ทีซีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน (TCM Corporation) หรือ TCMC เผยผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 มีรายได้กว่า 1.84 พันล้านบาท กำไรสุทธิ 7.43 ล้านบาท ชี้สภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงผันผวน ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นตามสถานการณ์โลก อย่างไรก็ตามจากการที่บริษัทมีการเตรียมความพร้อมไว้แล้วอย่างดี ทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพ ยกระดับการบริหารจัดการต้นทุน จึงได้รับผลกระทบไม่มากเท่าคู่แข่งในตลาด ยังคงเดินหน้าบูรณาการตามแผน
นางสาวปิยพร พรรณเชษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีซีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TCMC) เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 บริษัททีซีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (เรียกรวมกันว่า “กลุ่มบริษัท”) มีผลกำไรจากการดำเนินงานลดลงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้ว่ารายได้ของกลุ่มธุรกิจวัสดุตกแต่งพื้นผิวจะฟื้นตัวตามคาด แต่รายได้ของกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ลดลงอย่างมากจากสภาพตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย และในช่วงไตรมาส 3 เป็นช่วงหยุดพักร้อนของประเทศอังกฤษ เป็น low season ของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ ส่งผลให้บริษัทมีรายได้จากการขายและบริการในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 จำนวน 1,847.17 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ มีรายได้ 2,037.63 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.35 และ มี EBITDA จำนวน 158.42 ล้านบาท สูงขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 36.41 อย่างไรก็ดีบริษัทยังมีผลประกอบการเป็นกำไรสุทธิ 7.43 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่ 3.87 ล้านบาท
“ผลการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาสที่สามสะท้อนให้เห็นว่าสภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงผันผวน ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาพลังงาน แต่บริษัทได้มีการเตรียมความพร้อมไว้แล้วอย่างดี ตลอดระยะเวลาหลายปีผ่านมาบริษัทมีการปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพการดำเนินการ การบริหารจัดการต้นทุน จึงไม่ได้รับผลกระทบที่เห็นเด่นชัด ภาพรวมของบริษัทยังคงทำรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจวัสดุตกแต่งพื้นผิวที่ฟื้นตัวจากการฟื้นตัวของตลาดท่องเที่ยวและโรงแรม ด้านธุรกิจพรมและผ้าหุ้มเบาะรถยนต์ก็ค่อยๆ ฟื้นตัวตามสถานการณ์ตลาด ทั้งปัญหาการขาดแคลนแผงวงจรอุตสาหกรรมรถยนต์ก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งเรามั่นใจว่าผลการประกอบการของบริษัทในภาพรวมของปีนี้จะยังคงสอดคล้องกับสภาวะตลาด โดยเราจะมุ่งทำตลาดส่งออก โดยเฉพาะตลาดโซนเอเชียที่มีศักยภาพ และยังคงเติบโตแข็งแกร่ง” นางสาวปิยพรกล่าว
มุ่งปรับประสิทธิภาพลุยฝ่าสภาวะผันผวน แม้ในไตรมาสที่สามกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ (TCM Living) มียอดขายลดลงร้อยละ 20.59 เมื่อเทียบไตรมาสที่ผ่านมา จากสภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูงขึ้น และการปรับอัตราดอกเบี้ยของประเทศอังกฤษ ทำให้คนใช้จ่ายน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสินค้านำเข้าและสินค้าฟุ่มเฟือย รวมถึงการเป็นช่วงหยุดยาวของอังกฤษทำให้คนเลือกใช้จ่ายกับการเดินทางท่องเที่ยวมากกว่า การซื้อของกลุ่มธุรกิจมีกำไรสูงขึ้น 32.78 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนถึงแม้จะมียอดขายลดลง คิดเป็นกำไรสูงขึ้นร้อยละ 6.77 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย โดยมีอัตราส่วนกำไรปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 19.48 จากการกระจายแหล่งผลิต และการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ปรับราคาสินค้าเพื่อรับกับผลกระทบจากการค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สูงขึ้น รวมถึงกำไรจากฝั่งนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากค่าตู้คอนเทนเนอร์ที่ลดราคาลงอยู่ในระดับปกติ ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายการขายและบริหารได้ดีกว่าที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการยกเลิกสัญญาเช่าโรงงาน และการปรับอัตรากำลังให้เหมาะสมกับปริมาณคำสั่งซื้อ ซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปี ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดจะส่งผลดีต่อไปในอนาคต ทั้งนี้กลุ่มธุรกิจมีค่าใช้จ่ายการขายและบริหารในไตรมาสนี้รวมกันสูงขึ้นร้อยละ 4.97 เป็นผลจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงการเข้าร่วมงาน furniture show ในต่างประเทศ เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ต้นทุนทางการเงินที่มีปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 5.25 และภาษีเงินได้ กลุ่มธุรกิจมีผลขาดทุนสุทธิที่ 57.29 ล้านบาท ต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 55.81 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม บริษัทมั่นใจกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์จะกลับมาทำกำไรได้ในช่วง High Season ที่ความต้องการซื้อเพิ่มมากขึ้นในหลายตลาด โดยจะเน้นที่ตลาดส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะโซนเอเชียที่ตลาดยังเติบโตแข็งแกร่ง เศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้มเติบโตจากการลงทุนของภาคเอกชนและนโยบายสนับสนุนของภาครัฐ นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจจะยังมุ่งสู่การผลิตและออกแบบที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่เพิ่มมากยิ่งขึ้น
ด้านกลุ่มธุรกิจวัสดุตกแต่งพื้นผิว (TCM Surface) มีรายได้จากการขายและบริการจำนวน 682.08 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 5.17 เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ ทำให้กลุ่มธุรกิจวัสดุตกแต่งพื้นผิวมีผลกำไรสุทธิ 39.30 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการฟื้นตัวของตลาดท่องเที่ยวและโรงแรมซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจบริษัท ถึงแม้ว่ากลุ่มธุรกิจจะได้รับผลกระทบจากค่าขนส่ง ค่าแรง และราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นจากสภาพตลาด แต่บริษัทได้มีการปรับราคาสินค้าให้สอดคล้องกัน และในช่วงสองปีที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน รวมถึงการผลักดันกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ RT Acoustic เข้าสู่ตลาด โดยได้ผลตอบรับค่อนข้างดีทำให้มีอัตรากำไรสูงขึ้นเล็กน้อย
ในส่วนของกลุ่มธุรกิจพรมและผ้าหุ้มเบาะรถยนต์ (TCM Automotive) สามารถทำยอดขายสูงขึ้นกว่าปีก่อนได้ถึงร้อยละ 10.08 เป็นผลจากออเดอร์ที่เข้ามาเยอะขึ้น และจากการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักร ในขณะที่แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยและต่างประเทศในไตรมาสที่ผ่านมามีทิศทางดีขึ้น เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายจากส่วนกลาง ต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ ทำให้กลุ่มธุรกิจพรมและผ้าหุ้มเบาะรถยนต์มีผลกำไรสุทธิ 25.42 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.42 ของยอดขาย
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทมีสินทรัพย์รวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ลดลงจากวันสิ้นปี 2565 จำนวน 265.19 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.19 มีหนี้สินรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ลดลงจากวันสิ้นปี 2565 จำนวน 296.71 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.24 และมีส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 สูงขึ้นจากวันสิ้นปี 2565 จำนวน 31.52 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.19 สำหรับอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 อยู่ที่ 2.00:1 ต่ำกว่าวันสิ้นปี 2565 ซึ่งมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเท่ากับ 2.13:1 เนื่องจากมีการจ่ายคืนเงินกู้บางส่วน
จากแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพและกลยุทธ์การทำงานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มสภาวะตลาดในไตรมาสที่สี่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นช่วง High Season ของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และวัสดุตกแต่งพื้นผิว บริษัทตั้งเป้าสร้างผลกำไรมากกว่ารายได้ ซึ่งบริษัทเชื่อว่ากลุ่มธุรกิจยังมีแนวโน้มที่สามารถทำผลกำไรได้ดีจากผลประกอบการที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามยังคงมีหลายปัจจัยทั้งบวกและลบที่น่าจับตามองทั้งในประเทศ อาทิ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน มาตรการการส่งเสริมการลงทุน ค่าเงิน ภาวะความผันผวนของตลาดหุ้นไทยและตลาดโลก และปัจจัยนอกประเทศ ทั้งจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ และผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศ ที่ล้วนส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้และการลงทุนในอนาคตที่ต้องคำนึงถึง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของทีซีเอ็มซีกล่าวทิ้งท้าย
