Wealth Sharing
TGE ติดปีกบิน! บอร์ดอนุมัติบริหารโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 2 แห่ง จ่อรับทรัพย์กว่า 349 ลบ.-ไฟเขียวแจกวอร์แรนท์ฟรี 7:1 เล็งรุกตลาดคาร์บอนเครดิต จับมือพันธมิตร สร้าง New S-Curve
20 พฤศจิกายน 2566
บมจ.ท่าฉาง กรีน เอ็นเนอร์ยี่ (TGE) แจกข่าวดี! เตรียมเซ็นสัญญาบริหารจัดการโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 2 แห่ง ขนาดกำลังผลิต 2.8 เมกะวัตต์ และ 4.2 เมกะวัตต์ ภายในต้นปี 67 ผูกสัญญายาว 4 ปี 9 เดือน ประเมินผลตอบแทนรวม ประมาณ 349.90 ล้านบาท พร้อมแจกวอร์แรนท์ฟรีให้กับผู้ถือหุ้นสัดส่วน 7:1 ราคาใช้สิทธิ 1 บาท/หุ้น อายุ 1 ปี ชงผู้ถือหุ้นอนุมัติ 17 ม.ค.67 เปิดพิมพ์เขียวปี 67 ตั้งเป้ากุมกำลังการผลิตไฟฟ้า 90 เมกะวัตต์ พร้อมรุกตลาดคาร์บอนเครดิต-จับมือพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศสร้าง New S-Curve เปิดงบ 9 เดือนแรก สุดสตรอง! กำไรสุทธิ 193.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.4% เทียบงวดเดียวกันของปีก่อน รับอานิสงส์รายได้จากการขายไฟโตต่อเนื่อง
นายสืบตระกูล บินเทพ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท ท่าฉาง กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (TGE) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมามีมติอนุมัติการเข้าทำสัญญาบริหารจัดการโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ กับ บริษัท ท่าฉาง ไบโอแก๊ส จำกัด (TBG) โดยมีระยะเวลาของสัญญา 3 เดือน นับจากวันที่เข้าทำสัญญา และเตรียมเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 ในวันที่ 17 มกราคม 2567 เพื่อพิจารณาอนุมัติการเข้าทำสัญญาบริหารจัดการโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพกับ TBG โดยมีระยะเวลาของสัญญา 4 ปี 9 เดือน นับจากวันที่เข้าทำสัญญา โดยมีมติแต่งตั้ง บริษัท พาย แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ
“การเข้าทำสัญญาบริหารจัดการโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ กับ TBG เพื่อให้เป็นประโยชน์กับ TGE ในการขยายธุรกิจการให้บริการ บริหารจัดการ โรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ขนาดกำลังการผลิต 2.8 เมกะวัตต์ และ 4.2 เมกะวัตต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย TGE ทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการโรงไฟฟ้า โดยใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิง เพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดย TGE จะได้รับรายได้ในสัดส่วน 50% จากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตลอดอายุสัญญา 4 ปี 9 เดือน จาก TBG โดยประเมินมูลค่าผลตอบแทนอยู่ที่ 332.40 ล้านบาท ซึ่งรวมกับมูลค่าผลตอบแทนจากการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ระยะเวลา 3 เดือนแรกก่อนเข้าทำสัญญาระยะยาวดังกล่าวอีก 17.50 ล้านบาท จะทำให้มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทนจากการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ มีจำนวนประมาณ 349.90 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2571 ทั้งนี้ TGE ไม่มีภาระหน้าที่ในการจัดหาแหล่งเงินทุนในการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าแต่อย่างใด
ขณะเดียวกัน ได้มีมติอนุมัติให้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 157,142,857.50 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 1,100,000,000 บาท เป็น 1,257,142,857.50 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 314,285,715 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ครั้งที่ 1 ซึ่งจะจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม โดยไม่จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นที่จะทำให้บริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศในสัดส่วน 7 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1 วอร์แรนท์ ราคาใช้สิทธิ 1 บาท/หุ้น สามารถใช้สิทธิได้ 1 ครั้ง มีอายุ 1 ปี กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่จะได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิ (Record Date) ในวันที่ 25 มกราคม 2567 โดยวัตถุประสงค์การเพิ่มทุนในครั้งนี้ เพื่อนำเงินไปใช้เป็นทุนหมุนเวียน รองรับแผนการขยายธุรกิจในอนาคต
สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2566 คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามแผนงานที่วางไว้ โดยบริษัทฯ มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักรผลิตไฟฟ้าและบริหารจัดการต้นทุน ส่วนกรณีที่รัฐบาลประกาศมาตรการลดค่าไฟฟ้าจาก 4.10 บาทต่อหน่วย เหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย ในงวดเดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 แทบจะไม่ส่งผลกระทบกับบริษัทฯ เนื่องจากมีผลเฉพาะกับรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าแก่บริษัทภายในกลุ่มท่าฉางเท่านั้น ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 10% ของรายได้จากการดำเนินงาน
