ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในเดือนพฤศจิกายน 2566 ผ่านไปกว่าครึ่งเดือนดัชนีหุ้นไทยค่อยไต่ระดับขึ้นมายืนเหนือ 1,400 จุดได้อีกครั้ง หลังจากที่มีปัจจัยใหม่เข้ามาช่วยกระตุ้นตลาดหุ้นไทย ขณะที่บล.กรุงศรี พัฒนสิน ประเมินภาพตลาด “Sideways” ภาพใหญ่ตลาดยังคงเชื่อต่อวงจรสิ้นสุดและเศรษฐกิจสหรัฐฯ Soft Landing ซึ่ง SET ที่ยังตอบรับต่ำกว่าระดับผลศึกษาเราราว 48 จุด ผสาน แนวทางตรวจสอบธุรกรรมผิดปกติตลาด มองจะช่วยลดความผันผวนที่เกิดจากจิตวิทยาลบรัฐฯเตรียมกลับมาคุมค่าไฟฟ้า กระทบกลุ่มพลังงาน และกลุ่มเทคฯที่มีจิตวิทยา Outlook ธุรกิจ NVIDIA ระยะสั้นที่มองอ่อนตัว ทั้งนี้ แนวทางรัฐฯเร่งปรับเพิ่มค่าแรง ผสาน ชะลอการปรับเพิ่มค่าไฟ มองกลุ่มได้ประโยชน์จะนำตลาด 1) หุ้นอิงรากฐานกำลังซื้อเพิ่ม CPALL, CPAXT, DOHOME, GLOBAL 2) หุ้นจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลัง CBG 3) หุ้นกลุ่มเช่าซื้อ/ติดตามหนี้ MTC, JMT
หุ้นที่อยู่ในกลุ่ม THAIESG Index จะน่าสนใจขึ้น และมีโอกาสถูก Active Fund ในประเทศดึงสถานะกลับก่อน เน้นในกลุ่ม i) ราคาลงแรงกว่า THAIESG Index -14%YTD ii) ถูก Short sales สูง หุ้นในกลุ่มดังกล่าวที่น่าจะเป็นเป้าหมายกองทุน ได้แก่ CPALL, GULF, CRC, GPSC, PTTGC, IVL, SCGP, OR, CBG, HMPROหุ้นได้รับประโยชน์มาตรการฟรี วีซ่าจีน รัสเซีย ไต้หวัน อินเดีย (AOT, ERW, CENTEL, ADVANC, CPAXT, CPALL, CRC)
หุ้นกลุ่มเก็งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลใหม่ Digiial Wallet+E-Refund, เร่ง FDI และ สร้าง S Curve จาก Soft Power (CPAXT, CPALL, CRC, DOHOME, GLOBAL, ADVANC, , WHA, AMATA, MAJOR)
หุ้น China Plays ที่เริ่มเห็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแรงขึ้นและเริ่มเห็นการฟื้นตัวภายใน (PTTGC, IVL, SCGP, DOHOME, GLOBAL)
หุ้นได้ประโยชน์ภาคผลิตโลกเริ่มฟื้น และพอประคองได้ (HANA, KCE, IVL)
กลุ่มได้ประโยชน์ที่วงจรดอกเบี้ยสิ้นสุด และ Bond Yield เป็นปลายทาง (GULF, GPSC, BE8, MTC, KCE, HANA) ทั้งนี้ กลุ่มโรงไฟฟ้าให้รอติดตามแนวทางค่าไฟ รัฐฯ รอบ ม.ค. - เม.ย. ก่อน
กลุ่มที่ได้ประโยชน์น้ำมันแกว่ง 80 +/- เหรียญฯ ภายใต้ภาพความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มโตแผ่ว จีนฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ OPEC+ คุมซัพพลายต่อเนื่อง มองเป็นระดับที่ต่อการทำกำไร Real Sector (SCGP, GULF, IVL, TASCO, CPAXT)
ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในส่วนการลงทุนของนักลงทุนรายใหญ่อย่าง “นเรศ งามอภิชน” หรือเสี่ยนเรศ ซึ่งปัจจุบันมีการลงทุนในหุ้น 7 บริษัท และมูลค่าการถือครองรวมกว่า 2,150 ล้านบาท โดยจากการสำรวจข้อมูลในพอร์ตลงทุนพบว่า ล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 หุ้น MACO หรือ บริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) ได้มีการปิดสมุดทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้น โดยพบว่า เสี่ยนเรศ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 3 ได้เพิ่มสัดส่วนการถือครองแตะระดับ 853,310,600 หุ้นคิดเป็น10.51% จากเดิมที่ถือเพียง 830,000,000 หุ้นคิดเป็น 10.22% และถือในสัดส่วนที่สูงสุดในรอบ 2 ปีอีกด้วย
การถือครองหุ้น MACO ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา
เวลา |
จำนวน(หุ้น) |
%การถือครอง |
