จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : ญี่ปุ่นหนุนไทย “HUB ยานยนต์-พลังงานสะอาด” กระตุ้นผลงาน CWT เติบโตยั่งยืน
27 พฤศจิกายน 2566
ญี่ปุ่นสนใจลงทุนในธุรกิจยานยนต์และธุรกิจพลังงานสะอาดในไทย สร้างโอกาสในการเติบโตของ บมจ. ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเบาะหนังรถยนต์และพลังงานทดแทน ให้เติบโตอย่างโดดเด่นในอนาคต
นางนฤมล ภิณโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทย ระบุว่ารัฐบาลญี่ปุ่นรวมทั้งภาคเอกชน สนใจลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ในไทย และพร้อมทำงานร่วมมือกับรัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี
ซึ่งทูตญี่ปุ่น เสนอให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่หลากหลาย ในช่วงการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่การเป็นประเทศศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และสินค้าที่เชื่อมโยงเพื่อส่งไปยังประเทศอาเซียน อีกทั้งภายใต้นโยบาย Green Growth ของประเทศญี่ปุ่น ภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่น มีความสนใจร่วมลงทุนในธุรกิจที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกลุ่มใหม่
เช่น AI, Bio Technology, Modern Agriculture และ Clean Energy ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการส่งเสริม Green Economy & Clean Energy เช่นกัน นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาด จากแสงแดด ลม น้ำ และขยะ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตอาจมีการนำพลังงานสะอาดเหล่านี้มาใช้ในภาคการผลิตมากขึ้น
นอกจากนี้ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ยังมองว่าการเปลี่ยนผ่านนโยบายด้านพลังงานของไทยมีความเป็นรูปธรรมชัดเจน จึงพร้อมสนับสนุนนโยบายพลังงานสะอาดร่วมกับไทย และ METI จะเสนอกรอบความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยจะเน้นย้ำประเด็น Green Transition
"เดือนธันวาคม นายกฯ และคณะผู้บริหารรัฐบาล มีกำหนดการไปเยือนประเทศญี่ปุ่น เพื่อหารือและขยายกรอบการลงทุนร่วมกับรัฐบาลญี่ปุ่น ในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทย ในหลายด้านให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นไปอีก" นางนฤมล กล่าว
ความสำเร็จจากการหารือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น ส่งผลดีต่อภาคเอกชน นักธุรกิจของไทย โดยเฉพาะกับ บมจ. ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) ที่ประกอบธุรกิจหลัก 3 กลุ่มธุรกิจคือ
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์หนัง ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ฟอก 2) ผลิตภัณฑ์ของเล่นสัตว์เลี้ยง 3) ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์หนัง 4) ผลิตภัณฑ์เบาะหนังและชิ้นส่วนหนังสำหรับรถยนต์ เช่น Toyota Honda Nissan Isuzu Mazda Mitsubishi และ Chevrolet
2.กลุ่มพลังงาน โดยบริษัทได้ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท ชัยวัฒนา กรีน จำกัด ในสัดส่วน 100% โดยมีเป้าหมายเพื่อประกอบธุรกิจลงทุน (ถือหุ้น) บริษัท ในกลุ่มพลังงานทดแทน
3.กลุ่มออกแบบและจัดจำหน่ายยานพาหนะ ซึ่งประกอบกิจการออกแบบและจัดจำหน่ายเรือ และรถโดยสารขนาด เล็กที่ผลิตด้วยอลูมิเนียม
โดยในส่วนของธุรกิจผลิตเบาะหนังรถยนต์ ในช่วงปลายปีถือเป็นช่วงไฮซีชั่น จากการจัดงาน Motor Expo ประจำปี ซึ่งจะส่งผลดีต่อยอดขายและรายได้ของ CWT ที่จะเติบโตอย่างโดดเด่น
นอกจากนี้ ธุรกิจกลุ่มพลังงานก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด บริษัทลูก บมจ.กรีน พาวเวอร์ 2 หรือ GP2 ได้เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้ามาอยู่ที่ 42 เมกะวัตต์ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตและสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในมือให้ได้มากกว่า 50 เมกะวัตต์ภายในปีนี้ เพื่อสร้างรายได้ที่เติบโตอย่างยั่งยืน