ส่วนความคืบหน้าโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 3 โครงการที่ได้เซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้า หรือ Power Purchase Agreement (PPA) กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยมีปริมาณไฟฟ้าที่เสนอขายตามสัญญารวม 16 เมกะวัตต์ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนจังหวัดสระแก้ว โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน จังหวัดชุมพร และโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนจังหวัดราชบุรี ปัจจุบันได้ปรับพื้นที่เพื่อเตรียมการก่อสร้างในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปี 2567
นอกจากนี้ คาดว่าจะมีความคืบหน้าการเข้าประมูลโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน รวมถึงการเข้าทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) เพิ่มเติมในช่วงปลายปีนี้ และช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง
ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ TGE กล่าวอีกว่า แผนการดำเนินงานและการลงทุนในปี 2567 กลุ่มบริษัทคาดว่าจะได้รับสัมปทาน ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งโดยรวมประมาณ 90 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตตามสัญญาสัมปทานฯและสัญญาบริการที่ได้รับรวม 76.6 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยกำลังการผลิตติดตั้งรวมของโรงไฟฟ้าชีวมวลอยู่ที่ 29.7 เมกะวัตต์ รวมถึงได้รับสัมปทานโรงไฟฟ้าขยะชุมชนอีก 5 แห่ง ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้งรวมอยู่ที่ 39.9 เมกะวัตต์ และการให้บริการบริหารโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพเพิ่มเติมอีก 2 แห่งรวม 7 เมกะวัตต์ ตลอดจนมีแผนในการรุกเข้าสู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่กลุ่มบริษัทมีความเชี่ยวชาญ พร้อมทั้งจะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า และรุกตลาดคาร์บอนเครดิต เพื่อตอบสนองแนวโน้มในอนาคตที่จะมีความต้องการคาร์บอนเครดิตมากขึ้น รวมถึงเดินหน้าเจรจากับพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้าง New S-Curve ให้กับธุรกิจ ผลักดันผลการดำเนินงานเติบโตอย่างก้าวกระโดด
ทั้งนี้ ภาพรวมผลการดำเนินงานในงวด 9 เดือน ปี 2566 ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยกลุ่มบริษัทมีรายได้จากการดำเนินงาน 699.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.2 ล้านบาท หรือ 0.5% และมีกำไรสุทธิ 193.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.7 ล้านบาท หรือ 23.4% โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้จากการขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากปริมาณการขายไฟให้บริษัทเอกชน และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มเติมของโรงไฟฟ้าของบริษัทย่อย (TBP) จํานวน 6 เมกะวัตต์
รวมทั้งยังได้รับปัจจัยหนุนจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่า FiTและได้รับรายได้ชดเชยจากค่าประกันภัยสุทธิจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอีกจำนวน 22.3 ล้านบาท ที่เกิดขึ้นในไตรมาส 3/2566 โดยกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ (ไม่รวมรายการเงินชดเชยจากประกัน) ในงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 คิดเป็นจำนวน 170.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.6 ล้านบาท หรือ 20.1% เทียบงวดเดียวกันของปีก่อน
นายสืบตระกูล บินเทพ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท ท่าฉาง กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (TGE) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมามีมติอนุมัติการเข้าทำสัญญาบริหารจัดการโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ กับ บริษัท ท่าฉาง ไบโอแก๊ส จำกัด (TBG) โดยมีระยะเวลาของสัญญา 3 เดือน นับจากวันที่เข้าทำสัญญา และเตรียมเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 ในวันที่ 17 มกราคม 2567 เพื่อพิจารณาอนุมัติการเข้าทำสัญญาบริหารจัดการโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพกับ TBG โดยมีระยะเวลาของสัญญา 4 ปี 9 เดือน นับจากวันที่เข้าทำสัญญา โดยมีมติแต่งตั้ง บริษัท พาย แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ
“การเข้าทำสัญญาบริหารจัดการโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ กับ TBG เพื่อให้เป็นประโยชน์กับ TGE ในการขยายธุรกิจการให้บริการ บริหารจัดการ โรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ขนาดกำลังการผลิต 2.8 เมกะวัตต์ และ 4.2 เมกะวัตต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย TGE ทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการโรงไฟฟ้า โดยใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิง เพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดย TGE จะได้รับรายได้ในสัดส่วน 50% จากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตลอดอายุสัญญา 4 ปี 9 เดือน จาก TBG โดยประเมินมูลค่าผลตอบแทนอยู่ที่ 332.40 ล้านบาท ซึ่งรวมกับมูลค่าผลตอบแทนจากการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ระยะเวลา 3 เดือนแรกก่อนเข้าทำสัญญาระยะยาวดังกล่าวอีก 17.50 ล้านบาท จะทำให้มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทนจากการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ มีจำนวนประมาณ 349.90 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2571 ทั้งนี้ TGE ไม่มีภาระหน้าที่ในการจัดหาแหล่งเงินทุนในการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าแต่อย่างใด