นางสาวปิยพร พรรณเชษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีซีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TCMC) เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 บริษัททีซีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (เรียกรวมกันว่า “กลุ่มบริษัท”) มีผลกำไรจากการดำเนินงานลดลงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้ว่ารายได้ของกลุ่มธุรกิจวัสดุตกแต่งพื้นผิวจะฟื้นตัวตามคาด แต่รายได้ของกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ลดลงอย่างมากจากสภาพตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย และในช่วงไตรมาส 3 เป็นช่วงหยุดพักร้อนของประเทศอังกฤษ เป็น low season ของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ ส่งผลให้บริษัทมีรายได้จากการขายและบริการในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 จำนวน 1,847.17 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ มีรายได้ 2,037.63 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.35 และ มี EBITDA จำนวน 158.42 ล้านบาท สูงขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 36.41 อย่างไรก็ดีบริษัทยังมีผลประกอบการเป็นกำไรสุทธิ 7.43 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่ 3.87 ล้านบาท
“ผลการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาสที่สามสะท้อนให้เห็นว่าสภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงผันผวน ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาพลังงาน แต่บริษัทได้มีการเตรียมความพร้อมไว้แล้วอย่างดี ตลอดระยะเวลาหลายปีผ่านมาบริษัทมีการปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพการดำเนินการ การบริหารจัดการต้นทุน จึงไม่ได้รับผลกระทบที่เห็นเด่นชัด ภาพรวมของบริษัทยังคงทำรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจวัสดุตกแต่งพื้นผิวที่ฟื้นตัวจากการฟื้นตัวของตลาดท่องเที่ยวและโรงแรม ด้านธุรกิจพรมและผ้าหุ้มเบาะรถยนต์ก็ค่อยๆ ฟื้นตัวตามสถานการณ์ตลาด ทั้งปัญหาการขาดแคลนแผงวงจรอุตสาหกรรมรถยนต์ก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งเรามั่นใจว่าผลการประกอบการของบริษัทในภาพรวมของปีนี้จะยังคงสอดคล้องกับสภาวะตลาด โดยเราจะมุ่งทำตลาดส่งออก โดยเฉพาะตลาดโซนเอเชียที่มีศักยภาพ และยังคงเติบโตแข็งแกร่ง” นางสาวปิยพรกล่าว
มุ่งปรับประสิทธิภาพลุยฝ่าสภาวะผันผวน แม้ในไตรมาสที่สามกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ (TCM Living) มียอดขายลดลงร้อยละ 20.59 เมื่อเทียบไตรมาสที่ผ่านมา จากสภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูงขึ้น และการปรับอัตราดอกเบี้ยของประเทศอังกฤษ ทำให้คนใช้จ่ายน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสินค้านำเข้าและสินค้าฟุ่มเฟือย รวมถึงการเป็นช่วงหยุดยาวของอังกฤษทำให้คนเลือกใช้จ่ายกับการเดินทางท่องเที่ยวมากกว่า การซื้อของกลุ่มธุรกิจมีกำไรสูงขึ้น 32.78 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนถึงแม้จะมียอดขายลดลง คิดเป็นกำไรสูงขึ้นร้อยละ 6.77 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย โดยมีอัตราส่วนกำไรปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 19.48 จากการกระจายแหล่งผลิต และการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ปรับราคาสินค้าเพื่อรับกับผลกระทบจากการค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สูงขึ้น รวมถึงกำไรจากฝั่งนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากค่าตู้คอนเทนเนอร์ที่ลดราคาลงอยู่ในระดับปกติ ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายการขายและบริหารได้ดีกว่าที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการยกเลิกสัญญาเช่าโรงงาน และการปรับอัตรากำลังให้เหมาะสมกับปริมาณคำสั่งซื้อ ซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปี ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดจะส่งผลดีต่อไปในอนาคต ทั้งนี้กลุ่มธุรกิจมีค่าใช้จ่ายการขายและบริหารในไตรมาสนี้รวมกันสูงขึ้นร้อยละ 4.97 เป็นผลจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงการเข้าร่วมงาน furniture show ในต่างประเทศ เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ต้นทุนทางการเงินที่มีปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 5.25 และภาษีเงินได้ กลุ่มธุรกิจมีผลขาดทุนสุทธิที่ 57.29 ล้านบาท ต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 55.81 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม บริษัทมั่นใจกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์จะกลับมาทำกำไรได้ในช่วง High Season ที่ความต้องการซื้อเพิ่มมากขึ้นในหลายตลาด โดยจะเน้นที่ตลาดส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะโซนเอเชียที่ตลาดยังเติบโตแข็งแกร่ง เศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้มเติบโตจากการลงทุนของภาคเอกชนและนโยบายสนับสนุนของภาครัฐ นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจจะยังมุ่งสู่การผลิตและออกแบบที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่เพิ่มมากยิ่งขึ้น
ด้านกลุ่มธุรกิจวัสดุตกแต่งพื้นผิว (TCM Surface) มีรายได้จากการขายและบริการจำนวน 682.08 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 5.17 เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ ทำให้กลุ่มธุรกิจวัสดุตกแต่งพื้นผิวมีผลกำไรสุทธิ 39.30 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการฟื้นตัวของตลาดท่องเที่ยวและโรงแรมซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจบริษัท ถึงแม้ว่ากลุ่มธุรกิจจะได้รับผลกระทบจากค่าขนส่ง ค่าแรง และราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นจากสภาพตลาด แต่บริษัทได้มีการปรับราคาสินค้าให้สอดคล้องกัน และในช่วงสองปีที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน รวมถึงการผลักดันกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ RT Acoustic เข้าสู่ตลาด โดยได้ผลตอบรับค่อนข้างดีทำให้มีอัตรากำไรสูงขึ้นเล็กน้อย
ในส่วนของกลุ่มธุรกิจพรมและผ้าหุ้มเบาะรถยนต์ (TCM Automotive) สามารถทำยอดขายสูงขึ้นกว่าปีก่อนได้ถึงร้อยละ 10.08 เป็นผลจากออเดอร์ที่เข้ามาเยอะขึ้น และจากการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักร ในขณะที่แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยและต่างประเทศในไตรมาสที่ผ่านมามีทิศทางดีขึ้น เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายจากส่วนกลาง ต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ ทำให้กลุ่มธุรกิจพรมและผ้าหุ้มเบาะรถยนต์มีผลกำไรสุทธิ 25.42 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.42 ของยอดขาย
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทมีสินทรัพย์รวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ลดลงจากวันสิ้นปี 2565 จำนวน 265.19 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.19 มีหนี้สินรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ลดลงจากวันสิ้นปี 2565 จำนวน 296.71 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.24 และมีส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 สูงขึ้นจากวันสิ้นปี 2565 จำนวน 31.52 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.19 สำหรับอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 อยู่ที่ 2.00:1 ต่ำกว่าวันสิ้นปี 2565 ซึ่งมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเท่ากับ 2.13:1 เนื่องจากมีการจ่ายคืนเงินกู้บางส่วน
จากแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพและกลยุทธ์การทำงานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มสภาวะตลาดในไตรมาสที่สี่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นช่วง High Season ของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และวัสดุตกแต่งพื้นผิว บริษัทตั้งเป้าสร้างผลกำไรมากกว่ารายได้ ซึ่งบริษัทเชื่อว่ากลุ่มธุรกิจยังมีแนวโน้มที่สามารถทำผลกำไรได้ดีจากผลประกอบการที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามยังคงมีหลายปัจจัยทั้งบวกและลบที่น่าจับตามองทั้งในประเทศ อาทิ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน มาตรการการส่งเสริมการลงทุน ค่าเงิน ภาวะความผันผวนของตลาดหุ้นไทยและตลาดโลก และปัจจัยนอกประเทศ ทั้งจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ และผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศ ที่ล้วนส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้และการลงทุนในอนาคตที่ต้องคำนึงถึง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของทีซีเอ็มซีกล่าวทิ้งท้าย