จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : กกพ. หนุนใช้พลังงานสะอาด ดันผลงาน PCC โตต่อเนื่อง
21 พฤศจิกายน 2566
การเติบโตของธุรกิจพลังงานสะอาด ยังเป็นกระแสที่ได้รับการตอบรับจากทุกภาคส่วนทั่วโลก ส่งผลดีต่อการเติบโตของ บมจ.พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น (PCC) ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานสะอาด สะท้อนจากผลงานไตรมาส 3 ที่เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลมีการส่งเสริมโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างธุรกิจสีเขียว การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าประชาชน ตลอดจนการขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาดเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อนตามเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% ภายในปี 2573 และเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2611 ตามความตกลง COP26
ซึ่ง นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (บอร์ด กกพ.) ระบุปัจจุบันมีผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า หน่วยงานภาครัฐและประชาชนทั่วไปให้ความสนใจดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว กกพ. ได้มีการออกระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการอนุญาตและกำกับกิจการพลังงาน ให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบกิจการ ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุ้มครองและปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ผู้ใช้พลังงาน รวมทั้งผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการพลังงาน
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้น สนับสนุนผลประกอบการ บมจ.พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น (PCC) ที่ทำธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายไฟฟ้า 2) ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 3) ธุรกิจลงทุนผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
และยังสะท้อนจากผลงาน ไตรมาส 3 ของบริษัทที่เติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัว โดย “กิตติ สัมฤทธิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ PCC ระบุ ภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปีนี้ มีรายได้รวม 3,352.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 95.33 ล้านบาท หรือ 2.93% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากยอดขายกลุ่มสินค้าหม้อแปลงเครื่องมือวัดแรงดันและกระแส, กลุ่มสินค้าสวิตช์ตัดตอนชนิดต่างๆ, กลุ่มสินค้าสวิตช์ใบมีดแรงดันกลางและสูง และกลุ่มอุปกรณ์และระบบควบคุมสำหรับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ให้กับกลุ่มลูกค้าภาครัฐ และเอกชนเพิ่มขึ้น และจากงานโครงการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง
ขณะที่มีกำไรสุทธิ 259.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.83% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับปัจจัยหนุนจากรายได้รวมที่เพิ่มสูงขึ้น และการควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า
ส่วนภาพรวมผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 3/66 มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,112.18 ล้านบาท ลดลง27.33% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากงวดเดียวกันของปีก่อนมีการส่งมอบอุปกรณ์และระบบควบคุมสำหรับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงกว่า อย่างไรก็ตาม แม้รายได้จะลดลงแต่บริษัทยังมีกำไรสุทธิ 91.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.09% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากปัจจัยหนุนของการควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพที่ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า
ทั้งนี้ บริษัทฯคาดว่ารายได้ปีนี้จะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนที่มีรายได้อยู่ที่ 4,859.98 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯมองเห็นโอกาสใหม่ๆ และการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขยายกำลังการผลิตของหม้อแปลงไฟฟ้า และการขยายตัวของระบบสมาร์ทกริด ขณะเดียวกันยังเดินหน้าเข้าประมูลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันมีงานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) จำนวน 4.3 พันล้านบาท และอยู่ระหว่างรอประกาศผลการประมูลของปีนี้อีกจำนวนหนึ่ง
ขณะที่การลงทุนในต่างประเทศ ก็มียอดขายเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งจะสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับบริษัทในระยะยาว โดย บริษัท พรีไซซ แมนูแฟคเจอริ่ง (กัมพูชา) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อม ได้มีการลงนามสัญญาการซื้อขายหม้อแปลงไฟฟ้า จำนวน 8 รุ่น (Package 7) รวม 230 เครื่อง สำหรับ Department of Distribution โดยมีมูลค่าสัญญารวม 2,804,318 USD หรือเทียบเท่า 100.96 ล้านบาท และปัจจุบัน ได้มีเจ้าหน้าที่การไฟฟ้ากัมพูชา เข้ามาตรวจรับหม้อแปลงไฟฟ้า งวดที่ 1 จำนวน 7 รุ่น รวมเป็น 128 เครื่อง
รัฐบาลมีการส่งเสริมโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างธุรกิจสีเขียว การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าประชาชน ตลอดจนการขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาดเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อนตามเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% ภายในปี 2573 และเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2611 ตามความตกลง COP26
ซึ่ง นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (บอร์ด กกพ.) ระบุปัจจุบันมีผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า หน่วยงานภาครัฐและประชาชนทั่วไปให้ความสนใจดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว กกพ. ได้มีการออกระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการอนุญาตและกำกับกิจการพลังงาน ให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบกิจการ ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุ้มครองและปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ผู้ใช้พลังงาน รวมทั้งผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการพลังงาน
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้น สนับสนุนผลประกอบการ บมจ.พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น (PCC) ที่ทำธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายไฟฟ้า 2) ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 3) ธุรกิจลงทุนผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
และยังสะท้อนจากผลงาน ไตรมาส 3 ของบริษัทที่เติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัว โดย “กิตติ สัมฤทธิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ PCC ระบุ ภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปีนี้ มีรายได้รวม 3,352.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 95.33 ล้านบาท หรือ 2.93% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากยอดขายกลุ่มสินค้าหม้อแปลงเครื่องมือวัดแรงดันและกระแส, กลุ่มสินค้าสวิตช์ตัดตอนชนิดต่างๆ, กลุ่มสินค้าสวิตช์ใบมีดแรงดันกลางและสูง และกลุ่มอุปกรณ์และระบบควบคุมสำหรับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ให้กับกลุ่มลูกค้าภาครัฐ และเอกชนเพิ่มขึ้น และจากงานโครงการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง
ขณะที่มีกำไรสุทธิ 259.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.83% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับปัจจัยหนุนจากรายได้รวมที่เพิ่มสูงขึ้น และการควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า
ส่วนภาพรวมผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 3/66 มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,112.18 ล้านบาท ลดลง27.33% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากงวดเดียวกันของปีก่อนมีการส่งมอบอุปกรณ์และระบบควบคุมสำหรับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงกว่า อย่างไรก็ตาม แม้รายได้จะลดลงแต่บริษัทยังมีกำไรสุทธิ 91.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.09% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากปัจจัยหนุนของการควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพที่ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า
ทั้งนี้ บริษัทฯคาดว่ารายได้ปีนี้จะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนที่มีรายได้อยู่ที่ 4,859.98 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯมองเห็นโอกาสใหม่ๆ และการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขยายกำลังการผลิตของหม้อแปลงไฟฟ้า และการขยายตัวของระบบสมาร์ทกริด ขณะเดียวกันยังเดินหน้าเข้าประมูลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันมีงานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) จำนวน 4.3 พันล้านบาท และอยู่ระหว่างรอประกาศผลการประมูลของปีนี้อีกจำนวนหนึ่ง
ขณะที่การลงทุนในต่างประเทศ ก็มียอดขายเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งจะสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับบริษัทในระยะยาว โดย บริษัท พรีไซซ แมนูแฟคเจอริ่ง (กัมพูชา) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อม ได้มีการลงนามสัญญาการซื้อขายหม้อแปลงไฟฟ้า จำนวน 8 รุ่น (Package 7) รวม 230 เครื่อง สำหรับ Department of Distribution โดยมีมูลค่าสัญญารวม 2,804,318 USD หรือเทียบเท่า 100.96 ล้านบาท และปัจจุบัน ได้มีเจ้าหน้าที่การไฟฟ้ากัมพูชา เข้ามาตรวจรับหม้อแปลงไฟฟ้า งวดที่ 1 จำนวน 7 รุ่น รวมเป็น 128 เครื่อง