ขณะเดียวกัน ได้มีมติอนุมัติให้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 157,142,857.50 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 1,100,000,000 บาท เป็น 1,257,142,857.50 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 314,285,715 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ครั้งที่ 1 ซึ่งจะจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม โดยไม่จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นที่จะทำให้บริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศในสัดส่วน 7 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1 วอร์แรนท์ ราคาใช้สิทธิ 1 บาท/หุ้น สามารถใช้สิทธิได้ 1 ครั้ง มีอายุ 1 ปี กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่จะได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิ (Record Date) ในวันที่ 25 มกราคม 2567 โดยวัตถุประสงค์การเพิ่มทุนในครั้งนี้ เพื่อนำเงินไปใช้เป็นทุนหมุนเวียน รองรับแผนการขยายธุรกิจในอนาคต
สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2566 คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามแผนงานที่วางไว้ โดยบริษัทฯ มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักรผลิตไฟฟ้าและบริหารจัดการต้นทุน ส่วนกรณีที่รัฐบาลประกาศมาตรการลดค่าไฟฟ้าจาก 4.10 บาทต่อหน่วย เหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย ในงวดเดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 แทบจะไม่ส่งผลกระทบกับบริษัทฯ เนื่องจากมีผลเฉพาะกับรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าแก่บริษัทภายในกลุ่มท่าฉางเท่านั้น ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 10% ของรายได้จากการดำเนินงาน
ส่วนความคืบหน้าโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 3 โครงการที่ได้เซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้า หรือ Power Purchase Agreement (PPA) กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยมีปริมาณไฟฟ้าที่เสนอขายตามสัญญารวม 16 เมกะวัตต์ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนจังหวัดสระแก้ว โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน จังหวัดชุมพร และโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนจังหวัดราชบุรี ปัจจุบันได้ปรับพื้นที่เพื่อเตรียมการก่อสร้างในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปี 2567
นอกจากนี้ คาดว่าจะมีความคืบหน้าการเข้าประมูลโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน รวมถึงการเข้าทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) เพิ่มเติมในช่วงปลายปีนี้ และช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง
ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ TGE กล่าวอีกว่า แผนการดำเนินงานและการลงทุนในปี 2567 กลุ่มบริษัทคาดว่าจะได้รับสัมปทาน ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งโดยรวมประมาณ 90 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตตามสัญญาสัมปทานฯและสัญญาบริการที่ได้รับรวม 76.6 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยกำลังการผลิตติดตั้งรวมของโรงไฟฟ้าชีวมวลอยู่ที่ 29.7 เมกะวัตต์ รวมถึงได้รับสัมปทานโรงไฟฟ้าขยะชุมชนอีก 5 แห่ง ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้งรวมอยู่ที่ 39.9 เมกะวัตต์ และการให้บริการบริหารโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพเพิ่มเติมอีก 2 แห่งรวม 7 เมกะวัตต์ ตลอดจนมีแผนในการรุกเข้าสู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่กลุ่มบริษัทมีความเชี่ยวชาญ พร้อมทั้งจะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า และรุกตลาดคาร์บอนเครดิต เพื่อตอบสนองแนวโน้มในอนาคตที่จะมีความต้องการคาร์บอนเครดิตมากขึ้น รวมถึงเดินหน้าเจรจากับพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้าง New S-Curve ให้กับธุรกิจ ผลักดันผลการดำเนินงานเติบโตอย่างก้าวกระโดด
ทั้งนี้ ภาพรวมผลการดำเนินงานในงวด 9 เดือน ปี 2566 ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยกลุ่มบริษัทมีรายได้จากการดำเนินงาน 699.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.2 ล้านบาท หรือ 0.5% และมีกำไรสุทธิ 193.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.7 ล้านบาท หรือ 23.4% โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้จากการขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากปริมาณการขายไฟให้บริษัทเอกชน และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มเติมของโรงไฟฟ้าของบริษัทย่อย (TBP) จํานวน 6 เมกะวัตต์
รวมทั้งยังได้รับปัจจัยหนุนจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่า FiTและได้รับรายได้ชดเชยจากค่าประกันภัยสุทธิจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอีกจำนวน 22.3 ล้านบาท ที่เกิดขึ้นในไตรมาส 3/2566 โดยกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ (ไม่รวมรายการเงินชดเชยจากประกัน) ในงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 คิดเป็นจำนวน 170.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.6 ล้านบาท หรือ 20.1% เทียบงวดเดียวกันของปีก่อน