Fund / Insurance
บลจ. พรินซิเพิล ลุยตราสารหนี้ Investment Grade IPO กองทุนเปิด Principal Global Credit 27 พ.ย. – 15 ธ.ค.66
29 พฤศจิกายน 2566
บลจ. พรินซิเพิล ชี้โอกาสเข้าลงทุนในตราสารหนี้ Global Investment Grade ที่มีคุณภาพดีทั่วโลก หลังให้ผลตอบแทน 5.62% (ณ 27 ต.ค.2566) สูงสุดในรอบ 15 ปี และด้วยปีหน้าเศรษฐกิจทั่วโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวและมีโอกาสเกิด soft recession ในบางประเทศ ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนเข้าสู่ตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง จากปัจจัยดังกล่าวบลจ. พรินซิเพิลเตรียมเสนอขาย IPO “กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล เครดิต” (PRINCIPAL GCREDIT) ครั้งแรกวันที่ 27 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2566 ซึ่งจะเข้าลงทุนใน “BNY Mellon Global Credit Fund” ที่ได้รับ “มอร์นิ่งสตาร์ 5 ดาว” เป็นกองทุนหลัก สามารถสร้างผลตอบแทนโดดเด่นเอาชนะดัชนีอ้างอิง 10 ปี จาก 11 ปี และไม่เคยเกิดการผิดนัดชำระหนี้กับตราสารหนี้ที่เข้าลงทุน
นายศุภกร ตุลยธัญ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงและใกล้จุดสูงสุด เป็นช่วงเวลาเหมาะสมในการเข้าลงทุนในตราสารหนี้ Global Investment Grade ที่มีคุณภาพดีทั่วโลกเป็นอย่างมาก โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ 1) ตราสารหนี้ Global Investment Grade ให้ผลตอบแทน (Yield) สูงถึง 5.62% (ข้อมูล ณ 27 ตุลาคม 2566) สูงสุดในรอบ 15 ปี 2) เศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวและเกิด Soft Recession หรือภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ส่งผลให้เกิดเคลื่อนย้ายเงินทุนสู่สินทรัพย์ตราสารหนี้ที่มีคุณภาพสูงเพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง 3) ปัจจัยพื้นฐานของบริษัททั่วโลกที่ออกตราสารหนี้ Investment Grade ยังคงแข็งแกร่ง และดีกว่าบริษัทที่ออกตราสารหนี้ประเภท High Yield (HY) จึงมีแนวโน้มต่ำที่จะผิดนัดชำระหนี้ 4) อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ Investment Grade ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตรากำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น S&P 500 5) มูลค่าของส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนตราสารหนี้ที่มีคุณภาพสูงและพันธบัตรรัฐบาลอยู่ในระดับที่เหมาะสม และ 6) เงินทุนยังคงไหลเข้าสู่ตราสารหนี้ Investment Grade อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีนี้ เมื่อเทียบกับตราสารหนี้ High Yield และสินเชื่อ
บลจ. พรินซิเพิล จึงเปิดตัว “กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล เครดิต” หรือ Principal Global Credit Fund (PRINCIPAL GCREDIT) มีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท (Green shoe 15%) เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 27 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2566 สั่งซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท โดยเป็นกองทุนตราสารหนี้/ กองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund ที่จะเข้าลงทุนใน BNY Mellon Global Credit Fund ที่ได้รับ “มอร์นิ่งสตาร์ 5 ดาว” เป็นกองทุนหลัก
