บมจ.ไทยฟู้ดส์กรุ๊ป (TFG) แนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หลังผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 3 โดยธุรกิจสุกร รับอานิสงส์การปราบปรามหมูเถื่อนของรัฐบาล ส่วนธุรกิจไก่ คำสั่งซื้อจากกลุ่มอียู และญี่ปุ่นการบริโภคฟื้นตัว
บล.ทิสโก้ วิเคราะห์หุ้น บมจ.ไทยฟู้ดส์กรุ๊ป (TFG) หลังการประชุมนักวิเคราะห์ หรือวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยระบุว่า บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ปีหน้าเพิ่มขึ้น 10% จากคาดปริมาณไก่และหมูในประเทศของ TFG ทรงตัวเทียบกับปี 2023 แต่คาดราคาจะดีขึ้น และคาดการส่งออกปีหน้าจะเน้นไก่แปรรูปปรุงสุกเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศญี่ปุ่นและยุโรป ซึ่งมีอัตรามาร์จิ้นดีกว่าคาด 18,000 ตัน จากปีนี้ จะอยู่ที่ระดับ 14,000-16,000 ตัน และประเทศเวียดนามธุรกิจหมูคาดปี หน้าจะดีขึ้นจากการขยายกำลังการผลิต รวมถึงแนวโน้มราคาต้นทุนวัตถุดิบโดยเฉพาะข้าวโพดอาหารสัตว์เริ่มลดลงจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น สำหรับ retail shops บริษัทคาดปีหน้าจะอยู่ที่ 500-600 สาขา จากปีนี้ อยู่ที่ 350 สาขา โดยสัดส่วนรายได้เริ่มมากกว่าธุรกิจหมูแล้ว
ธุรกิจหมู ราคาหมูที่ลดลงเกิดจากการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อนเข้ามาในประเทศตั้งแต่ปลายปี’22 ที่ผ่านมา คาดว่าสถานการณ์จะค่อยๆดีขึ้นจากภาครัฐฯเริ่มปราบปราม บริษัทมองอุตสาหกรรมราคาหมูปีหน้าไม่ต่ำกว่า 70 บาท/กก. และการปริมาณเลี้ยงหมูจะอยู่ระดับ 20 ล้านตัว ยังไม่ถึงระดับปกติที่ 22 ล้านตัว จากน้ำหนักหมูที่ลดลงจาก 120 กก./ ตัว เหลือ 110 กก./ตัว การเลี้ยงหมูของรายย่อยลดลงจากผลขาดทุนจากราคาตกต่ำช่วงที่ผ่านมาจากสถานการณ์การนำเข้าหมูเถื่อน ทำให้ supply ลดลง บริษัทคาดการบริโภคจะดีขึ้นปีหน้า สำหรับปริมาณการเลี้ยงหมูในอุตสาหกรรมฯปัจจุบันกลับมาได้ 85% ก่อนช่วงเกิดโรคระบาด ASF คาดอยู่ที่ 18 ล้านตัว และจากปี2022 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 13-14 ล้านตัว
ธุรกิจไก่ บริษัทคาดการส่งออกดีขึ้นผ่านจุดต่ำสุดในช่วง 3Q23 ที่มีผลกระทบจากค่าเงินเยนอ่อนค่าในญี่ปุ่นส่งผลให้ชะลอรับออเดอร์มาใน 4Q23 และกลุ่มประเทศอียูเริ่มมีการสั่งออเดอร์ดีขึ้น บริษัทมองปีหน้าเติบโตจากคาดประเทศญี่ปุ่นฟื้นตัวมีบริโภคจะเพิ่มขึ้น และคาดประเทศในกลุ่มอียูเริ่มมีออเดอร์กลับมา บริษัทคาดราคาไก่ปีหน้าอยู่ที่ระดับ 38-40 บาท/กก. (ต้นทุนการเลี้ยงไก่ประมาณ 35 บาท และต้นทุนมีแนวโน้มจะลดลงตามราคาข้าวโพดอาหารสัตว์ที่เริ่มลดลงจากผลผลิตในอเมริกาที่มากขึ้น)