นางนฤมล ภิณโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทย ระบุว่ารัฐบาลญี่ปุ่นรวมทั้งภาคเอกชน สนใจลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ในไทย และพร้อมทำงานร่วมมือกับรัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี
ซึ่งทูตญี่ปุ่น เสนอให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่หลากหลาย ในช่วงการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่การเป็นประเทศศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และสินค้าที่เชื่อมโยงเพื่อส่งไปยังประเทศอาเซียน อีกทั้งภายใต้นโยบาย Green Growth ของประเทศญี่ปุ่น ภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่น มีความสนใจร่วมลงทุนในธุรกิจที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกลุ่มใหม่
เช่น AI, Bio Technology, Modern Agriculture และ Clean Energy ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการส่งเสริม Green Economy & Clean Energy เช่นกัน นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาด จากแสงแดด ลม น้ำ และขยะ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตอาจมีการนำพลังงานสะอาดเหล่านี้มาใช้ในภาคการผลิตมากขึ้น
นอกจากนี้ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ยังมองว่าการเปลี่ยนผ่านนโยบายด้านพลังงานของไทยมีความเป็นรูปธรรมชัดเจน จึงพร้อมสนับสนุนนโยบายพลังงานสะอาดร่วมกับไทย และ METI จะเสนอกรอบความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยจะเน้นย้ำประเด็น Green Transition
"เดือนธันวาคม นายกฯ และคณะผู้บริหารรัฐบาล มีกำหนดการไปเยือนประเทศญี่ปุ่น เพื่อหารือและขยายกรอบการลงทุนร่วมกับรัฐบาลญี่ปุ่น ในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทย ในหลายด้านให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นไปอีก" นางนฤมล กล่าว
ความสำเร็จจากการหารือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น ส่งผลดีต่อภาคเอกชน นักธุรกิจของไทย โดยเฉพาะกับ บมจ. ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) ที่ประกอบธุรกิจหลัก 3 กลุ่มธุรกิจคือ
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์หนัง ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ฟอก 2) ผลิตภัณฑ์ของเล่นสัตว์เลี้ยง 3) ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์หนัง 4) ผลิตภัณฑ์เบาะหนังและชิ้นส่วนหนังสำหรับรถยนต์ เช่น Toyota Honda Nissan Isuzu Mazda Mitsubishi และ Chevrolet
2.กลุ่มพลังงาน โดยบริษัทได้ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท ชัยวัฒนา กรีน จำกัด ในสัดส่วน 100% โดยมีเป้าหมายเพื่อประกอบธุรกิจลงทุน (ถือหุ้น) บริษัท ในกลุ่มพลังงานทดแทน
3.กลุ่มออกแบบและจัดจำหน่ายยานพาหนะ ซึ่งประกอบกิจการออกแบบและจัดจำหน่ายเรือ และรถโดยสารขนาด เล็กที่ผลิตด้วยอลูมิเนียม
โดยในส่วนของธุรกิจผลิตเบาะหนังรถยนต์ ในช่วงปลายปีถือเป็นช่วงไฮซีชั่น จากการจัดงาน Motor Expo ประจำปี ซึ่งจะส่งผลดีต่อยอดขายและรายได้ของ CWT ที่จะเติบโตอย่างโดดเด่น
นอกจากนี้ ธุรกิจกลุ่มพลังงานก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด บริษัทลูก บมจ.กรีน พาวเวอร์ 2 หรือ GP2 ได้เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้ามาอยู่ที่ 42 เมกะวัตต์ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตและสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในมือให้ได้มากกว่า 50 เมกะวัตต์ภายในปีนี้ เพื่อสร้างรายได้ที่เติบโตอย่างยั่งยืน