BNY Mellon Global Credit Fund เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) และสามารถลงทุนตราสารหนี้ประเภทอื่นๆ ในบางช่วง เช่น High Yield, Loan, ABS (ตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์คํ้าประกัน), EM Debts (ตราสารหนี้ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่) โดยมีเป้าหมายการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนแบบ Total return ทั้งการสร้างกระแสเงินสด (Income) หรือ การเติบโตของเงินทุน (Capital Growth) และเอาชนะดัชนีอ้างอิง Bloomberg Barclays Global Aggregate Credit Index
ทั้งนี้ BNY Mellon Investment Management เป็นหนึ่งในบริษัทบริหารจัดการทรัพย์สินชั้นนำรายใหญ่ของโลก มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีบริษัทจัดการกองทุนในเครือ 7 บริษัท ได้แก่ Insight Investment, Walter Scott, Newton Investment Management, Dreyfus, Mellon, ARX, Sigular Guff ซึ่งแต่ละบริษัทในเครือจะมีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน Insight Investment ผู้บริหารกองทุน BNY Mellon Global Credit Fund เป็นบริษัทจัดการทรัพย์สินชั้นนำในระดับโลก มีความเชี่ยวชาญการบริหารกองทุนตราสารหนี้แบบเชิงรุก (Active Fixed Income) โดยเฉพาะ มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 รวม 7.4 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ บริษัทมีพนักงานทั้งหมดเกือบ 1,164 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญการลงทุน 285 คน โดยนักวิเคราะห์ที่ครอบคลุมตราสารหนี้ทุกประเภทรวม 165 คน มีประสบการณ์การลงทุนเฉลี่ย 19 ปี
กองทุนหลัก BNY Mellon Global Credit Fund มีกระบวนการลงทุนที่แข็งแกร่ง จากการการวิเคราะห์ทั้งแบบ Top down ด้วยการประชุมร่วมกับทีมวิเคราะห์เศรษฐกิจและทีมตราสารหนี้ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ และตราสารหนี้ภาคเอกชนในแต่ละประเทศและแต่ละอุตสาหกรรม โดยวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพและปริมาณ และการวิเคราะห์แบบ Bottom up ซึ่งจะวิเคราะห์บริษัทที่ออกตราสารหนี้เชิงลึก เช่น งบการเงิน, งบดุล, สภาพคล่อง, ความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ เป็นต้น ขณะที่สถานะพอร์ตการลงทุน ณ เดือนตุลาคม 2566 ทีมจัดการกองทุนของ BNY Mellon Global Credit Fund มองว่า Credit Spread (ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนระหว่างตราสารหนี้ภาคเอกชนและพันธบัตรรัฐบาล) ปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดย Credit Spread ของตราสารหนี้ Investment Grade ในโซนยุโรปและสหราชอาณาจักร น่าสนใจกว่าสหรัฐอเมริกา และชื่นชอบตราสารหนี้ในกลุ่มธนาคารที่ราคาปรับลดลงมากเกินไป รวมทั้งตราสารหนี้กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเข้าใกล้จุดสูงสุด จะส่งผลดีต่อมูลค่าของอสังหาฯ เพิ่มขึ้น
Mr.Doni Shamsuddinประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BNY Mellon Investment Management ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เปิดเผยว่า “ด้วยอัตราผลตอบแทน (Yield) ที่สูงที่สุดในรอบทศวรรษ จึงเป็นโอกาสอันดีในรอบหลายๆปี ที่การบริหารการลงทุนเชิงรุกจะสามารถสร้างโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ได้ ทางเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการจับมือกับ บลจ. พรินซิเพิล เพื่อส่งมอบกลยุทธ์การลงทุนโกลบอลเครดิตจาก Insight Investment ซึ่งเป็นบริษัทจัดการการลงทุนในเครือของ BNY Mellon Investment Management ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการลงทุนด้านตราสารหนี้ให้กับนักลงทุนในประเทศไทยผ่าน บลจ. พรินซิเพิล กองทุนนี้จะสร้างโอกาสให้นักลงทุนในประเทศไทยเข้าถึงตราสารหนี้คุณภาพสูงทั่วโลก ซึ่งมีระดับมูลค่าที่น่าสนใจมากท่ามกลางความผันผวนในตลาดโลก”