แนวโน้มผลประกอบการ 4Q23F เราคาดยังมีผลรับรู้ขาดทุน จากช่วงเดือนต.ค.เป็นช่วงเทศกาลกินเจและปิดเทอม รวมถึงฤดูฝนทำให้ราคาตกต่ำและปริมาณการขายหมูยังมีผลกระทบจากการนำเข้าหมูเถื่อนที่ส่งผลในช่วงเดือน ต.ค. ราคาตกต่ำสุดในปีนี้ อยู่ที่ 61 บาท/กก. แต่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นตั้งแต่ พ.ย.23 ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 69.50 บาท
สำหรับธุรกิจไก่คาดดีขึ้นจากการส่งออกที่ดีขึ้นจากญี่ปุ่นและยุโรป ราคาเดือน ต.ค.ตกต่ำสุดในปีนี้ อยู่ที่ 35.75 บาท/กก. และเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ พ.ย.23 ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 38.50 บาท/กก. ด้านต้นทุนวัตถุดิบข้าวโพดอาหารสัตว์ที่ลดลง QTD ประมาณ 12% QoQ และกากถั่วเหลืองทรงตัว คาดจะมีผลช่วยลดใน 1Q24F เป็นต้นไป เรายังคงประมาณการปี 2023F ขาดทุน 46 ล้านบาท และปี 2024F กำไรที่ 1,589 ล้านบาท จากธุรกิจไก่และสุกรที่ราคาลดลง คาดธุรกิจร้านค้าปลีกเติบโตจากการเปิดสาขาปี 2023F ที่ 350 สาขา และปี 2024F คาดที่ 500 สาขา
เรายังคงคำแนะนำ “ถือ” จากผลประกอบการปีนี้ ที่ลดลงจากปีที่ผ่านมาฐานสูง และปีนี้ ยังได้รับผลกระทบจากการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อน และคาดปีหน้าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัว ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 3.36 บาท มี upside จ ากัด อ้างอิง PER เฉลี่ย13X โดยราคาปัจจุบันมีระดับ PER24F ที่ 12.6X, Dividend Yield 24F อยู่ที่ 4.0%
ส่วนความเสี่ยง : ได้แก่ โรคระบาด, ต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น
บล.ทิสโก้ วิเคราะห์หุ้น บมจ.ไทยฟู้ดส์กรุ๊ป (TFG) หลังการประชุมนักวิเคราะห์ หรือวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยระบุว่า บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ปีหน้าเพิ่มขึ้น 10% จากคาดปริมาณไก่และหมูในประเทศของ TFG ทรงตัวเทียบกับปี 2023 แต่คาดราคาจะดีขึ้น และคาดการส่งออกปีหน้าจะเน้นไก่แปรรูปปรุงสุกเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศญี่ปุ่นและยุโรป ซึ่งมีอัตรามาร์จิ้นดีกว่าคาด 18,000 ตัน จากปีนี้ จะอยู่ที่ระดับ 14,000-16,000 ตัน และประเทศเวียดนามธุรกิจหมูคาดปี หน้าจะดีขึ้นจากการขยายกำลังการผลิต รวมถึงแนวโน้มราคาต้นทุนวัตถุดิบโดยเฉพาะข้าวโพดอาหารสัตว์เริ่มลดลงจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น สำหรับ retail shops บริษัทคาดปีหน้าจะอยู่ที่ 500-600 สาขา จากปีนี้ อยู่ที่ 350 สาขา โดยสัดส่วนรายได้เริ่มมากกว่าธุรกิจหมูแล้ว