2/11/2023 |
853,310,600 |
10.51 |
8/6/2023 |
830,000,000 |
10.22 |
5/8/2022 |
830,000,000 |
10.22 |
13/06/2022 |
830,000,000 |
10.22 |
สำหรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ MACO ล่าสุดประกอบด้วย
ผู้ถือหุ้น |
จำนวนหุ้น (หุ้น) |
%หุ้น |
บริษัท วี จี ไอ จำกัด (มหาชน) |
2,196,934,494 |
27.06 |
บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) |
1,401,451,639 |
17.26 |
นาย นเรศ งามอภิชน |
853,310,600 |
10.51 |
บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) |
810,000,000 |
9.98 |
บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด |
630,843,297 |
7.77 |
นาย วันชัย โอภาสเอี่ยมขจร |
120,000,000 |
1.48 |
นาย เกียรติ ศรีจอมขวัญ |
94,641,725 |
1.17 |
นาย สุภาพ วงษ์จินดา |
94,200,000 |
1.16 |
น.ส. พรรัตน์ มณีรัตนะพร |
47,700,000 |
0.59 |
นาย ชินเขต เกษสุวรรณ |
40,600,000 |
0.5 |
เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวราคาหุ้น MACO ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 8.33% จากราคา 0.47 บาท ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 0.52 บาท และปรับตัวขึ้นไปสูงสุดที่ 0.55 บาท
ขณะที่ บริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) หรือ MACO รายงานผลการดำเนินงานล่าสุด มีการเติบโตต่อเนื่องหลังปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่เพื่อก้าวสู่ธุรกิจด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี โดยผลงานไตรมาส 2 ปี 2566/67 สามารถสร้างรายได้จากการให้บริการและการขายอยู่ที่ 678 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.3% YoY และกำไรสุทธิที่ 56 ล้านบาท ซึ่งแรงหนุนหลักมาจากการรับรู้รายได้ที่เพิ่มขึ้นของโครงการด้านงานติดตั้งและซ่อมบำรุงจากธุรกิจงานระบบครบวงจรที่ทำรายได้อยู่ที่ 563 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.5% YoY ส่วนธุรกิจสื่อโฆษณามีรายได้ 115 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.1% YoY
“แซม แลม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) หรือ MACO กล่าวว่า จากผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น นับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับ MACO ในการทรานฟอร์มธุรกิจสู่การเป็นผู้ให้บริการงานระบบครบวงจรแบบ One-Stop Service โฟกัสการดำเนินธุรกิจในตลาดดิจิทัลและเทคโนโลยี และเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ MACO จึงมีมติเสนอการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทฯ จาก บริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท ร็อคเทค โกลบอล จำกัด (มหาชน) พร้อมเดินหน้าสู่การเป็นบริษัทชั้นนำในธุรกิจด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ ไม่เพียงเท่านั้นบริษัทฯ ยังคงพัฒนาและขยายผลิตภัณฑ์และการให้บริการเพื่อผลักดันรายได้ ผลกำไร และมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
นอกจากนี้ ด้วยกลยุทธ์ใหม่ที่มุ่งเน้นการให้บริการระบบด้านการสื่อสาร สื่อโฆษณาประเภทดิจิทัล และโซลูชันด้านหน้าจอสื่อโฆษณาในประเทศไทย ประเทศฮ่องกง และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้บริษัทฯ มั่นใจว่าจะสร้างการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนต่อไปได้ในอนาคต