นอกจากนี้ บลจ. พรินซิเพิล มองว่าการผสานการลงทุนระหว่าง BNY Mellon Global Credit Fund และ กองทุน PRINCIPAL GFIXED ที่ลงทุนใน PIMCO GIS Income fund จะเข้าไปเสริมทัพ ให้พอร์ตตราสารหนี้ของนักลงทุนมีการกระจายความเสี่ยงที่มากขึ้น ไม่กระจุกตัวอยู่ในตราสารหนี้ประเภทใด ประเภทหนึ่งมากเกินไป พร้อมทั้งจะเป็นพอร์ตการลงทุนที่มีกลยุทธ์ ทั้งการสร้างกระแสเงินสด (Income) อย่างสม่ำเสมอ และการเติบโตของเงินทุน (Capital gain) ไปพร้อมกัน
นายศุภกร ตุลยธัญ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงและใกล้จุดสูงสุด เป็นช่วงเวลาเหมาะสมในการเข้าลงทุนในตราสารหนี้ Global Investment Grade ที่มีคุณภาพดีทั่วโลกเป็นอย่างมาก โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ 1) ตราสารหนี้ Global Investment Grade ให้ผลตอบแทน (Yield) สูงถึง 5.62% (ข้อมูล ณ 27 ตุลาคม 2566) สูงสุดในรอบ 15 ปี 2) เศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวและเกิด Soft Recession หรือภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ส่งผลให้เกิดเคลื่อนย้ายเงินทุนสู่สินทรัพย์ตราสารหนี้ที่มีคุณภาพสูงเพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง 3) ปัจจัยพื้นฐานของบริษัททั่วโลกที่ออกตราสารหนี้ Investment Grade ยังคงแข็งแกร่ง และดีกว่าบริษัทที่ออกตราสารหนี้ประเภท High Yield (HY) จึงมีแนวโน้มต่ำที่จะผิดนัดชำระหนี้ 4) อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ Investment Grade ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตรากำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น S&P 500 5) มูลค่าของส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนตราสารหนี้ที่มีคุณภาพสูงและพันธบัตรรัฐบาลอยู่ในระดับที่เหมาะสม และ 6) เงินทุนยังคงไหลเข้าสู่ตราสารหนี้ Investment Grade อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีนี้ เมื่อเทียบกับตราสารหนี้ High Yield และสินเชื่อ
บลจ. พรินซิเพิล จึงเปิดตัว “กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล เครดิต” หรือ Principal Global Credit Fund (PRINCIPAL GCREDIT) มีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท (Green shoe 15%) เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 27 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2566 สั่งซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท โดยเป็นกองทุนตราสารหนี้/ กองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund ที่จะเข้าลงทุนใน BNY Mellon Global Credit Fund ที่ได้รับ “มอร์นิ่งสตาร์ 5 ดาว” เป็นกองทุนหลัก
BNY Mellon Global Credit Fund เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) และสามารถลงทุนตราสารหนี้ประเภทอื่นๆ ในบางช่วง เช่น High Yield, Loan, ABS (ตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์คํ้าประกัน), EM Debts (ตราสารหนี้ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่) โดยมีเป้าหมายการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนแบบ Total return ทั้งการสร้างกระแสเงินสด (Income) หรือ การเติบโตของเงินทุน (Capital Growth) และเอาชนะดัชนีอ้างอิง Bloomberg Barclays Global Aggregate Credit Index