ธุรกิจหมู ราคาหมูที่ลดลงเกิดจากการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อนเข้ามาในประเทศตั้งแต่ปลายปี’22 ที่ผ่านมา คาดว่าสถานการณ์จะค่อยๆดีขึ้นจากภาครัฐฯเริ่มปราบปราม บริษัทมองอุตสาหกรรมราคาหมูปีหน้าไม่ต่ำกว่า 70 บาท/กก. และการปริมาณเลี้ยงหมูจะอยู่ระดับ 20 ล้านตัว ยังไม่ถึงระดับปกติที่ 22 ล้านตัว จากน้ำหนักหมูที่ลดลงจาก 120 กก./ ตัว เหลือ 110 กก./ตัว การเลี้ยงหมูของรายย่อยลดลงจากผลขาดทุนจากราคาตกต่ำช่วงที่ผ่านมาจากสถานการณ์การนำเข้าหมูเถื่อน ทำให้ supply ลดลง บริษัทคาดการบริโภคจะดีขึ้นปีหน้า สำหรับปริมาณการเลี้ยงหมูในอุตสาหกรรมฯปัจจุบันกลับมาได้ 85% ก่อนช่วงเกิดโรคระบาด ASF คาดอยู่ที่ 18 ล้านตัว และจากปี2022 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 13-14 ล้านตัว
ธุรกิจไก่ บริษัทคาดการส่งออกดีขึ้นผ่านจุดต่ำสุดในช่วง 3Q23 ที่มีผลกระทบจากค่าเงินเยนอ่อนค่าในญี่ปุ่นส่งผลให้ชะลอรับออเดอร์มาใน 4Q23 และกลุ่มประเทศอียูเริ่มมีการสั่งออเดอร์ดีขึ้น บริษัทมองปีหน้าเติบโตจากคาดประเทศญี่ปุ่นฟื้นตัวมีบริโภคจะเพิ่มขึ้น และคาดประเทศในกลุ่มอียูเริ่มมีออเดอร์กลับมา บริษัทคาดราคาไก่ปีหน้าอยู่ที่ระดับ 38-40 บาท/กก. (ต้นทุนการเลี้ยงไก่ประมาณ 35 บาท และต้นทุนมีแนวโน้มจะลดลงตามราคาข้าวโพดอาหารสัตว์ที่เริ่มลดลงจากผลผลิตในอเมริกาที่มากขึ้น)
แนวโน้มผลประกอบการ 4Q23F เราคาดยังมีผลรับรู้ขาดทุน จากช่วงเดือนต.ค.เป็นช่วงเทศกาลกินเจและปิดเทอม รวมถึงฤดูฝนทำให้ราคาตกต่ำและปริมาณการขายหมูยังมีผลกระทบจากการนำเข้าหมูเถื่อนที่ส่งผลในช่วงเดือน ต.ค. ราคาตกต่ำสุดในปีนี้ อยู่ที่ 61 บาท/กก. แต่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นตั้งแต่ พ.ย.23 ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 69.50 บาท
สำหรับธุรกิจไก่คาดดีขึ้นจากการส่งออกที่ดีขึ้นจากญี่ปุ่นและยุโรป ราคาเดือน ต.ค.ตกต่ำสุดในปีนี้ อยู่ที่ 35.75 บาท/กก. และเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ พ.ย.23 ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 38.50 บาท/กก. ด้านต้นทุนวัตถุดิบข้าวโพดอาหารสัตว์ที่ลดลง QTD ประมาณ 12% QoQ และกากถั่วเหลืองทรงตัว คาดจะมีผลช่วยลดใน 1Q24F เป็นต้นไป เรายังคงประมาณการปี 2023F ขาดทุน 46 ล้านบาท และปี 2024F กำไรที่ 1,589 ล้านบาท จากธุรกิจไก่และสุกรที่ราคาลดลง คาดธุรกิจร้านค้าปลีกเติบโตจากการเปิดสาขาปี 2023F ที่ 350 สาขา และปี 2024F คาดที่ 500 สาขา
เรายังคงคำแนะนำ “ถือ” จากผลประกอบการปีนี้ ที่ลดลงจากปีที่ผ่านมาฐานสูง และปีนี้ ยังได้รับผลกระทบจากการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อน และคาดปีหน้าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัว ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 3.36 บาท มี upside จ ากัด อ้างอิง PER เฉลี่ย13X โดยราคาปัจจุบันมีระดับ PER24F ที่ 12.6X, Dividend Yield 24F อยู่ที่ 4.0%
ส่วนความเสี่ยง : ได้แก่ โรคระบาด, ต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น