI มาใช้งานเกิดขึ้นได้จริง และส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในภาคส่วนและอุตสาหกรรมต่างๆ
ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมยังจะร่วมหารือกับไมโครซอฟท์เกี่ยวกับการกำหนดทิศทางนโยบายและกรอบการกำกับดูแล เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถนำ AI มาใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
เสริมทักษะคนไทยเพื่อชีวิตในยุคหน้า
ไมโครซอฟท์ จะสานต่อพันธกิจในการยกระดับทักษะแห่งอนาคตสำหรับคนไทยกว่า 10 ล้านคน ผ่านทางความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานอื่นๆ โดยครอบคลุมทักษะสำคัญในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่สองเพื่อการสื่อสารหรือความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงการฝึกฝนนักพัฒนานวัตกรรมรุ่นใหม่ในทุกสายอาชีพ (Citizen Developers) ในรูปแบบที่เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น
ยกระดับประเทศไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
หน่วยงานภาครัฐของไทย จะทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2608 ผ่านทางการสร้างพื้นที่ทดสอบสำหรับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Sandbox) เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วน นับตั้งแต่ภาครัฐ องค์กรเอกชนขนาดใหญ่ ไปจนถึงผู้ประกอบการรายย่อย นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังมีแผนที่จะนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้งานเต็ม 100% ในโครงการและแผนการลงทุนในอนาคตอีกด้วย
ซึ่งแนวทางการพัฒนาประเทศดังกล่าว สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของ บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) ในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจร แบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. บริการ Cloud Solutions 2. บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Access ) 3. บริการ Co-Location
โดยนางมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ มั่นใจผลงานของบริษัทในปีนี้ยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ส่งผลให้ภาคธุรกิจฟื้นตัว อีกทั้งภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการขับเคลื่อนด้าน Digital Transformation ออกมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทฯ ที่มุ่งเข้าสู่ยุค Digital Transformation และปรับเปลี่ยนบทบาทจาก Cloud Service Provider เป็น Trusted Platform Service Provider
มุ่งเน้นการลงทุนในบริการ Platform ต่างๆ เพื่อต่อยอดการใช้งานของบริการ Cloud ให้ทั้งลูกค้าเดิมและขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มเติม พร้อมกับมุ่งมั่นบริหารต้นทุน เช่น การทำวิจัยและพัฒนา (R&D) เทคโนโลยีเป็นของตนเอง เพื่อทดแทนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการสร้างโซลาร์ฟาร์มเพื่อลดต้นทุนการใช้ไฟฟ้า
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างจริงจังของรัฐบาล โดยการร่วมมือกับบริษัทต่างชาติชั้นนำของโลก หนุนการเติบโตของ บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) ในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจร
ซึ่งในการเดินทางไปประชุมเอเปคของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาศักยภาพทางดิจิทัลของประเทศไทยในทุกมิติอย่างยั่งยืน พร้อมปูทางสู่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มี AI และคลาวด์เป็นหัวใจหลัก
โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับดังกล่าว มีรายละเอียด
ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรมดิจิทัล
ไมโครซอฟท์จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สอดคล้องกับนโยบายด้านรัฐบาลดิจิทัลและการใช้บริการระบบคลาวด์ภาครัฐ หรือ Cloud First ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนภาคการเกษตร สาธารณสุข การท่องเที่ยว และการศึกษา
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังจะร่วมพิจารณาแผนการลงทุนก่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในประเทศไทย เพื่อยกระดับการใช้งานคลาวด์และ AI ต่อไปในอนาคต และพร้อมกันนี้ ไมโครซอฟท์จะให้การสนับสนุนกับรัฐบาลไทยในด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้วยการนำเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด พร้อมด้วยความเชี่ยวชาญจากบุคลากรชั้นนำของบริษัท
ปูทางสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วย AI
ไมโครซอฟท์จะทำงานร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาและผสมผสานเทคโนโลยี AI เข้ากับโครงการด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) และบริการสาธารณะต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่คนไทย นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมีแผนที่จะร่วมกันจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเชิงกลยุทธ์ด้าน AI (AI Center of Excellence) เพื่อยกระดับโครงการที่ใช้เทคโนโลยี AI ของภาครัฐ จัดทำโรดแมปที่จะช่วยให้การนำเทคโนโลยี AI มาใช้งานเกิดขึ้นได้จริง และส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในภาคส่วนและอุตสาหกรรมต่างๆ
ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมยังจะร่วมหารือกับไมโครซอฟท์เกี่ยวกับการกำหนดทิศทางนโยบายและกรอบการกำกับดูแล เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถนำ AI มาใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
เสริมทักษะคนไทยเพื่อชีวิตในยุคหน้า
ไมโครซอฟท์ จะสานต่อพันธกิจในการยกระดับทักษะแห่งอนาคตสำหรับคนไทยกว่า 10 ล้านคน ผ่านทางความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานอื่นๆ โดยครอบคลุมทักษะสำคัญในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่สองเพื่อการสื่อสารหรือความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงการฝึกฝนนักพัฒนานวัตกรรมรุ่นใหม่ในทุกสายอาชีพ (Citizen Developers) ในรูปแบบที่เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น
ยกระดับประเทศไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
หน่วยงานภาครัฐของไทย จะทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2608 ผ่านทางการสร้างพื้นที่ทดสอบสำหรับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Sandbox) เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วน นับตั้งแต่ภาครัฐ องค์กรเอกชนขนาดใหญ่ ไปจนถึงผู้ประกอบการรายย่อย นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังมีแผนที่จะนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้งานเต็ม 100% ในโครงการและแผนการลงทุนในอนาคตอีกด้วย
ซึ่งแนวทางการพัฒนาประเทศดังกล่าว สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของ บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) ในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจร แบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. บริการ Cloud Solutions 2. บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Access ) 3. บริการ Co-Location
โดยนางมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ มั่นใจผลงานของบริษัทในปีนี้ยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ส่งผลให้ภาคธุรกิจฟื้นตัว อีกทั้งภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการขับเคลื่อนด้าน Digital Transformation ออกมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทฯ ที่มุ่งเข้าสู่ยุค Digital Transformation และปรับเปลี่ยนบทบาทจาก Cloud Service Provider เป็น Trusted Platform Service Provider
มุ่งเน้นการลงทุนในบริการ Platform ต่างๆ เพื่อต่อยอดการใช้งานของบริการ Cloud ให้ทั้งลูกค้าเดิมและขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มเติม พร้อมกับมุ่งมั่นบริหารต้นทุน เช่น การทำวิจัยและพัฒนา (R&D) เทคโนโลยีเป็นของตนเอง เพื่อทดแทนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการสร้างโซลาร์ฟาร์มเพื่อลดต้นทุนการใช้ไฟฟ้า