ทั้งนี้ BNY Mellon Investment Management เป็นหนึ่งในบริษัทบริหารจัดการทรัพย์สินชั้นนำรายใหญ่ของโลก มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีบริษัทจัดการกองทุนในเครือ 7 บริษัท ได้แก่ Insight Investment, Walter Scott, Newton Investment Management, Dreyfus, Mellon, ARX, Sigular Guff ซึ่งแต่ละบริษัทในเครือจะมีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน Insight Investment ผู้บริหารกองทุน BNY Mellon Global Credit Fund เป็นบริษัทจัดการทรัพย์สินชั้นนำในระดับโลก มีความเชี่ยวชาญการบริหารกองทุนตราสารหนี้แบบเชิงรุก (Active Fixed Income) โดยเฉพาะ มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 รวม 7.4 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ บริษัทมีพนักงานทั้งหมดเกือบ 1,164 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญการลงทุน 285 คน โดยนักวิเคราะห์ที่ครอบคลุมตราสารหนี้ทุกประเภทรวม 165 คน มีประสบการณ์การลงทุนเฉลี่ย 19 ปี
กองทุนหลัก BNY Mellon Global Credit Fund มีกระบวนการลงทุนที่แข็งแกร่ง จากการการวิเคราะห์ทั้งแบบ Top down ด้วยการประชุมร่วมกับทีมวิเคราะห์เศรษฐกิจและทีมตราสารหนี้ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ และตราสารหนี้ภาคเอกชนในแต่ละประเทศและแต่ละอุตสาหกรรม โดยวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพและปริมาณ และการวิเคราะห์แบบ Bottom up ซึ่งจะวิเคราะห์บริษัทที่ออกตราสารหนี้เชิงลึก เช่น งบการเงิน, งบดุล, สภาพคล่อง, ความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ เป็นต้น ขณะที่สถานะพอร์ตการลงทุน ณ เดือนตุลาคม 2566 ทีมจัดการกองทุนของ BNY Mellon Global Credit Fund มองว่า Credit Spread (ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนระหว่างตราสารหนี้ภาคเอกชนและพันธบัตรรัฐบาล) ปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดย Credit Spread ของตราสารหนี้ Investment Grade ในโซนยุโรปและสหราชอาณาจักร น่าสนใจกว่าสหรัฐอเมริกา และชื่นชอบตราสารหนี้ในกลุ่มธนาคารที่ราคาปรับลดลงมากเกินไป รวมทั้งตราสารหนี้กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเข้าใกล้จุดสูงสุด จะส่งผลดีต่อมูลค่าของอสังหาฯ เพิ่มขึ้น
Mr.Doni Shamsuddinประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BNY Mellon Investment Management ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เปิดเผยว่า “ด้วยอัตราผลตอบแทน (Yield) ที่สูงที่สุดในรอบทศวรรษ จึงเป็นโอกาสอันดีในรอบหลายๆปี ที่การบริหารการลงทุนเชิงรุกจะสามารถสร้างโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ได้ ทางเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการจับมือกับ บลจ. พรินซิเพิล เพื่อส่งมอบกลยุทธ์การลงทุนโกลบอลเครดิตจาก Insight Investment ซึ่งเป็นบริษัทจัดการการลงทุนในเครือของ BNY Mellon Investment Management ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการลงทุนด้านตราสารหนี้ให้กับนักลงทุนในประเทศไทยผ่าน บลจ. พรินซิเพิล กองทุนนี้จะสร้างโอกาสให้นักลงทุนในประเทศไทยเข้าถึงตราสารหนี้คุณภาพสูงทั่วโลก ซึ่งมีระดับมูลค่าที่น่าสนใจมากท่ามกลางความผันผวนในตลาดโลก”
นอกจากนี้ บลจ. พรินซิเพิล มองว่าการผสานการลงทุนระหว่าง BNY Mellon Global Credit Fund และ กองทุน PRINCIPAL GFIXED ที่ลงทุนใน PIMCO GIS Income fund จะเข้าไปเสริมทัพ ให้พอร์ตตราสารหนี้ของนักลงทุนมีการกระจายความเสี่ยงที่มากขึ้น ไม่กระจุกตัวอยู่ในตราสารหนี้ประเภทใด ประเภทหนึ่งมากเกินไป พร้อมทั้งจะเป็นพอร์ตการลงทุนที่มีกลยุทธ์ ทั้งการสร้างกระแสเงินสด (Income) อย่างสม่ำเสมอ และการเติบโตของเงินทุน (Capital gain) ไปพร้อมกัน